การเกษตรที่ป่าคาสู่การผลิตที่ปลอดภัย


เกษตรกรผู้ผลิตได้ปรับแนวคิดในการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด(GAP)ก็ไม่ง่ายเช่นกัน

ณ.สถานการณ์ในปัจจุบันนี้ เราต้องเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย นับจากที่มีการรณรงค์ให้พี่น้องเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรให้มีความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินการติดต่อกันมาหลายปี มีหลายหน่วยงาน และองค์กรภาคี ที่ดำเนินการกันมา แต่ต้องมีการประเมินเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง ว่าผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีความก้าวหน้าหรือไม่อย่างไร

 

       ต้องยอมรับความจริงอีกเช่นกันว่าโดยลำพังหน่วยงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในระดับพื้นที่ชุมชน ต่างก็มีข้อจำกัดมากหมายหลายอย่าง การที่จะรณรงค์ให้เฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตได้ปรับแนวคิดในการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด(GAP)ก็ไม่ง่ายเช่นกัน

 

       ผมว่าสำหรับผู้บริโภคเองก็สำคัญไม่น้อยเช่นกัน ที่จะต้องปรับแนวคิดที่ว่า เราจะตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรที่บ่งบอกถึงความปลอดภัยจะต้องดูอะไรที่แสดงถึงการรับรองความปลอดภัย บางท่านก็จะดูเครื่องหมายที่รับรองการผลิตความปลอดภัย บางท่านหากจะตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรเช่นพืชผักและอื่นฯ ที่เกษตรกรผู้ผลิตเองแล้วนำผลผลิตมาจำหน่ายมักจะตั้งคำถามถามเกษตรกรผู้ขายว่า เขาได้พ่นสารเคมีครั้งสุดท้ายเมื่อใด โดยผู้ซื้อก็ควรจะช่วยถามผู้จำหน่ายหลายคำถามหน่อยที่จะให้บ่งบอกถึงความปลอดภัย วัตถุประสงค์ก็เพื่อจะให้เขาเหล่านั้นได้เกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยจากสารเคมีหรือสารปนเปื้อนต่างๆนั่นเอง

 

     สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมในแปลงเกษตรของเกษตรกรก็เช่นกัน บางท่านอาจจะรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพด้วย บางท่านก็อาจจะหมายความรวมไปถึงระบบนิเวศน์ในแปลงเกษตรก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน หากมีการพัฒนาระบบนิเวศน์ในแปลงเกษตรที่มีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อาจจะรวมไปถึงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแล้วก็ตาม จะสังเกตเห็นความร่วนซุยของดิน มีมูลของไส้เดือนดินมากองหรือกระจายอยู่บริเวณต้นพืชผักที่ปลูก  นี่ก็บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของดินได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่เราต้องไปให้กำลังใจเกษตรกรผู้ผลิตที่ลงมือปฏิบัติจริงนั่นเอง และสิ่งที่สำคัญอีกประการหหนึ่ง ก็ต้องใส่แนวคิดเรื่องการที่ลดสารเคมีลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เราก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำแก่เกษตรกรผู้ผลิตว่าจะใช้อะไรทดแทนได้บ้าง สุดท้ายก็ต้องลงมือทำจริงๆจังๆกันเสียที

 

     ในปัจจุบันนี้คงจะยังมีหลายภาคส่วน ที่มีความตั้งใจและพยายามที่จะรณรงค์ให้มีการผลิตสินค้าเกษตรในส่วนที่เป็นสินค้าที่บริโภคทั้งที่เป็นพืชเกษตร(พืชอาหาร)และด้านปศุสัตว์ ประมงและสินค้าเกษตรทั่วไป(ที่ใช้สำหรับบริโภค)

 

     จากการที่ผมและทีมงานได้ลงไปศึกษาและถือโอกาสไปเยี่ยมเกษตรกรผู้ผลิตพืชอาหาร ในพื้นที่ชุมชนบางแห่ง ก็พบข้อเท็จริงอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เช่นการผลิตพืชผักในเขตพื้นที่สูง ในเขตบ้านโละโคะ อำเภอโกสัมพีนคร เขตชุมชนป่าหมาก และเขตชุมชนบ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อต้นเดือนมกราคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมานี้เอง ได้มีการผลิตพืชผักเช่นกล่ำปลี และพืชไร่เช่นข้าวโพด  โดยได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรผู้ผลิตเหล่านั้นในแปลงปลูกพืชผัก เท่าที่ทราบผักเหล่านี้ผลิตแล้วจะมุ่งสู่ตลาดไท ที่กรุงเทพมหานคร

 

 

       การทำการเกษตรในพื้นที่สูงเหล่านี้ สิ่งสำคัญที่สุดอยากจะเห็นหน่วยงานภาคี ที่เกี่ยวข้อง ได้บูรณาการการทำงานร่วมกัน ระหว่างคนที่อยู่ในชุมชน อปท. หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงนักพัฒนาด้วย ที่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีแนวทางเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรเหล่านี้ ต้องมีการพัฒนา ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และระดับปลายน้ำ อย่างมีระบบที่เชื่อมโยงอย่างชัดเจน  ในอนาคตอาจจะพัฒนาไปถึงคุณภาพของสินค้าเกษตรที่ผลิตมีคุณภาพ พร้อมที่จะพัฒนาไปสู่มาตรฐานของความปลอดภัยได้ไม่ยาก เพื่อไปสู่ผู้บริโภคที่ปลอดภัยนะครับ

 

เขียวมรกต

๒ เมย.๕๕

หมายเลขบันทึก: 483975เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2012 05:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนและต้อนรับครับ

 

  • ขอบคุณ อ.สิงห์ป่าสัก
  • ผมหายไประยะหนึ่ง
  • ลองปล่อยวางหลายๆอย่าง
  • ขณะนี้กลับมาอีกครั้งครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท