ซีโอ- พูมิช (Zeo-Pumice), ซีโอ-สเม็คโตไทต์ (Zeo-Smectotite), ม้อนท์โมริลโลไนท์ (Montmorillonite), ไคลน็อพติโลไลท์ (Clinoptilolite) จับแอมโมเนีย, ก๊าซของเสียและสารพิษในกองหมักวัสดุเพาะเห็ด


ระหว่างการหมักอุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 50-70 องศาเซลเซีย ปัญหาเรื่องแอมโมเนียในการเพาะเห็ด จะพบเห็นบ่อยในกระบวนการหมักวัสดุเพาะหรือปุ๋ยหมัก

 

วัสดุที่นำมาหมักใช้ในการเพาะเห็ดอย่างเช่น ฟางข้าวเจ้า ฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวหอมมะลิ ฟางข้าวโอ๊ต ฟางข้าวไรน์ ฟางข้าวบาร์เลย์ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา ขี้เลื่อยยางพารา ขี้เลื่อยไม้สักพยูง ชิงชัน ทะลายปาล์ม เฟิร์น หญ้า ผักตบชวา เปลือกมันสําปะหลัง เปลือกถั่วเขียว หรือถั่วเหลือง เศษฝ้าย ไส้นุ่น ฯลฯ เมื่อนำมาผสมกับมูลสัตว์อย่าง ช้าง ม้า วัว ควาย หมู แพะ แกะ ไก่ เป็ด ฯลฯหรือจะเพิ่มเติมเสริมปุ๋ยยูเรีย 46-0-0,  ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0, หรือแคลเซียมไนเตรท 15-0-0 หรือกากน้ำตาล ชานอ้อยเพื่อเร่งกระบวนการหมักให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันหมักจนให้วัสดุเหล่านี้ค่อยๆทยอยสลายตัวโดยกระบวนการของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ จนได้ที่จะได้สารอาหารในกลุ่มลิกนิน  เพื่อนำไปเป็นอาหารให้แก่หัวเชื้อเพื่อเพาะเลี้ยงต่อไป

ซึ่งกลุ่มของวัสดุเพาะเหล่านี้โดยเฉพาะฟางข้าวจะเป็นแหล่งของเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน หลังจากผ่านกระบวนการหมักจากกลุ่มจุลินทรีย์ต่างๆจะสังเคราะห์วิตามิน เอนไซม์ กรดอมิโน โปรตีนในรูปที่เห็ดนำไปใช้งานได้ง่าย โดยเห็ดจะนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตในระหว่างเดินเส้นใยและใช้ในระยะออกดอกโดยจะใช้สารอาหารในรูปของน้ําตาลซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรทโมเลกลุเล็กๆ ในรูปของกลูโคสและฟลุคโต๊ส 


ระหว่างการหมักอุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 50-70 องศาเซลเซีย ปัญหาเรื่องแอมโมเนียในการเพาะเห็ด จะพบเห็นบ่อยในกระบวนการหมักวัสดุเพาะหรือปุ๋ยหมัก มูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกชนิดต่างๆ มีทั้งฉี่ของสัตว์และกลุ่มโปรตีนที่ย่อยสลายแตกตัวอยู่ในรูปของยูเรีย จะถูกแบคทีเรียทําปฏิกิริยา แอมโมนิฟายอิง (ammonifying) กลายเป็นแอมโมเนีย ซึ่งจะทําปฏิกริยากับ คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) และ น้ำ (H2O)ได้เป็นแอมโมเนียมคาร์บอเนต (ammonium carbonate) ที่ไม่คงรูป เมื่อมีความร้อนจะปลดปล่อยแอมโมเนียออกมา  

ดังนั้นเมื่ออยูใกล้กองปุ๋ยหมักจะได้กลิ่นของแอมโมเนีย เมื่ออุณหภูมิปุ๋ยหมักสูงถึง 70 องศาเซลเซียส หากมีการหมักต่อไป กองปุ๋ยหมักจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากปฏิกิริยาทางชีวเคมีท่ีเกิดจากกิจกรรมของแบคทีเรีย ยีสต์และราและท่ีอณุหภูมินี้เชื้อราส่วนจะตายและหยุดกิจกรรม จากนั้นอุณหภูมิภายในปุ๋ยหมักจะลดลง มักพบเห็ดราพวกเห็ดขี้ม้า หรือเห็ดนํ้าหมึกเจริญขึ้น เป็นการบ่งชี้ว่าปุ๋ยหมักนี้พร้อมต่อการนึ่งฆ่าเชื้อเพื่อนำไปเพาะเห็ดต่อไป 

นอกจากปัญหาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3-) แล้วเกษตรกรยังพบปัญหาของก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (H2S) และมีเธน (CH4) ถ้ามีปริมาณมากก็จะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์หรือกระบวนการย่อยสลาย ในอดีตจึงมีการใช้กลุ่มวัสดุปูนทั้งปูนเปลือกหอย, หินปูนบด, ปูนมาล์รและปูนขาว นำมาโรยผสมในกองปุ๋ยหมักเพื่อไล่แอมโมเนียและเพื่อเป็นสารอาหาร แต่ปูนได้แต่เพียงทำหน้าที่ไล่แอมโมเนีย แต่ไม่สามารถที่จะลดหรือดักจับก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์และมีเธนได้ จึงมีการนำกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ ซีโอ- พูมิช (Zeo-Pumice), ซีโอ-สเม็คโตไทต์ (Zeo-Smectotite), ม้อนท์โมริลโลไนท์ (Montmorillonite), ไคลน็อพติโลไลท์ (Clinoptilolite)เพื่อนำมาใช้ในการจับก๊าซของเสียเหล่านี้อีกทั้งกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟยังช่วยจับสารพิษ (Toxin Binder) ที่อาจติดปนเปื้อนมากับตอซังฟางข้าวและอินทรีย์วัตถุอ่ื่นได้อีกด้วย ช่วยให้เห็ดเจริญเติบโตปลอดภัยไร้สารพิษตกค้าง

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
 
 

 
หมายเลขบันทึก: 482926เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2012 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท