การศึกษาไร้พรมแดน


การศึกษาไร้พรมแดน

การศึกษาไร้พรมแดน

การศึกษาทางไกล คือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อ โดยผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องพบกันเป็นประจำ แต่ผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาวิชา ความรู้ และประสบการณ์ไปทางสื่อ ซึ่งอาจจะเป็น สื่อหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, เทปเสียง, วีดิทัศน์, คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถศึกษาในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และบริหารการเรียนเอง และสามารถมีการพบปะกับอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียนตามโอกาส โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทบทวน และซักถามประเด็นปัญหาในสิ่งที่เรียน หรือเป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียน

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การศึกษาทางไกล เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันก็คือ การพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) โดยเฉพาะการมีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบ Personal Computer โดยเริ่มมีการนำ PC มาใช้กับการศึกษาทางไกลประมาณปี 1982 และด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ก็ยิ่งทำให้รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น

ปัจจุบันการศึกษาอยู่ในรูปแบบการศึกษาไร้พรมแดน

เป็นการประสมประสานกันระหว่างการศึกษาในห้องเรียนและการศึกษาทางไกล และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่างๆสามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนและรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

การศึกษาไร้พรมแดน มี 3 ระบบ คือ

1. ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์

1.1 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภาพ เสียง ตัวอักษรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ คือ

- เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน

- เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน

- เพื่อใช้ข้อมูลแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

2.ระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล

ระบบการประชุมทางไกลเป็นวิธีที่บุคคล 2 คนขึ้นไปอยู่ในสถานที่ต่างๆกันสามารถติดต่อกันในห้องเรียน อภิปราย ประชุมร่วมกันได้โดยอาศัยโทรคมนาคม หรือระบบสายโทรศัพท์ร่วมกับอุปกรณ์ขยายเสียง หรือโดยอาศัยระบบคลื่นไมโครเวฟหรือการส่งสัญญาณดาวเทียม

รูปแบบของการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษาทางไกล
1. การประชุมทางไกลด้วยเสียง เป็นการประชุมหรือการเรียนการสอนที่พูดคุยติดต่อกันด้วยเสียงแต่ไม่เห็นหน้า อาศัยระบบสายโทรศัพท์หรือการส่งสัญญาณดาวเทียม
2. การประชุมทางไกลด้วยเสียง/กราฟิก เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้แทนโทรศัพท์ขยายเสียงในสถานที่รับฟัง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสาร
3. การประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์ เป็นระบบการประชุมหรือการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยกล้องวีดิทัศน์ จอโทรทัศน์ และสายโทรศัพท์ในการรับส่งภาพและเสียง หรือต้องใช้การส่งสัญญาณดาวเทียมแทนสายโทรศัพท์ และยังใช้ได้อีก 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของการเสนอทั้งภาพและเสียง ในลักษณะภาพสองทาง เสียงสองทางผู้สอนและผู้เรียนจะได้ยินเสียงและเห็นภาพ ส่วนลักษณะภาพทางเดียว เสียงสองทางผู้เรียนจะได้ยินเสียงและภาพผู้สอน
ห้องเรียนเสมือน
ห้องเรียนเสมือน หรือห้องเรียนดิจิทัล เป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนอยู่ในสถานที่ต่างๆกันสามารถนั่งเรียนในห้องเรียนได้พร้อมกันเสมือนเรียนอยู่ในห้องเรียนจริงที่มีผู้สอนสดในขณะนั้นจากห้องเรียนในที่หนึ่งและส่งการสอนไปยังที่ต่างๆได้ทั่วโลก

 ระบบเครือข่ายใยนำแสง ระบบสื่อตามประสงค์ VOD

มีความหลากหลายทั้งเนื้อหาและการเรียนการสอน จบลงในตัว

เนื้อหามีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว สามารถนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประยุกต์ใช้ในวิชาการต่างๆได้

 ระบบเนื้อหาและระบบหลักสูตร

 มีความหลากหลายทั้งเนื้อหาและการเรียนการสอน จบลงในตัว

 เนื้อหามีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว สามารถนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประยุกต์ใช้ในวิชาการต่างๆได้

 ระบบสื่อ

ในระบบสื่อนั้นต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิตอล เป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหว และมีเสียงที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านสื่อจากยังผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพการใช้สื่อ ประกอบด้วย สื่อหลักและสื่อเสริมสื่อหลัก ได้แก่

1.การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ stand alone CBIได้แก่ สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ คู่มือการเรียนการที่ผู้สอนพบกับผู้เรียนเป็นครั้งคราวการเรียนรู้ผ่านห้องปฏิบัติการ assignment

2.การสอนด้วยระบบการประชุมทางไกลสื่อเสริม สิ่งพิมพ์ วีดีโออนดิมานด์

3.การสอนด้วยระบบเครือข่าย WWW (WBI)สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ โน๊ตย่อ การประชุมทางไกล

หลักการเลือกใช้สื่อชนิดต่างๆ

- ศึกษาคุณสมบัติของสื่อแต่ละประเภท

- แสดงผลการสอนผ่านจอภาพ

- เหมาะสมกับเวลาและสถานที่

คำสำคัญ (Tags): #edu104
หมายเลขบันทึก: 48560เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เนื้อหา ครบ เป็นแนวทางให้ได้เป็นแบบอย่างได้

จาก

http://gotoknow.org/blog/saiphin

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท