๒๘๓.เราจะมองการเข้ามาของอาเซียนเป็นอุปสรรค์หรือโอกาสของพระพุทธศาสนา(เชิงรุก) ?


เมื่อมองภาพจากประเทศทั้ง ๔ ผ่านลำน้ำโขงจะเห็นว่า “แม่น้ำโขงคือสายนทีแห่งชีวิต” และนอกจากนี้ยังเป็น "สายนทีแห่งศาสนาและวัฒนธรรมที่งดงามด้วย"

    

     เมื่อผู้เขียนได้ตั้งคำถามว่าเราจะมองเป็นอุปสรรค์ปัญหา หรือโอกาสที่จะพัฒนา? ในการก้าวมาสู่ประชาคมอาเซียน?

     ผู้เขียนเห็นว่าในมุมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตทางภาคเหนือ (วิทยาเขตเชียงใหม่, วิทยาเขตแพร่, วิทยาเขตพะเยา, วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน, ห้องเรียนลำปาง, ห้องเรียนน่าน และห้องเรียนเชียงราย-เรียงลำดับการก่อตั้ง) ได้ดำเนินการมุ่งไปสู่ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนานแล้ว เช่น

     วิทยาเขตเชียงใหม่ ไปพม่า คือเชียงตุงโดยมีศูนย์ลุ่มน้ำโขง สังกัดสำนักวิชาการ อยู่ก่อนและได้มีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงกิจกรรม เช่น มีการถวายพระไตรปิฎก พระพุทธรูป ผ้าป่า ฯลฯ ติดต่อไปมาระหว่างกันอยู่อย่างต่อเนื่อง

     สำหรับวิทยาเขตพะเยา มุ่งสู่จีนตอนใต้ คือสิบสองปันนา โดยมีศูนย์แลกเปลี่ยนพระนิสิต นักศึกษาฯ ลุ่มน้ำโขงขึ้นมาในปี ๒๕๕๐ สังกัดสำนักงานวิทยาเขต ซึ่งการไปในครั้งแรก ๆ มีสองส่วนควบคู่กันไปคือฝ่ายบ้านเมืองหรืออาณาจักรตัวแทนผู้ว่าฯ คือสำนักงานวัฒนธรรม และฝ่ายศาสนจักร ตัวแทนคือเจ้าคณะจังหวัด คือพระราชวิริยาภรณ์ ซึ่งอีกสถานภาพหนึ่งคือ รองอธิการบดี มจร.พะเยา

     ได้มีการแลกเปลี่ยนไปมาระหว่างวัฒนธรรม และที่เป็นรูปธรรมคือการแลกเปลี่ยนพระนิสิต นักศึกษา ชุดแรกที่มาเรียนที่จังหวัดพะเยา ๖ รูปคน คือพระภิกษุสามเณร ๕ รูปมาเรียนระดับอุดมศึกษาที่ มจร.พะเยา และเด็กนักเรียนผู้หญิงเรียนในระดับมัธยมปลาย ที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

     ประเด็นก็คือ มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่, วิทยาเขตพะเยา หรือแม้แต่วิทยาเขตแพร่ มีการไปปฏิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านจริง แต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีการเชื่อมฐานข้อมูลระหว่างกัน ยังเป็นลักษณะต่างคนต่างทำอยู่

  

     จากหัวข้อที่ว่า “การปรับตัวของพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมในประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ต่อการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน”

     เมื่อมองภาพจากประเทศทั้ง ๔ ผ่านลำน้ำโขงจะเห็นว่า “แม่น้ำโขงคือสายนทีแห่งชีวิต” และนอกจากนี้ยังเป็น "สายนทีแห่งศาสนาและวัฒนธรรมที่งดงามด้วย"

     สายวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาดังกล่าวไหลจากประเทศจีนตอนใต้ เมืองสิบสองปันนา(ไตลื้อ) ผ่านพม่า(ไตเขิน) ผ่านล้านนาของไทย(ไตยวน) และผ่านไตน้อย(หลวงพระบาง ประเทศลาว

 

   การไหลบ่าทางวัฒนธรรมนี้ หากไม่ระมัดระวังให้ดี หรือปรับท่าที่ของพระพุทธศาสนาไม่ถูก เราอาจจะถูกกระแสโลกาภิวัตน์พัดพาวัฒนธรรมดังกล่าว ไหลผ่านไปจนตกทะเลที่ปลายทางสุดของแม่น้ำโขงที่ประเทศเวียดนามได้อย่างน่าเป็นห่วงยิ่ง

     ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าเราในฐานะที่อยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนา จะวางท่าที่ต่อสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร?

     วัฒนธรรมแห่งความเชื่อ-ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมร่วมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงเท่านั้น จึงจะคอยชะลอกระแสแห่งความเชี่ยวกรากทางวัฒนธรรมตะวันตกได้

     หากเรามองในเรื่องวัฒนธรรมในมิติทางศาสนา ผู้เขียนเห็นว่า จีนตอนใต้ ลาว และพม่า(เชียงตุง) ล้วนแล้วแต่นำเข้าวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาจากไทยแทบทั้งสิ้น เช่น มีการส่งพระภิกษุสามเณรจากรุ่นสู่รุ่นแล้วนำไปปฏิบัติ วางกรอบทางพิธีกรรม และข้อวัตรปฏิบัติหลายประการ

 

     ยกตัวอย่างเช่น ผู้นำของเมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ไม่ว่าจะเป็นครูบาหลวงจอมเมือง (เบอร์หนึ่ง) ก็ผ่านระบบการศึกษาจากเชียงใหม่สามปี, ครูบาคำถิ่น(เบอร์สอง) ก็เป็นศิษย์จากสำนักวัดพระพุทธบาตรตากผ้า จังหวัดลำพูน หรือแม้แต่พระมหาแสง(เบอร์สาม) ก็ได้มหาเปรียญจากประเทศไทย

     หากเรามองประชาคมอาเซียนเป็นปัญหา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องมีอยู่อย่างแน่นอน แต่เราจะปรับท่าที่ของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร?

 

หมายเลขบันทึก: 483413เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2012 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 04:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท