ย่อการประชุมเกี่ยวกับพุทธใน ม. ทักษิณ


...

บันทึกย่อนี้ได้รวมมุมคิดมาจากคณาจารย์ในวันประชุมเพื่อผู้สนใจใฝ่รู้...

 

  1. ม.ทักษิณร่วมมือกับ ม.พระพุทธศาสนาแห่งโลก (มพล.)จัดการประชุมเรื่อง “ความร่วมมือด้านพุทธศาสตร์ศึกษา: ปัญหาการสอนและทางออก” เมื่อ 17 มี.ค. 55  ณ ม.ทักษิณ วิทยาเขตสงขลา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  สายธนู  อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ

  2.          การประชุมครั้งนี้ เพื่อให้ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยได้ช่วยกันเสนอปัญหาการสอนและทางออก และเพื่อแสวงหาแนวทางความร่วมมือด้านพุทธศาสตร์ศึกษาระหว่างสถาบันการศึกษา ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมีคณาจารย์ในสถาบันการศึกษา 10 สถาบัน จำนวน 50 คน  เข้าร่วมประชุม และได้รับเกียรติจาก ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์          ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง "ความร่วมมือด้านพุทธศาสตร์ศึกษา"  และอาจารย์ ดร.อุทัย  เอกสะพัง อาจารย์สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ  ให้เกียรติบรรยายพิเศษ เรื่อง "มหาวิทยาลัยทักษิณ กับการจัดการเรียนการสอนด้านพุทธศาสตร์ศึกษา" และมีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อถกประเด็นปัญหาใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย

  3.             การแบ่งกลุ่มคณาจารย์

 กลุ่มที่ 1 เรื่อง "หลักสูตร" สรุปได้ว่า

  1. วิชาพุทธศึกษา/พุทธศาสนา ในฐานะวิชาเอก (หรือวิชาโท) เป็นหลักสูตรที่มีอยู่แล้วของ มพล.

  2. หากจะส่งเสริมพุทธศึกษา/พุทธศาสนา เพิ่มขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วๆ ไป ควรจัดให้เป็นวิชากลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งบังคับให้นักศึกษาทุกคนเรียนอยู่แล้ว โดยอาจจะใช้ชื่อวิชา คือ วิชาชีวิต มุ่งเน้นการสร้างพื้นฐานการดำเนินชีวิตให้เกิดสุข เนื้อหาวิชาเน้นเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา และฝึกปฏิบัติให้เกิดความซึมซับและเข้าใจในการเป็นคน

 

 กลุ่มที่ 2 เรื่อง "การเรียนการสอน"สรุปได้ว่า

                 ปัญหาการเรียนการสอน

  1. การสอนกรรมฐานไม่บรรลุวัตถุประสงค์

  2. ความหลากหลายทางศาสนาทำให้ไม่สามารถสอนศาสนาได้อย่างลึกซึ้ง

  3. ความสนใจเกี่ยวกับธรรมของผู้เรียนน้อยลง

  4. พระสงฆ์ไทยขาดทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ

  5. ผู้เรียนขาดความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา

  6. เกิดวิกฤติความศรัทธาและความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา

   7. ผู้บริหารขาดขาดภาวการณ์ปฏิบัติธรรม ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

    8. ความหลายหลายของผู้เรียน อันเนื่องมาจากศาสนาและวัฒนธรรม

    9. ทัศนคติและมุมมองของผู้เรียนต่อศาสนาลดลง

    10. ผู้เรียนขาดเวลาในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

     11. ความเบื่อหน่ายต่อการเรียน

      12. ชื่อวิชาที่สอนไม่มีคำว่า”ศาสนา” ทำให้ยากต่อการลงลึกด้านศาสนาในการสอน

     13. หลักสูตรไม่สอดคล้องและต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับประถมจนถึงอุดมศึกษา

     14. ผู้เรียนไม่เข้าถึงแก่นแท้ ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการสอน

แนวทางการแก้ปัญหา

1                เน้นการเรียนการสอนผ่านสื่อ “Internet” โดยลดการสอนแบบบรรยายลง แต่เน้นกิจกรรมมากขึ้น

2                เน้นเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย

3                จัดการหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียน และให้สอดคล้องกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา

4                หาจุดร่วมกันที่เป็นไปได้ทางพระพุทธศาสนา

5                จัดอบรมครูผู้สอน หรือบุคลากรทางการศึกษา

6                ครูผู้สอนเน้นเรื่องชีวิตที่สมบูรณ์ แล้วการสอนพระพุทธศาสนาจะไม่น่าเบื่อ การสอนเกี่ยวกับ “กาย  กับ จิต”  เน้นให้อยู่กับชีวิตในปัจจุบัน

7                มีจุดร่วมกันที่ พระพุทธศาสนาจะแก้ปัญหาสังคมได้อย่างไร

 

 กลุ่มที่ 3 เรื่อง "ตำรา" สรุปได้ว่า

ปัญหา

     เอกสารน้อย ตำราประกอบการค้นคว้ามีไม่เพียงพอ “ขาดแคลน”

แนวทางแก้ไข

ขอความร่วมมือกับสถาบันทางพระพุทธศาสนา  เช่น   มหาจุฬาฯ   มหามกุฎฯ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม และสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรทางพระพุทธศาสนา

 ปัญหา

องค์ความรู้ของผู้เขียนตำรามีไม่เพียงพอ ขาดความมั่นใจ ผู้เขียนขาดความเชื่อมั่น

แนวทางแก้ไข

จัดผู้ที่สอนทางพระพุทธศาสนาเข้าฝึกอบรมเพิ่มเติมความรู้ เพื่อผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศ   และนานาชาติ

ปัญหา

ขาดต้นทุนในการผลิต

แนวทางแก้ไข

                  จัดระดมทุน  หาแหล่งทุน ในการผลิตตำรา เพื่อเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ และจะได้ผลตอบแทนจากการผลิตตำรา  ทุนในหน่วยงาน ทุนหน่วยงานภายนอก เช่น อบต . อบจ .

ปัญหา

      แรงจูงใจในการเขียน ขาดการกระตุ้นในการผลิตตำรา

แนวทางแก้ไข

      ใช้วิธีการกระตุ้นในการผลิตตำรา  เพื่อเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ  และจะได้ผลตอบแทนจากการผลิตตำรา

ปัญหา

การผลิตสื่อหลายๆภาษา

แนวทางแก้ไข

หาบุคลากรที่มีเชี่ยวชาญในการเขียนภาษาต่างประเทศ มา เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตตำรา

ปัญหา

ตำราขาดการบูรณาการกับศาสตร์สาขาอื่น และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

แนวทางแก้ไข

ในการผลิตตำราควรให้มีผู้เชี่ยวชาญจากสถานที่ที่เกี่ยวข้องมาร่วมวิพากษ์ตำรา

 

กลุ่มที่ 4 เรื่อง "การวิจัย"สรุปได้ว่า

ปัญหา

        ผลงานด้านวิจัยทางพระพุทธศาสนาขาดการรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่  หน่วยงานที่สนับสนุนทุนทำวิจัยยังมีน้อย  แหล่งผลิตผลงานเผยแพร่งานวิจัยยังไม่เปิดกว้างรับผลงานตีพิมพ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ  นักวิจัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนายังขาดการเชื่อมโยงในสหสาขาวิชาต่าง ๆ

แนวทางแก้ไข

                   ควรมีหอสมุดสากลที่รวบรวมผลงานวิจัยเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้สนใจสามารถเข้าไปสืบค้นได้โดยง่าย  ควรมีหน่วยงานที่พร้อมสนับสนุนงานวิจัยเฉพาะทางนี้ทั้งระดับชาติและนานาชาติ  ควรมีการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อเรียนรู้แนวทางการทำวิจัยด้านพระพุทธศาสนาให้มีความเชื่อมโยงทุกมิติทางสังคมให้นักวิจัยสามารถร่วมทีมกันได้ทุกศาสตร์

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ดำเนินการเสวนาโดย ดร. อุทัย  เอกสะพัง  ดังนี้

สิ่งที่ได้จากคณาจารย์บางส่วน  คือ...

 

  1. เสนอให้มีวิชา “คิหิปฏิบัติ” (หลักธรรมปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ )

  2. การนำเอาพระพุทธศาสนามาสอนในระดับอุดมศึกษา ควรศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้ง

  3. รศ. ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ จาก(  ม. วลัยลักษณ์ ) เสนอให้ตั้งชื่อวิชาพระพุทธศาสนาเบื้องต้น ว่า “วิชาพระพุทธศาสนากับชีวิต หรือ พระพุทธศาสนากับสังคมและชีวิต”  โดยเนื้อหาที่สอนให้ครูผู้สอนกำหนดให้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

  4. เสนอให้มีการอบรมสร้างเจตคติและคุณค่าด้านพระพุทธศาสนาให้แก่อาจารย์และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  เพื่อทำให้พระพุทธศาสนาก้าวสู่สากลโลก

  5.   ผศ. ดร.เตชชาติ (ม.มกุฎฯ ศรีธรรมโศกราช) เสนอให้คงชื่อวิชาพระพุทธศาสนาเบื้องต้นไว้ ส่วนวิชาชีวิต เสนอให้เป็นชื่อวิชา สัจธรรมแห่งชีวิต และการฝึกกรรมฐานให้เป็นไปตามกฎระเบียบและ ควรให้มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาแสดงบทบาทให้เด่นชัดมากกว่านี้

  6. อาจารย์ณรงค์ (มจร. นรคศรีฯ) เสนอให้มีการกำหนดเนื้อหาสาระวิชาพระพุทธศาสนาให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกันทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อมุ่งในการพัฒนาคนทางด้านศาสนา และเสนอให้มีหลักสูตรประกาศนียบัตร เพื่อรับรองผู้ที่ผ่านหลักสูตรต่างๆ ทางด้านศาสนา

  7. เสนอให้อาจารย์ผู้สอนควรส่งเสริมให้ชาวพุทธเรียนรู้แล้วเห็นความสำคัญในหลักพุทธธรรมและนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง

  8.  อาจารย์ ณัฏฐวัฒน์ (มจร. สงขลา) เสนอให้มีวิชา

  • Ø พระพุทธศาสนากับชีวิตที่สมบูรณ์

  • Ø พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาในชีวิต “รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธ”

  • Ø โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำวิถีพุทธ

  • Ø การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

  • มีคณาจารย์กล่าวเสริมทำนองนี้ว่า...

  • เสนอให้มีหนึ่งหลักสูตรหรือหนึ่งรายวิชาวิชาพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ใช้ร่วมกันทุกมหาวิทยาลัย  โดยให้ มพล. เป็นศูนย์กลางหรือเป็นแม่ข่ายในการเชื่อมโยงทุกมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

  • เสนอให้มีนวัตกรรมในการสอนพุทธศาสนา “พุทธนวัตกรรม”

  • การนำหลักธรรมเข้าสู่กระบวนการสอน ควรมีการกำหนดในระบบมหาวิทยาลัยเลยว่า ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนเทียบวุฒิบัตรสามารถเรียนจบระดับนักธรรมชั้นเอกได้

  • การเสนอให้มีหนึ่งคณะทำงานในการขับเคลื่อนเรื่องการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกัน  หลังจากการประชุมเสร็จแล้ว  เพื่อก่อเกิดเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้

    เสนอภาครัฐให้การสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในทุกสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม  เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนาที่มีหลักคำสอนอย่างสมเหตุสมผลที่เน้นก่อให้เกิดปัญญานำพาวิถีชีวิตให้รอดพ้นจากภัยพาลมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขนั้นแล.

 

 

หมายเลขบันทึก: 483574เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2012 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมมีข้อมูลเสริมต่อเล็กน้อย หลังจาทกวิทยานิพนธ์

จะเขียนมาสักหนึ่งบทความเกี่ยวกับพุทธศาสตร์ครับ

ตอนนี้เอาบางความคิดก่อนว่า

มีความพยายามที่น่าสรรเสริญของประเทศไทย เพื่อเพิ่มหรือยกระดับของปรัชญาการเมืองมาสู่แนวทางพุทธแบบเถรวาท คือเมื่อปลายปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ ได้มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ดำเนินการศึกษาวิชาการตามแนวพุทธศาสตร์ โดยได้ศึกษาความเป็นไปได้และการเปรียบเทียบกับวิชาการทางสังคมศาสตร์ ๕ สาขาคือ ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ ด้วยความพยายามอันนี้ ก่อให้เกิดเอกสารตีพิมพ์ตามชื่อของวิชาการทั้ง ๕ สาขานี้โดยสังเขป ต่อมาวิชานี้ได้ปรากฏอยู่ในหลักสูตรการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง อีกทั้งยังมีผู้มาค้นคว้าเพิ่มเติมให้สมบูรณ์และน่าสนใจมากขึ้น เช่นงานวิชาการของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)เป็นต้น ผู้วิจัยเห็นว่าวิชาการทางสังคมศาสตร์ ๕ สาขาคือ ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ล้วนมีปรัชญาการเมืองหรือผู้นำทางการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในทุกศาสตร์ ทั้งในฐานะผู้รู้ ฐานะผู้ปฏิบัติ และฐานะผู้ได้รับผล ผู้วิจัยสันนิษฐานว่า เหตุปัจจัยคงมาจากความคิดอันเป็นสัมมาทิฏฐิของผู้คน นักการเมืองหรือข้าราชการบางท่านในยุคสมัยนั้นจึงเกิดมีการประชุมเพื่อศึกษาตามแนวพุทธเถรวาทดังกล่าว สังเกตได้ว่าแนวคิดและความประสงค์ของนักปกครองนั้นส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างได้เสมอ

มีคำว่า "พุทธนวัตกรรม" ชอบครับ

 

สวัสดีครับ คุณ ณัฏฐวัฒน์

ไง...ยังสบายดีอยู่นะครับผม

เป็นข้อมูลเสริมได้ดีครับ

ว่าง ๆ ได้มาคุญกันเพื่อสานต่องานนี้นะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณ โสภณ เปียสนิท

เพื่อนำไปคิดสานต่อเกี่ยววิชาทางพุทธในอนาคตนะครับ โดยเฉพาะการสอนพระพุทธศาสนาผ่านสื่อ หรือใช้สื่อเพื่อสอนวิชาพระพุทธศาสนา...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท