เลิกงมงายในวิทยาศาสตร์


ประวัติศาสตร์ โบราณคดี นั้นว่าไปแล้วเป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง (ว่าไปแล้วยากกว่า high energy physic มากนัก)

ผมพูดเสมอว่า ก่อนจะคิดหรือทำอะไร ก่อนอื่น นิยาม ต้องถูกเสียก่อน

เช่น การพัฒนาสังคมนั้น พัฒนาคืออะไรเราก็ยังไม่ทราบ ส่วนใหญ่หมายถึง "การมีเงินมากขึ้น"   ส่วนสังคม คืออะไรยิ่งแล้วใหญ่ คือคน หรือคือ ครอบครัว หรือ หมู่บ้าน หรือ  หรือประเทศ หรือโลก

 

สังคมรวมพืช สัตว์ เห็ด รา ด้วยไหม??

 

 บ่อยครั้งการ “พัฒนา” ทำให้  ” สังคม”   "รวยขึ้น"  แต่กลับทำให้ครอบครัว “จนลง”  (โดยนิยามแห่งความ จน รวย ก็ยังไม่แน่ชัดว่า จนรวย ในมิติไหนกันแน่)  

 

สำหรับวิทยาศาสตร์นั้นยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เราไปเข้าใจกันว่า วิทยาศาสตร์คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นพื้นฐาน (pure science)  ส่วนวิศวกรรรมเป็นประยุกต์ applied science เพื่อแก้ปัญหา  ...ซึ่งผมว่าเป็นนิยามที่ผิด (ฝรั่งส่วนใหญ่ก็คิดเช่นนี้)

 

ประวัติศาสตร์ โบราณคดี นั้นว่าไปแล้วเป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง เพราะมีเหตุปปัจจัยเชื่อมโยงหลายมิติมาก  (ทั้ง space และ time อีกทั้งบริบทในขณะ space และ time นั้นๆ) มันช่างยอกย้อนซับซ้อนสิ้นดี  ..แต่วิทยาศาสตร์ระดับอะตอม โมเลกุล นาโน ที่ว่ากันว่ายากหนักหนานั้น มีปัจจัยเชื่อมโยงสองสามอย่างเท่านั้นเอง ใน space เล็กๆ เวลาสั้นๆ บริบทก็ไม่มีอีกต่างหาก)

 

แม้แต่ศิลปะ รูปวาด ก็ต้องมีการคำนวณสัดส่วน มีตรีโกณ ไม่งั้นรูปมันไม่สวยหรอกครับ การผสมสีให้ดีมี feeling มันก็ต้องคำนวณมากนะ สีหลายสี จะผสมกันด้วยสัดส่วนเท่าไหร่ เคมีมันลงกันได้ไหม   

 

 ดนตรีที่จะฟังไพเราะหูมันต้องมีคลื่นเสียงผสมกันเป็นฮาร์โมนิค สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยคณิตศาสตร์แบบ Fourie’s  series เช่นไวโอลิน มีฮาร์โมนิคหลายระดับมาก นักร้องไม่เก่งอาจขึ้นเสียงตามดนตรีผิด ทำให้กัดเสียงกัน

 

ดังนั้นประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ ดนตรี และ ฯลฯ นั้นเป็นวิทยาศาสตร์ยิ่งกว่า "วิทยาศาสตร์" เสียอีก ส่วน "วิทยาศาสตร์" นั้นมีความเป็นศิลปเสียก็ไม่น้อย  เช่น fractal picture ...แม้ในขณะที่ Oppenhiemer  ได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ได้สำเร็จยังอุทานว่า  That's the dancing of Shiva  (การเต้นระบำของพระศิวะ)

 

เพียงแต่ว่ามันจะเป็นวิทยาศาสตร์ หรือ ศิลปศาสตร์ แบบแจ้งหรือแบบซ่อนเท่านั้นเองแหละครับ

 

สุดท้าย ผมเคยเขียนไว้ว่า วิทยาศาสตร์สอนให้เรา "งมงาย" ในเหตุผล  เป็นทาสของเหตุผลไปเสียหมด ซึ่งผมว่ามันน่าอันตรายมาก

 

โลกเราทุกวันนี้กำลังเดินมาแบบ “บอดจูงบอร์ด”  (blinds lead Board) จนมาถึงทางตันได้ทุกวันนี้ก็ไม่เพราะ “เหตุผล” หรอกหรือครับ

 

...คนถางทาง (๒๘ มีนาคม ๒๕๕๕)

 

หมายเลขบันทึก: 483567เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2012 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ฮา “บอดจูงบอร์ด”  (blinds lead Board) ชอบครับ

ผมมีเพื่อน เขาเรียนคณิตศาสตร์ปริญญาโทพอไปวัดไปวาได้ Master of Science (Mathematics) แต่เพื่อน (ของเพื่อน) เรียนระดับเทพได้ Master of Art (Mathematics)

ไอ้หมอนั่นไปต่อปริญญาเอก ทำ dissertation ภายในหนึ่งปีนิดๆ ทั้งเล่มรวมหน้าสารบัญและ abstract แล้วอยู่ประมาณสามสิบกว่าหน้า ผมอ่านไม่ออกแม้สักตัวเดียว (ทั้งๆ ที่ผมพอมีพื้นอยู่บ้าง) ครับ

ฮาครับ...ทฤษฎีของผมคือ คุณภาพของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แปรผกผันกับปริมาณหน้ากระดาษ

ลองคิดดูสิครับ E=MC^2 บรรทัดเดียวก็เป็น วท.ป.เอกได้แล้ว

แฮ่ๆ ของผม ปาเข้าไปตั้ง 105 หน้าแน่ะ (ตอนแรก 95 หน้า แต่อัดเว้นวรรค คั่นหน้า เข้าไปมากๆ ก็เลยเกิน 100)

ร้อยหน้านี่ก็สุดยอดแล้วครับ ของผมเกือบสี่ร้อยหน้าครับ เปรียบเป็นอาหารแล้วก็เหมือนซุปใสๆ มีน้ำมากกว่าเนื้อครับ

สมัยเรียนเวลาไปห้องสมุดผมชอบไปหยิบ dissertations ของชาวบ้านมาดูเล่น (แก้กลุ้ม) โดยเฉพาะเล่มบางๆ ด้วยความสงสัยว่าทำยังไงครับ

ฮ่าๆ ยอมรับผิดแบบนี้ แสดงว่าเป็นคนน่ารักมาก อิอิ

นานๆสัก 10 ปี ผมเอาวน.ป.เอก มาอ่านที ก็อดชมตัวเองไม่ได้ว่า ทำไมเขียนได้ดีปานนั้น ภาษาประกิดตอนโน้นยังดีกว่าตอนนี้เสียอีก สำบัดสำนวนยอกย้วนกรวนทีนดีแท้ อิอิ thesis ผมชื่อ

Numerical Simulation of H_2-Air supersonic combustion by using the parabolized Navier-Stokes equations.

เป็นผลงานที่เป็นผลพวงของโครงการ star war ที่ได้รับงบประมาณมหาศาลจากรัฐบาลของ Ron Reagan ผู้ล่วงลับ

อาจารย์ที่ปรึกษาผมก็ได้ทุนจากโครงการ Star Wars เหมือนกันครับ แกเล่าว่าช่วง '80s นี่ทุนเยอะมาก แต่ผมไปเรียนช่วง '90s อเมริกากำลังเริ่มจนกรอบ เลยได้แค่ฟังอาจารย์เล่าและได้ใช้เครื่องที่เคย high-end (เครื่อง NeXTstation)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท