๒๘๒.การปรับตัวของพระพุทธศาสนา(เชิงรุก) ในประเทศลุ่มน้ำโขงต่อประชาคมอาเซียน


ดังนั้น จึงเป็นคำถามว่า กลุ่มประเทศไหนที่ตื่นเต้นเพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ในทิศทางที่แจ่มใสและความมุ่งหวังที่จะมีชีวิตที่ดีกว่า ?

     ผู้เขียนเปิดประเด็นโดยการได้ชี้ให้เห็นว่า ASEAN ๑๐ ประเทศ รวมตัวกันมีประชากรเกือบ ๖๐๐ ล้านคน ขณะที่ EU รวมตัวกันกว่า ๒๐ ประเทศ มีประชากร ๔๐๐ ล้านคน แต่มีความน่าสนใจเรื่องศาสนา ดังนี้

     ๑.ประเทศกัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม-สิงคโปร์ และไทย นับถือพระพุทธศาสนา

     ๒.ประเทศอินโดนีเซีย-มาเลเซีย และบรูไน นับถืออิสลาม และ

     ๓.ประเทศฟิลิปปินส์ นับถือคริสต์ศาสนา

   

     เมื่อเราแยกย่อยประเทศกลุ่มที่นับถือพระพุทธศาสนาออกมาจะเห็นว่ามีความน่าสนใจยิ่งกว่าคือ

     ๑)ประเทศไทย-กัมพูชา-ลาว และพม่า นับถือพุทธศาสนา แบบเถรวาท

     ๒)ประเทศเวียดนาม  นับถือพุทธศาสนา แบบมหายาน

     ๓)ประเทศสิงคโปร์ นับถือพุทธศาสนา แบบผสมกับลัทธิขงจื้อ

     และเมื่อเรานับมาวิเคราะห์ให้ลึก ๆ แล้วจะเห็นว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเหล่านั้น กลับพบว่ากัมพูชา-พม่า-ลาว เป็นพุทธแบบประครองตัว คือไม่หวือหวาอะไร? ส่วนสิงคโปร์-เวียดนาม เป็นพุทธแบบแบ่งปัน คือผสมผสานระหว่างลัทธิความเชื่ออื่น ๆ แต่ไทย นับว่าเป็นพุทธแบบก้าวหน้า คือปล่อยให้มีอิสรเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่

 

     เมื่อเป็นดังนี้แล้ว เราจะเห็นว่าชาวพุทธไทยนั้น ก็สามารถที่จะแบ่งจำเพาะได้อีก ๓ ประเภท คือ

     ประเภทที่หนึ่ง พุทธแบบสำมโนครัว ซึ่งเป็นการระบุไว้ในทะเบียนบ้านเอาไว้ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการระบุไว้ก็ตามแต่เมื่อถูกถามก็จะรายงานตัวว่าเป็นพุทธ

     ประเภทที่สอง พุทธแบบขนบ  คือมีความเชื่อ และมักชอบติดบุญ ซึ่งประเด็นนี้ คราวก่อนผู้เขียนไปสัมภาษณ์งานวิจัย “การศึกษาวิเคราะห์ธรรมราชาตามแนวทางพระพุทธศาสนา” พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค ๖ ได้ให้ทัศนะที่น่าใจว่า “คนไทยนี้เก่ง แต่ไปติดที่ทานบารมี ไม่ไปต่อ แต่ญี่ปุ่นไปเน้นที่วิริยะ จึงทำให้คนเขามีวินัย”

 

     ทำให้ผู้เขียนนึกได้ว่า มิน่าในหลวงรัชกาลปัจจุบันท่านทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “มหาชนก” ก็เพราะท่านต้องการให้คนไทยมีความเพียร เรียกว่าวิริยบารมี แต่คนไทยอาจคิดตามไม่ทันพระองค์ ซึ่งประเด็นนี้น่าเสียดายมาก และน่าจะขยายผลในประเด็นนี้ให้มากกว่าเรื่องของทานบารมี

     ประเด็นที่สาม  พุทธแบบองค์ความรู้ คือมีความศรัทธาต่อพุทธศาสนาเพื่อศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

     ในวันนี้ ผู้เขียนจะขออนุญาตพูดเฉพาะ ASEAN+1 โดยจะพูดถึงไทย-พม่า-ลาวและจีนตอนใต้เท่านั้น ซึ่งประเทศทั้ง ๔ นี้มีทั้งวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันโดยระบบเศรษฐกิจและการเมือง เช่น

     ประเทศจีน เป็นระบบคอมมิวนิสต์ แต่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ซึ่งมักมองพุทธศาสนาเป็นสินค้า ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งในจีนทุ่มเงินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านหยวน หรือ ๕,๐๐๐ ล้านบาทไทย สร้างวัดหลวงเมืองลื้อ ขึ้นที่เมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนาน เพื่อเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว ขายบัตรเข้าชม หรือกรณีการนำวิถีชีวิตไตล้อ เปิดหมู่บ้านวัฒนธรรม ทำลักษณะของโฮมสเตย์

     ส่วน ประเทศลาว เป็นระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์จริง แต่แอบอิงพระพุทธศาสนา เมื่อจะเผยแพร่ลัทธิก็ต้องนำพระภิกษุไปเผยแผ่ธรรมด้วย เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า มันคล้ายคลึงและเกื้อหนุนกันระหว่างพุทธและคอมมิวนิสต์

     ประเทศพม่า มีระบบการปกครองแบบเผด็จการทหาร ที่มักใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมผู้คนในประเทศ  ส่วนประเทศไทยเรานั้น มีระบบเป็นแบบประชาธิปไตย หรือเสรี ผู้เขียนจึงแซวว่า เสรีจริงหรือ?

 

     ดังนั้น จึงเป็นคำถามว่า กลุ่มประเทศไหนที่ตื่นเต้นเพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ในทิศทางที่แจ่มใสและความมุ่งหวังที่จะมีชีวิตที่ดีกว่า ?

 

หมายเลขบันทึก: 483409เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2012 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โยมเองเคยคิดว่า เราน่าจะมีกลุ่มย่อยแยกออกมาอีก เป็นกลุ่มพุทธเถรวาท คือ พม่า ลาว เขมร ไทย ซึ่งอาจทำให้มีข้อตกลงอื่นๆ ร่วมกันได้เพิ่มเติม อีกทั้งก็มีดินแดนต่อถึงกันหมด โดยที่ไทยเราเป็นตัวเชื่อม หรือ จะเป็น ๔+ ๑ โดยมีศรีลังกาเป็นแขกรับเชิญด้วยก็ได้

เจริญพรคุณโยมคนถางทาง เป็นข้อเสนอแนะที่ดี

ศาสนทายาทต้องตระหนักในจุดนี้ให้มากขึ้น

ที่จะมองว่าการเข้ามาของอาเซียน เป็นปัญหาหรือโอกาส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท