นักวิชาชีพขาดแคลนและไม่ก้าวหน้า...สปสช ช่วยเหลืออย่างไร


ถอดบทเรียนจากงานสัมมนา "ผู้ประกอบการโรคศิลปะ 7 วิชาชีพ เพื่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ รร.ปรินซ์พาเลซมหานาค เมื่อวันที่ 21-22 มี.ค. 55

งานนี้น่าสนใจ ที่มีการระดมสมองจากนักวิชาชีพ [คือ บุคลากรสนับสนุนทางการแพทย์ที่ต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพ/ใบประกอบโรคศิลปะ หลังจากผ่านระบบการศึกษาที่มีการรับรอง] แต่ปัจจุบันด้วยอัตรากำลังที่ขาดแคลน สัดส่วนงานบริการต่อภาระผู้ป่วยที่มากเกินกำลัง ทำให้เกิดความล้าในการพัฒนาตนและงานให้ก้าวหน้า และสุดท้ายก็ลาออกจากวิชาชีพ

ในงานนี้เป็นการระดมความคิดใน 7 วิชาชีพ ได้แก่ นักการแพทย์แผนไทย         นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีเทคนิค นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก นักแก้ไขการพูดและการสื่อความหมาย และนักกิจกรรมบำบัด แต่ได้มีตัวแทนของนักจิตวิทยาคลินิกเข้าร่วมประชุมและแนะนำให้เปิดเป็น "สหวิชาชีพ" เพื่อเปิดโอกาสให้มีสาขาวิชาชีพที่เพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

ประเด็นสำคัญระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณะทำงานของแต่ละวิชาชีพกับท่านรองเลขาธิการสปสช. (นพ.ประทีบ) ได้แก่

1. เปิดโอกาสให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวิชาชีพ (Interdisciplinary) มากกว่าการรวมพลังสหวิชาชีพ (Mulidisciplinary)

2. เปิดโอกาสให้มีการจัดทำโครงการร่วมกันระหว่างวิชาชีพ เข้าถึงในระดับพื้นที่/ศูนย์เฉพาะทางและชุมชน

3. เปิดโอกาสให้ส่วนกลางวางแผนการผลิตนักวิชาชีพ แล้วกระจายให้ไปทำงานส่วนภูมิภาค

4. เปิดโอกาสสร้างกระบวนการเรียนรู้ (ที่ใช้เวลาด้วยความต่อเนื่อง) สู่การเปลี่ยนแปลงในระบบบริการสุขภาพชุมชน เช่น การเพิ่มกลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self-help group) ยกระดับเป็นศูนย์บริการร่วมกับนักวิชาชีพ การเพิ่มทางเลือกของการบริการอื่นๆ (60%) ร่วมกับหน่วยบริการของรัฐ (40%)

5. การกระจายอำนาจสู่หน่วยบริการที่พร้อมต่อการจัดสรร (เช่น อบต) แต่ต้องปฏิรูปและจัดทำรายการโครงการเข้าระบบเท่าที่จำเป็น (Vertical contribution)

6. การวางแผนงานบริการ (Service plan) ในระบบเครือข่ายเพื่อตั้งศูนย์บริการเพื่อความเป็นเลิศของเขต สปสช และ ส ทั้งหลาย เช่น 5-6 ล้านคนต่อเขตสุขภาพ  

7. การสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมต่อการกระจายอำนาจ/กองทุนไปยังจังหวัด/อำเภออย่างเหมาะสม มีการส่งเสริมความรู้ถึงกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ สู่ความคิดความเข้าใจต่อนักวิชาชีพและการสร้างความสุขในการฟื้นพลังชีวิตในชุมชน เช่น นักกิจกรรมบำบัดกับนักกายภาพบำบัดร่วมศูนย์บริการชุมชนแบบ (Outsource) และมีกระบวนการจัดการนำร่องใน 10 จังหวัดให้มีสุขภาวะดี

8. การบริหารทรัพยากรให้คุ้มทุน โดยเน้นแนวคิดการทำงานเป็นทีม (ฝึกคนที่มีหัวใจบริการให้มีระบบการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น) เกิดระบบบริการสุขภาพที่มีรูปแบบที่หลากหลายและเป็นอิสระ พยายามเดินไปข้างหน้าอย่างมีความหวัง แม้ต้องมีอุปสรรคจากการตัดสินใจของสปสช. บ้าง เช่น การสร้าง Central Pool & Data Center ที่อาศัยเทคโนโลยีบูรณาการให้ประชาคมในชุมชนตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาวะ มีการวางแผนระบบบริการที่เหมาะสม แบะการจัดการด้านการเงินแบบเครือข่าย เช่น 50% สำหรับการใช้งบประมาณหลักร่วมกันระหว่างเครือข่าย + 50% สำหรับการใช้งบประมาณย่อยเฉพาะเรื่อง เป็นต้น

9. ประเทศไทยกำลังปรับ GDP ซึ่งสัมพันธ์กับการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ จาก 4,000+ USD เป็น 5,000 USD และหวังว่าจะอยู่ในระดับที่พัฒนาแล้วคือ 10,000 USD โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงทุกภาคส่วน ลดการเผชิญหน้า สปสช จะร่วมแบบคู่ขนานกับการพัฒนาแต่ละภาคส่วน

10. โอกาสในปี 2012-2015 ประเทศไทยต้องเตรียมตัวรับมือ "การเปิดเสรีของ Medical Hub" เพื่อให้นักวิชาชีพสร้างรายได้ให้กับประเทศด้วยการเกื้อหนุนระบบบริการสุขภาพและเทคโนโลยี มิใช่ทำงานในกลุ่มเล็กๆ และรัฐบาลต้องให้ความยุติธรรมในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมและสมดุลย์ระหว่างกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่

คำถามเพื่อทบทวนเป็นการบ้าน "วันนี้นักวิชาชีพท่านใดคิดว่าทำงานแบบ Interdisciplinary หรือ Multidisciplinary"

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 482961เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2012 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ครับ

ผมขอถามนะครับ ผมไม่รู้จริง ๆ ครับ

นักกิจกรรมบำบัด มีวิชาชีพหรือยังครับ

เพราะที่อาจารย์เล่ามาน่าจะมีวิชาชีพแล้วนะครับ

ขอบคุณมากครับคุณทิมดาบ

นักกิจกรรมบำบัดเป็นวิชาชีพทางการแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลปะ เมื่อ พ.ศ. 2545 ครับ ลองคลิกอ่านที่ http://www.tamanoon.com/license42/General/pdf.htm

ขอบคุณมากครับพี่น้องกัลยาณมิตรสำหรับคำชื่นชมทุกท่าน

อาจารย์คะ ตอนนี้พยาบาล และอาชีพสนับสนุนบริการด้านจิตวิทยาก็ขาดแคลนอยู่นะคะ ส่วนใหญ่เมื่อทำงานรัฐสักระยะ ก็ลาออกไปค่ะ

ผมว่าจะออกไปทำนาดูครับ พอดีเห็นคุณชัยพร ที่สุพรรณทำแล้วสนใจมากเลย ที่บ้านก็พอมีที่นาอยู่ ดีกว่าทำงานหนักแถมยังไม่ได้บรรจุ 11ปีแล้วครับ ถือว่าทดแทนคุณอาจารย์มาพอสมควรแล้ว เป็นลูกจ้างชั่วคราวสวัสดิการแย่จริงๆ

ยินดีและขอบคุณคุณเทคนิคบ้านนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท