446. โอดีที่โลกลืม... (the Lost OD)....(Reflection ตอนที่ 8)


ว่าด้วยการพัฒนาแนวคิด Appreciative Inquiry ด้วย Kolb's Experiential Learning:::

1. ผมเองมีโอกาสทำปริญญาเอกด้าน Appreciative Inquiry โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ Action Research ผมเองก็ไม่ค่อยจะชอบเท่าไหร่ในตอนแรก..โดยเฉพาะการต้องทำ Reflection คือประมาณ 1 เดือน..ผมจะต้องใช้เวลาทำรายงานส่งที่ปรึกษา ว่าที่ผ่านมาแต่ละวงจร...เราได้ประสบการณ์อะไรบ้าง..ผมเลือกใช้ Model การวิเคราะห์แบบ Kolb's Model of Experiential Learning ครับ...

วงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb เร่ิมจากการ "นั่งระลึก" ค้นหาประสบการณ์ที่มันเด่น ปรากฏในใจขึ้นมา อาจเป็นเรื่องดี ไม่ดี อุปสรรค ครับ..เราเรียกว่า Concrete Experience ต่อมาเราเอามาตรึกคิดว่าเรารู้สึก นึกคิดกับมันอย่างไร..เราจะน่าจะอธิบายด้วยหลักคิดแบบไหน..ไม่รู้ลองไปอ่าน ไปถามมาก่อน เมื่อชัดแล้ว..เรามา "สรุปรวบยอด" หรือ "Conceptualization" ซึ่งอาจเอาทฤษฎีที่ค้นมา มาต่อยอดกับข้อสรุปประสบการณ์นั้น กลายเป็นทฤษฎีใหม่ ..สุดท้ายเอาไปขยายผล (Experimentation) 

 

โดยผมเอามาจากหนังสือเรื่อง Doing Action Research in Your Own Organization

 

2. ตอนแรกผมทุกข์ใจมาก...จะเรียนจบไหม...เพราะแต่ละเดือนใชเ้เวลา ทุ่มเทกับการเขียนรายงานส่งอาจารย์ตาม Model นี้เกือบสิบวัน...สิบวันที่มันสูญเสีย..แต่ทำไปทำมาเดือนที่สอง เร่ิมเห็นผล...กลับได้อะไรใหม่ๆ...ผมคิดระบบประเมินความก้าวหน้าของคนทำ Appreviciative Inquiry ได้...ทำให้ผบสามารถประเมินสถานการณ์ สามารถให้คำปรึกษา หรือทำอะไรในระดับบุคคล และกลุ่มได้...ผมเพชรเม็ดงามเข้าแล้ว...

3. ตอนหลังผมผสมผสาน Appreciative Inquiry เข้าไปด้วยครับ..ตั้งแต่ Concrete Experient ไปเลย...ช่วยให้ Model นี้ไม่ออกไปทางการตกผลึก หรือใคร่ครวญอย่างเดียว...ตรง Conceptualization ซึ่งการสรุปรวบยอดประสบการณ์ ผมก็ไปอ่านทฤษฎีมาก่อนว่ามีทฤษฎีอะไร น่าจะไกล้เคียงครับ..ส่วนใหญ่อยู่ไปในทางไม่กลุ่ม Motiavtion ก็ Learning ครับ...และที่สุดผมก็เอามาผสมผสานกับการทำ Appreciative Inquiry โดยเฉพาะในส่วน Destiny ...ซึ่งหมายถึงการ "ทำให้เกิดขึ้นจริง" แต่ยังมีองค์ประกอบย่อยลงมาอีกคือการตั้งคำถามว่า "จะให้ใครทำ" "จะวัดอย่างไร" ที่สำคัญคือ "จะเรียนรู้อย่างไร" ตัวหลังนี่แหละ ที่ผสมผสานเข้าไป..ครับ..

4. ผมทดลองเอามาสอนนักศึกษา..ครั้งแรก ค่อนข้างล้มเหลวครับ...ได้เฉพาะคนอัจริยะจริงๆ..ถึงจะพอทำได้...เลิกไปพักหนึ่ง..ตอนหลังไปสอนในหลักสูตร Inter ก็พัฒนาการสอนขึ้นมาหน่อย..เอามาผสมผสานกับ AI ครับ ก็ออกมาใช้ได้หน่อย..แต่ก็ไม่เห็นมีใครตื่นเต้นเท่าไหร่...แต่เพื่อนผมที่เป็นที่ปรึกษา OD ที่เก่งมากอีกคน โดยมิได้นัดหมายก็บอกว่า..Kolb นี่สุดยอดครับ..แล้วเขาก็ใช้อยู่. ผมว่ามันเป็นอะไรที่สุดๆ ..แต่ถูกลืม..พวกเราจะรื้อฟื้นให้ได้ครับ..ผมว่า..Kolb เป็นอะไรที่ถ้าทำแล้ว คล้ายๆ Dialogue และผมว่าไกล้้เคียงกับ Learning Organization ของ Peter Senge ด้วยครับ..

 

แต่ผมก็เอามาสอนต่อปีนี้..ที่สำคัญก่อนสอนผมทำวิจัยโดยได้ทุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น..พัฒนาแนวคิด AI ต่อยอดไปเป็น Gender-Intelligence Appreciative Inquiry ครับ..ดูงานของผมข้างล่างนี้...

หมายเหตุ

สำหรับนักศึกษา MBA ขอนแก่น อาจารย์ได้ทำตัวอย่าง Kolb ให้ดูครับ..ส่วนที่ 1 2 3 และ 4 คือ Concrete Experience Reflection Conceptualization และ Experimentation ตามลำดับ ครับ  

 

หมายเลขบันทึก: 484501เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2012 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท