ชมสวน(2) : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่14


ตำราปลูกผักหวานป่าเรียนรู้มาจากป่าเขา มหาลัยภูพานคำ (อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ) ธรรมชาติคือครูผู้ยิ่งใหญ่

 

   อาชีพด้านการเกษตรไม่ว่าด้านไหน ปศุสัตว์หรือพืชผักผลไม้ก็ต้องใช้เวลาเช่นเดียวกันค่ะ สำหรับที่แห่งนี้ อุฑยานผักหวานป่า'๔๔ ช่วงแรกเริ่มที่ข้าพเจ้าเข้ามาอยู่ใหม่ๆไม่เคยคิดเลยค่ะว่าจะใช้เวลาที่ยาวนานเช่นนี้ แต่เมื่อมาถึงวันนี้ได้ชื่นชมอาศัยร่มเงาต้นไม้ที่ตัวเองปลูกดูแลก็พลอยสุขใจกับความรักที่ต้นไม้มีให้กับคนปลูก(โดยเฉพาะต้นตะขบเพียรปลูกยากมากสำหรับผืนดินแห่งนี้)...

 

...หลังจากได้ชมสวนในโซนรอบๆบ้านแล้วคราวนี้ดิฉันจะขอนำทุกท่านชมส่วนต่างภายในสวนนะคะ...

 

1.ภาพนี้เรียกโซนถนนรอบสระน้อย หลังบ้านมีบ่อเล็กๆที่ขุดสมัยคุณโอภาสมาทำสวนใหม่ๆค่ะ แต่เป็นบ่อที่ไม่มีน้ำเพราะขุดลงไปได้เมตรกว่าเจอลานแผ่นหิน บ่อแห่งนี้จึงเก็บน้ำไม่อยู่ค่ะ เลยกลายเป็นบ่อต้นไม้แทน ในภาพด้านซ้ายมือเป็นแถวของต้นขี้เหล็กตอนปลูกใหม่ๆคุยกันว่าเราปลูกไว้เก็บยอดขายกันนะ แต่พอเจอลมแรงก็เลยปล่อยให้สูงเพื่อเป็นกำแพงลมค่ะ...

 

2.เป็นจุดเดียวกันกับภาพที่1ค่ะ แต่เป็นโซนด้านล่างข้างในขอบบ่อ ริมขอบด้านในนี้จะปลูกยางนา สักทอง หมากเม่า ยมหอม น้อยหน่า ขี้เหล็ก มะยม กระท้อน มะม่วงฯลฯ ทุกหลุมปลูกจะมีต้นผักหวานอยู่ด้วยโซนนี้แห้งแล้งมากจึงไม่มีต้นตะขบ(ผักหวานที่ปลูกอาจจะเติบโตช้าแต่ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย)ปีนี้ผักหวานอายุได้7ปี ได้ชิมยอดหลายต้นแล้ว...

 

3.โซนนี้เรียกทางลงกอไผ่(แต่ก่อนจะมีกอไผ่ตงและไผ่รวกค่ะแต่หมดอายุออกดอกจึงตัดออก) ในภาพจะเห็นพื้นดินอีกชั้นที่อยู่ด้านล่างค่ะส่วนด้านบนเป็นมุมถนนรอบสระน้อยอีกด้านค่ะโซนที่มีแสงแดดก็จะปลูกชะอมไว้รับประทานค่ะ ต้นใหญ่ๆสีเขียวๆคือสะเดาค่ะปล่อยให้ต้นสูงกันลมค่ะผลสะเดาเป็นอาหารนกใบเป็นบ้านให้กับมดแดงส่วนยอด-ดอก อาหารคนค่ะ...

 

4.โซนนี้เรียกต้นผักหวานใหญ่ป่าไม้สักค่ะในภาพจะเห็นกลุ่มผักหวานใบสีเขียวๆและลำต้นสูงๆ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้ความรู้จุดประกายปลูกผักหวานป่ากับต้นตะขบค่ะ ผักหวานกลุ่มนี้อายุ15ปีขึ้นไปค่ะ(ปลูกก่อนที่ดิฉันจะเข้ามาอยู่)เป็นผักหวานหลุมแรกที่คุณโอภาสปลูกกับต้นตะขบจากการที่มีต้นตะขบงอกขึ้นในถุงที่ตัวเองเพาะและไม่ได้ถอนทิ้ง(ขณะนั้นยังไม่ได้สนใจต้นตะขบค่ะเพราะประโยชน์ไม่ดึงดูดใจ แบบที่คนทั่วๆไปคิดกัน) เริ่มแรกที่ดิฉันเข้ามาอยู่โซนนี้มีเพียงแถวของต้นสักทองและกลุ่มผักหวาน3-4กลุ่มค่ะ...

 

5.โซนนี้เมื่อเดินลงมาจากถนนทางลงกอไผ่(ภาพที่3)จะถึงตรงพื้นล่างป่าไม้สัก(ภาพที่4) จากที่มีเพียงแถวไม้สักทองหลังจากเรียนรู้ตามหาผักหวานจากป่าภูเขา เมล็ดพันธุ์ต้นไม้อะไรที่พบอยู่เบื้องหน้าพ่อจะนำมาเพาะปลูกให้หมด(มือขุด) ต้นมะค่าโมง ต้นมะค่าแต้ ไผ่ฯลฯ...

 

6.1

6.2 โซนรอบสระน้อยต้นไม้ทุกต้นที่เห็นปลูกดวยเมล็ดค่ะ

6.3 ภาพที่6.1-6.3 เป็นจุดเชื่อมโยงกัน(สามแยกค่ะ) ภาพนี้เรียกถนนเส้นตรงทางลง(คล้อยต่ำ)จากหลังบ้าน ถนนเส้นนี้แห้งแล้งมากค่ะดินเหนียวมันปูอยู่ชั้นบนส่วนชั้นล่างเป็นก้อนหิน ปีนี้พยายามรักษาต้นตะขบที่ปลูกสุดชีวิตค่ะ...

 

7.ภาพนี้เรียกถนนทางลงเล้าเป็ด-ห่าน โซนนี้จะเชื่อมกันกับถนนรอบสระน้อยค่ะ ที่กว้างแต่หาจุดปลูกต้นไม้แทบไม่มีค่ะสูงบ้างต่ำบ้างมีแต่หิน(เนินปราบเซียน เดินขึ้นลงเนินนี้ได้เกิน4รอบนับว่าเก่งค่ะ)มองดูด้วยสานตาก็ไม่สูงหรือถนนจะยาวเท่าไหร่ แต่เมื่อเดินขึ้นลงรอบที่3ก็หอบแล้วค่ะ...

 

...แต่ละจุดชื่อเรียกในสวนต้องจำให้แม่นค่ะเพราะทำงาน2คน บางทีสื่อสารกันแทบจะทะเลาะกันเพราะเข้าใจกันคนละจุดทั้งเหนื่อยทั้งเคือง นึกย้อนหลังบางครั้งก็ชวนขำกับความเหน็ดเหนื่อยค่ะ...

 

***คงพักเพียงเท่านี้ก่อนนะคะเดี๋ยวไปเก็บภาพเพิ่มเติมก่อนค่ะ(นำขึ้นไฟล์) พยายามจะให้ภาพแต่ละโซนดูต่อเนื่องกันค่ะในแต่ละมุมสวน***ขอบคุณค่ะ***

 

หมายเลขบันทึก: 484451เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2012 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มาชมสวนป่า..ทำให้ยายธี..เริ่มคิดถึงป่า(ที่เมืองกาญจน)ที่ปลูกและเริ่มทิ้งร้าง..เจ้าค่ะ...เคยปลูก ผักหวานลงทุนไปหลายตังส์....ตายเรียบ..อิอิ..สวัสดัค่ะ..ยายธี

เข้ามาตะลึง

...บ่อต้นไม้...ไผ่ออกดอก

...สะเดากั้นลม...เนินปราบเซียน

ไม้ทุกต้น คงแข็งแรงมีรากแก้ว เพราะปลูกด้วยเมล็ดนะคะ

เยี่ยมจริงๆค่ะ คุณน้อย สาธุเน้อ

 

 สวัสดีค่ะคุณยายธี ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ..

...โซนเมืองกาญจนฝนท่าจะดีกว่าน้ำพองนะคะ.

...กลับไปดูอีกครั้งกับป่าที่ถูกทิ้งร้าง(หากไม่มีไฟป่า) น่าจะเห็นป่าที่ปลูกโดยไม่ต้องปลูก "ตามหลักทฤษฏีของพ่อหลวงนะคะ."

...ผักหวานป่าเคยปลูกไปแล้วตาย!ก็ใช่ว่าจะปลูกแล้วตาย.ทุกครั้งนี่คะ ลองปลูกสูตรตะขบดูซิคะปลูกตะขบต้นเดียวใต้ทรงพุ่มตะขบปลูกผักหวาน5-10ต้น (การเริ่มใหม่หากช่วยฟื้นกำลังใจ"ผักหวาน"ให้หัวใจตัวเองได้ชื่นบานซักครั้งก็ไม่เสียหายนี่คะ เพียง5-10ต้น)

...สวนผักหวานป่าที่เมืองกาญจมีหลายสวนที่มีเมล็ดพันธุ์ ลองซื้อหาเมล็ดสุกมาเพาะเองก็ประหยัดเพิ่มขึ้นอีกค่ะ...

...ขอบคุณค่ะ...

 ขอบพระคุณค่ะพี่ตะวัน...พื้นดินในสวนกิ่งตอนกิ่งชำปลูกเท่าไหร่ก็ตายเรียบค่ะเพราะปลวกเยอะหรือไม่ก็แห้งตายเพราะดินไม่ดี ทางเดียวที่ได้ผลคือจากเมล็ดค่ะ...

ร่มรื่นมากนะคะ จะพยายามแบ่งพื้นที่บ้าน ทำสวนแบบนี้บ้าง เล็ก ๆ น้อย ก็ยังดีนะคะ

 ขอบพระคุณค่ะ ทพญ.ธิรัมภา...สำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ

...พื้นที่เล็กๆก็สามารถสร้างความสุขใจได้ค่ะเป็นการออกกำลังไปในตัวด้วย วันละ1-2ต้นไม่นานก็เขียวขจีค่ะ

...ที่จ.หนองคายมีผลไม้ชนิดหนึ่งชื่อหมากไข่ค่ะ(ภาษาถิ่นหนองคาย)คุณหมอรู้จักรึเปล่าคะได้ชิมนานแล้วยังติดใจอยู่เลยค่ะกลิ่นคล้ายๆทุเรียนค่ะนำเมล็ดมาเพาะปลูกได้4-5ต้น.

อ่านระยะเวลาที่ปลูกต้นไม้จนมันเขียวขจีในวันนี้ รู้สึกว่ามันยาวนานมาก ดังที่เคยได้ยินเขาพูดกันมาว่า วันเวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มปลูกต้นไม้คือเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว ท่าจะจริงค่ะ เวลาที่เหมาะสมรองลงไปคือเริ่มปลูกวันนี้ นะคะ ;)

 อรุณสวัสดิ์ตอนเช้าตรู่เริ่มต้นวันใหม่!..วันอาทิตย์ค่ะคุณปริม...

...ที่จริงการปลูกต้นไม้ของแต่ละคนใช้ระยะเวลาสั้นยาวไม่เท่ากันค่ะ(แต่อายุของต้นไม้แต่ละชนิดที่ปลูกใช้เท่ากันค่ะ)

...เวลาของแต่ละคนหมายถึงเหตุปัจจัยต้นทุนชีวิตและหัวใจรักค่ะ(เริ่มวันนี้คิดว่าดีที่สุดค่ะเพราะเชื่อว่าหาแนวทางในใจพบเจอ)

...(1.)ครอบครัวรัก-สนับสนุนการปลูกต้นไม้ทุนมีพอใช้ก็ใช้เวลาไม่นานค่ะเพราะอุปสรรคใดๆก็เล็กไปหากมีการร่วมแรงร่วมใจกันตั้งแต่พื้นฐานคือครอบครัวค่ะ...

...(2.)ดินดี น้ำพร้อมทุนพร้อมครอบครัวไม่สนับสนุน เพราะมีมุมมองกับการปลูกต้นไม้ด้านลบ(ใช้เวลานาน)แต่ก็ยังถึงเร็วกว่ากรณีที่3ค่ะ.

...(3.)ดินไม่ดี น้ำก็ไม่มีรวมถึงครอบครัวไม่สนับสนุนทุนไม่ต้องพูดถึง จึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าปกติค่ะ.

...(4.)ดินไม่ดี น้ำพอมี ทุนมีพอใช้ครอบครัวสนับสนุนเวลาที่ใช้พอๆกับกรณีที่1ค่ะ.

...(5.)ดินดี น้ำมี ทุนมี ครอบครัวก็okแต่คิดว่าปลูกเมื่อไหร่ก็ได้(สุดท้ายมาเริ่มตอนแก่ตัวก็หมดแรงซิคะ)ใช้เวลานานถึงช้าค่ะ.

...ทั้งหมดมาจากชีวิตจริงที่ได้สัมผัสกับตัวเองค่ะคุณปริมจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวรวมถึงจากผู้มาดูงานที่สวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟังค่ะ จึงขอนำมาเล่าสู่คุณปริมฟังค่ะ...

 ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากทุกท่านค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท