เงินเดือนตำแหน่งต่าง ๆ, จ้างครูอาสาฯเกษียณต่อ, เบิกเบี้ยเลี้ยงครึ่งวัน, ลาต่อหัวท้ายวันหยุดยาวอีกได้ไหม, ชะลอการสอบ ขรก./ผู้บริหาร, ผลเลือกครูไป ตปท.


ค่าตอบแทนบุคลากรประเภทต่าง ๆ แตกต่างกันมาก อาจเกิดปัญหาขวัญกำลังใจ, จ้างพนักงานราชการที่อายุเกิน 60 ปีได้, ไปราชการเกิน 6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 12 ชั่วโมง เบิกเบี้ยเลี้ยงกึ่งหนึ่ง, การลาต่อหัวท้ายวันหยุด ให้ ผอ.พิจารณาอนุญาตตามความจำเป็น, ให้ชะลอการสอบบรรจุข้าราชการสังกัด ก.ค.ศ. คอยหลักเกณฑ์ใหม่ ( ไม่มีสัมภาษณ์ )

สัปดาห์หน้า ผมไปประชุมทั้ง 5 วัน อาจจะไม่มีเวลาขึ้นบันทึกใหม่ในเว็บบล็อก  จึงขอขึ้นบันทึกใหม่นี้ไว้ล่วงหน้าเลย  โดยมีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้

 

         1. วันที่ 21 มี.ค.55  มีผู้ถามผมทางอีเมล์ผ่าน Gotoknow.org   หลายคน คือ
             1.1  “ครูผู้สอนคนพิการ” ถามว่า  เงินเดือนครูผู้สอนคนพิการ ทำไมยังคงได้รับที่ 7940 บาท อยู่เหมือนเดิม ทั้งที่ฐานเงินเดือน ป.ตรี ปรับเป็น 9140 บาท แล้ว  อยากทราบว่ามีแนวโน้มจะปรับให้ไหม     ผมตอบว่า   ไม่มีข้อกำหนดว่าเงินเดือนครูผู้สอนคนพิการต้องเป็นไปตามฐานเงินเดือนปริญญาตรีครับ ( ครูประจำกลุ่มก็วุฒิปริญญาตรี แต่ยังได้ไม่เกิน 3,200 บาท/เดือน )    ถ้าเขาหาเงินมาปรับเพิ่มให้ได้เขาก็คงจะปรับเพิ่มให้ครับ    ( ถ้ารวมตัวกันเรียกร้องมาก ๆ เขาอาจจะพยายามหาเงินมาปรับเพิ่มให้เร็วขึ้น )

             1.2  นางสาวดุษฎี  ทองสกุล  ถามว่า  ทำงานอยู่ที่ กศน.จังหวัด ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บัญชี (ลูกจ้างชั่วคราว) จ้างด้วยระเบียบว่าด้วยพัสดุ จะได้รับเงิน 15,000 บาท ด้วยหรือไม่     ผมตอบว่า   จ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุ ไม่ได้ 15,000 บาทครับ

             1.3  อาภรณ์  อินปิน  ถามว่า  ทำงานในตำแหน่งพนักงานราชการ ของ กศน.จังหวัดแห่งหนึ่ง  เพิ่งบรรจุใหม่ในวันที่ 1 ธันวาคม 2554  อยากทราบว่า เงินเดือน 15,000  บาท จะได้เหมือนคนที่ทำงานมานานไหม     ผมตอบว่า   บรรจุใหม่ ถ้าเป็นพนักงานราชการที่จ้างตามวุฒิปริญญาตรี ก็จะได้เงินเดือนรวมค่าครองชีพเป็น 15,000 บาท เหมือนกัน  ( 15,000 เป็นขั้นต้นของวุฒิปริญญาตรีที่บรรจุตั้งแต่ 1 ม.ค.55 เป็นต้นมา  ถ้าบรรจุก่อนวันที่ 1 ม.ค.55 และได้เฉพาะเงินเดือนเกิน 14,020 บาทอยู่ ก็จะได้ปรับให้มากกว่า 15,000 บาท ตามลำดับ )

             1.4  อัญชลี  อินนุพัฒน์  ถามในเว็บบล็อกว่า  ลูกจ้างประเภทอื่น ได้ตามค่าหัวผู้เรียนใช่หรือเปล่า     ผมตอบว่า   ถ้าเป็นครูประจำกลุ่มก็จะได้ตามรายหัวนักศึกษา  ถ้าเป็นครูสอนคนพิการก็ได้ 7,940 บาทเท่าเดิม   ส่วนครู ศรช. ให้แต่ละจังหวัดพิจารณาเองว่าจะจ่ายเท่าไร ( แล้วแต่จำนวนครู ศรช. กับจำนวนเงินอุดหนุนที่ได้รับ ถ้ามีครู ศรช.น้อย มีนักศึกษามากได้เงินอุดหนุนมาก ก็จ่าย 9,140 บาทได้ )   ส่วนครู ปวช. บางจังหวัดจ่ายตามวุฒิเหมือนครู ศรช. บางจังหวัดจ่ายตามรายหัวนักศึกษาใช่ไหมครับ   ถ้าจ่ายตามวุฒิเหมือนครู ศรช. ก็ให้แต่ละจังหวัดพิจารณาเองว่าจะจ่ายให้ครู ปวช.เท่าไร เช่นเดียวกับครู ศรช.   สำหรับพนักงานห้องสมุดจ้างเหมาบริการ กลุ่มแผนงานจัดสรรให้เดือนละ 9,140 บาท

             1.5  วิไลวรรณ  แถมมลตรี  ถามในเว็บบล็อกว่า  ทำไม ครู ศรช.ถึงไม่ให้ 15000 บาท  ตอนสอบแข่งขันก็สอบที่จังหวัด ทำงานก็เหมือนกับครู กศน.ตำบลทุกอย่าง เงินเดือนทำไมเป็นอย่างนี้     ผมตอบว่า   ครู ศรช. เบิกค่าตอบแทนจากเงินอุดหนุนรายหัวนักศึกษา ปีนี้อัตราเงินอุดหนุนรายหัวก็เท่าเดิม ( ปีหน้าอัตราเงินอุดหนุนรายหัวจะเพิ่มขึ้น )  ยิ่งจังหวัดไหนมีนักศึกษาน้อยได้เงินอุดหนุนรายหัวน้อยแต่มีจำนวนครู ศรช.มาก เงินก็จะไม่พอจ่ายให้ครู ศรช.     ตำแหน่งต่างกันก็ย่อมมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดา  ครูสอนเด็กเร่ร่อน คงคล้ายกันกับครู ศรช.

             1.6  สิทธิ ศรีทองคำ  หัวหน้า กศน.ตำบล อ.พระนครศรีอยุธยา  ถามผมในเฟซบุ๊ค เมื่อ 22 มี.ค.55 ว่า  อยากทราบว่าเงินเดือน 15000 ที่ พนักงานราชการจะได้ มีตกเบิกไหมครับ ครูอาสา กับ หัวหน้า กศน.ตำบล แตกต่างกันไหม     ผมตอบว่า   มีตกเบิกย้อนหลังตั้งแต่ ม.ค.55  ครูอาสาฯกับครู กศน.ตำบล ไม่แตกต่างกัน

             ปีนี้ บุคลากรประเภทต่าง ๆ ของ กศน.  ได้ค่าตอบแทนแตกต่างกันมากขึ้น อาจมีผลกระทบกับขวัญกำลังใจ และทำให้เกิดปัญหา   ผมคิดว่าผู้บริหารและส่วนกลางควรพิจารณาเรื่องนี้นะครับ

 

         2.  วันเดียวกัน ( 21 มี.ค.55 )  กจ.กศน. แจ้งว่า  ก.ค.ศ. ให้ชะลอการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด ทุกสายงาน  เพราะ ก.ค.ศ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาผูอำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาใหม่แล้ว ( ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.6/ว 7 ว8 ลงวันที่ 9 มี.ค.55 )  โดยให้สอบเฉพาะภาค ก.เท่านั้น ( ไม่มีสัมภาษณ์ )   และกำลังจะปรับหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาทุกสายงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  จึงให้ชะลอการสรรหาสายงานอื่น ๆ ทุกสายงานไว้ก่อน เพื่อรอหลักเกณฑ์วิธีการใหม่
             ในเรื่องนี้ อ.สุรเชษฐ์ กจ.กศน. บอกผมว่า  นอกจากตอนนี้จะชะลอการรับสมัครสอบ รอง ผอ.กศน.จ. แล้ว ยังต้องชะลอการประกาศรับสมัครบุคลากรทางการศึกษาอื่น ( บรรณารักษ์ นักวิชาการศึกษา นักจัดการงานทั่วไป ) ออกไปก่อน เพื่อรอหลักเกณฑ์วิธีการใหม่ ( ไม่มีสัมภาษณ์ )   ที่เคยบอกว่าจะประกาศรับสมัครในเดือนนี้ จึงยังไม่ประกาศ  ยกเว้นเฉพาะจังหวัดชายแดนใต้ ที่ประกาศไปแล้ว ก็ดำเนินการต่อไป เพราะชายแดนใต้เป็นพื้นที่พิเศษ

 

         3. ( หมายเหตุ ข้อนี้อาจล้าสมัยแล้ว เพราะท่านเลขาธิการ กศน. นายประเสริฐ บุญเรือง พูดในที่ประชุมที่โรงแรมทองธารินทร์ อ.เมืองฯ จ.สุรินทร์ ช่วงงานกฐินพระราชทาน ต้นเดือน พ.ย.55 ว่า จะให้พนักงานราชการ กศน.เกษียณแค่อายุ 60 ปี )  วันที่ 22 มี.ค.55  ครูอาสาฯ อ.เดิมบางนางบวช ( จะอายุครบ 60 ปี ในปี 2556 )  โทร.มาบอกให้ผมเขียนเรื่องการจ้างพนักงานราชการที่อายุเกิน 60 ปี ลงในเว็บบล็อกนี้อีกครั้ง ( ผมเคยเขียนลงแล้ว )
             กรณีการเกษียณของพนักงานราชการนี้ เทียบเคียงกับข้าราชการและลูกจ้างประจำ คือ เกษียณเมื่อมีอายุครบ 60 ปี   แต่... หากส่วนราชการประสงค์จะจ้างพนักงานที่เกษียณอายุแล้ว  พนักงานราชการดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน ซึ่งไม่อาจหาได้โดยทั่วไป   มีความขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของส่วนราชการ   โดยต้องคำนึงถึง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ อายุ และสมรรถภาพของพนักงานราชการ รวมทั้งระยะเวลาการจ้างจะต้องไม่เกินระยะเวลาตามกรอบอัตรากำลัง 4 ปี  ( ทำสัญญาจ้างครั้งละไม่เกิน 4 ปี เหมือนพนักงานราชการทั่วไป โดยพิจารณาความเหมาะสมใหม่ทุกครั้งที่จะต่อสัญญา )
            ขั้นตอนการดำเนินการ เป็นไปตามปกติเหมือนผู้ที่อายุยังไม่ครบ 60 ปี เลยครับ  คือปลายปีนี้ ถ้า ก.พ.ร. ให้จ้างพนักงานราชการตำแหน่งครูอาสาฯต่ออีก 4 ปี  ก็ดูผลการประเมิน 2 ครั้งหลังสุด คือการประเมินเมื่อ 31 มี.ค.55 กับ 30 ก.ย.55  ถ้าผลการประเมินเฉลี่ย 2 ครั้ง ต่ำกว่าระดับ “ดี” ก็ไม่ต่อสัญญา   ถ้าระดับดีขึ้นไป ก็ต่อสัญญาอีกไม่เกิน 4 ปี ทั้งผู้ที่ยังอายุเกิน 60 และผู้ที่จะอายุครบ 60 ภายใน 4 ปีข้างหน้า   ไม่ต้องขออนุมัติส่วนกลางหรือมีขั้นตอนพิเศษใด ๆ ขอเพียงให้ส่วนกลางแจ้งมาว่า ก.พ.ร.ให้ต่อสัญญาพนักงานราชการตำแหน่งนั้นอีก 4 ปี

 

         4. วันเดียวกัน ( 22 มี.ค.55 )  ผมไปเป็นกรรมการคัดเลือกบุคลากรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ต้องการเข้าร่วมการอบรมภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อน ณ ต่างประเทศ 1 เดือน   โดยสำนักงาน กศน.ให้คัดเลือกผู้มีศักยภาพจังหวัดละ 3 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ 1 คน  หัวหน้า กศน.ตำบล 2 คน
             4.1  จ.พระนครศรีอยุธยาไม่มีศึกษานิเทศก์ จึงส่งข้าราชการครูแทน  มีผู้สมัครเพียงคนเดียว คือ อ.รานี  น้อยสกุล อ.บางปะหัน
             4.2  หัวหน้า กศน.ตำบล  มีผู้สมัคร 6 คน  ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกคือ
                     อันดับที่ 1  นายนักรบ  ฤทธิสาร  อ.เสนา  ( กำลังเรียนปริญญาโท เอกการสอนภาษาอังกฤษ )
                     อันดับที่ 2  นายธันวา  มหาสวัสดิ์  อ.บางปะอิน  ( ปริญญาตรีเอกภาษาอังกฤษ )
                     สำรอง       นายชิษณุพงศ์  เข็มนาค  อ.พระนครศรีอยุธยา
                      ถึงแม้จะเป็นการ “อบรมภาษาอังกฤษ” ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางภาษาอังกฤษอยู่ก่อน  แต่คณะกรรมการคิดว่า ในระยะเวลาอันสั้นนี้ ถ้าไม่มีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษที่ดีพอสมควร จะมีปัญหา  จึงเลือกผู้ที่เอกภาษาอังกฤษ

 

         5. วันเดียวกัน ( 22 มี.ค.55 )  “เด็ก สวนนัน” ถามผมในเฟซบุ๊คว่า   เบิกไปราชการต่างอำเภอ ครึ่งวันได้ไหม  กี่ชม.ขึ้นไปถึงเบิกได้ครึ่งวัน
             ผมตอบว่า    เบิกค่าไปราชการครึ่งวันได้ ( การเบิกเบี้ยเลี้ยงครึ่งวันใช้เฉพาะกรณีไม่พักแรมเท่านั้น ) โดยหากนับได้ไม่ถึง 12 ชั่วโมง แต่ "เกิน" 6 ชั่วโมงขึ้นไป ( นับตั้งแต่เวลาออกจากบ้านหรือสำนักงาน จนถึงเวลากลับถึงบ้านหรือสำนักงาน ) ให้ถือเป็นครึ่งวัน

 

         6. วันเดียวกัน ( 22 มี.ค.55 )  “อั๋น ถาวร”  ถามผมในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  กรณีการลา อย่างมีวันหยุดแล้ว 4-5วัน แล้วเราจะลาต่อหลังวันอีกหรือก่อนวันหยุด ผิดระเบียบการลาไหม  อย่างเช่นสงกรานต์หยุดวันที่ 13 14 15 16 แล้วเราลา 17 18 19 ต่ออย่างนี้ผิดระเบียบไหม

             ผมตอบว่า    ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555 ข้อ 8 วรรคท้าย กำหนดว่า  การลาในช่วงก่อนและหลังวันหยุดราชการประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการประจำปีเพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกัน "ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลา พิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น ที่จะอนุญาตให้ลาได้โดยมิให้เสียหายแก่การปฏิบัติราชการ"
             สรุปว่า ผู้บริหารจะพิจารณาอนุญาตให้ลาหรือไม่ก็ได้ อยู่ที่ความเหมาะสมและจำเป็น ไม่ผิดระเบียบ

 

         7. วันที่ 26-30 มี.ค.55  ผมไปร่วมประชุมที่โรงแรมนนทบุรีพาเลซ ทั้ง 5 วัน ( ประชุมปฏิบัติการสร้างเครื่องมือประเมินเทียบระดับการศึกษา มิติความรู้ความคิด )

 

หมายเลขบันทึก: 482962เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2012 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณมากครับ อาจารย์

  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำเสนอค่ะทำให้ได้รู้อะไรที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

ขอบคุณครับได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้น

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ Ico48 Ico48 Ico48 

 

สวัสดีคะ ดิฉันอยากขอคำแนะนำจากท่าน เรื่องการเรียน ป.บัณฑิตน่ะคะ

ว่า

ตกลงตอนนี้เขามีเปิดสอนอยู่ใช่ไหมคะ

ดิฉันสามารถเรียนได้หรือไม่ (ดิฉันเพิ่งทำสัญญาเป็นครูสอนคนพิการน่ะคะ)

มีที่ไหนเปิดสอนบ้างคะ

ถ้าไม่มีเปิดสอนแล้ว ดิฉันอยากจะขอคำแนะนำว่าดิฉันต้องทำอย่างไรได้บ้างที่จะสามารถเรียนและมีใบประกอบวิชาชีพครูได้คะ

หรือว่าดิฉันจะต้องสมัครเรียนใหม่ เริ่มต้นใหม่ตามหลักสูตรของมหาลัย(ลงเรียน ป.ตรีใหม่)

ตำแหน่งครูสอนพิการนี้จะมีการต่อสัญญาไปเรื่อยๆไหมคะ

อยากเรียนครูมากๆเลยคะช่วยแนะนำด้วยนะคะ

ไม่รู้ว่าเสียไปหรือเปล่าคะ

ตอบคุณ nuntory
         การเปิด ป.บัณฑิต ตอนนี้ มหาวิทยาลัยต้องขออนุญาตคุรุสภาเป็นครั้ง ๆ ไป โดยระบุกลุ่มเป้าหมายว่าจะเปิดสอนกลุ่มใด เช่น เปิดตามที่ตกลงร่วมมือกับ สช. ให้ครูโรงเรียนเอกชนเรียน   ตอนนี้ กศน.เราก็กำลังตกลงกับคุรุสภาให้เปิดหลักสูตร ป.บัณฑิตให้ครู กศน.เรียน  เพิ่งจำสำรวจผู้ต้องการเรียนเสร็จไปใหม่ ๆ  คุณ nuntory ไม่ได้แจ้งความต้องการเรียนไปหรือครับ ลองติดต่อจังหวัดให้รีบแจ้งเพิ่มได้ไหม ( คุณอุบลวรรณ กจ.กศน. บอกว่าให้รีบแจ้งเพิ่มได้ แต่ผมไม่รู้ว่าหมดเวลาแจ้งเพิ่มเมื่อไรนะ )
         ตำแหน่งครูสอนคนพิการคงจะต่อสัญญาต่อไปถ้ายังมีกลุ่มเป้าหมายคนพิการตามจำนวนที่กำหนด   ( บรรทัดสุดท้ายที่ว่า "ไม่รู้ว่าเสียไปหรือเปล่า" นั้น อ่านไม่เข้าใจครับ )

 

เข้ามาอ่านทุกครั้ง...ก็ได้ประโยชน์ทุกครั้ง ขอบคุณครับ ^_^

มิติความรู้ความคิด หมายถึง Cognitive Domain ตามทฤษฎี properties of Bloom's taxonomy of educational objectives มั๊ย

ใช่ครับ อ.กล้วย Ico48
         แต่กว้างกว่า Cognitive Domain นิดหน่อย คือวัดไปถึง Affective domain ( จิตพิสัย ) ได้ด้วย สรุปว่าเป็นมิติ "การประเมินด้วยการสอบข้อเขียน" ( มีทั้งปรนัยและอัตนัย )

 

เรียนอาจารย์

          ครู ศรช.ในแต่ละจังหวัด มีโอกาสที่เขาจะได้เป็นพนักงานราชการ รึเปล่าคะ  (สอบค่ะ)

                                              ขอบคุณข้อมูลดีๆที่นำเสนอค่ะ

ก็มีอยู่แล้วครับ จังหวัดไหนมีตำแหน่งพนักงานราชการว่างก็เปิดสอบ ครู ศรช.ก็สมัครสอบ ไงครับ

ปีนี้ บุคลากรประเภทต่าง ๆ ของ กศน. ได้ค่าตอบแทนแตกต่างกันมากขึ้น อาจมีผลกระทบกับขวัญกำลังใจ และทำให้เกิดปัญหา ผมคิดว่าผู้บริหารและส่วนกลางควรพิจารณาเรื่องนี้นะครับ เห็นด้วยกับคำพูดนี้ค่ะ การเลื่อนการพิจารณาค่าตอบแทนพนักงานราชการออกไปอีกจะได้ตรวจสอบข้อมูลการประเมินตนเองเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลลวง คนทำงาน กศน.อย่างทุ่มเทได้มีขวัญและกำลังใจค่ะ

การพิจารณาเลื่อนค่าตอบแทน ก็ต้องรีบเหมือนกัน เพราะกระทบกับการเบิกจ่ายค่าตอบแทนทั้งจังหวัด

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เปิดสอน ป.บัณฑิต ไ้ดรับการรับรองจาก คุรุสภา ยังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท