ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้ายที่เหล่าใหญ่ ; สืบค้นหารากเหง้า เผ่าพงศ์คนผู้ไท(ภูไท) ตอน 2


 

การจัดกิจกรรม"ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้ายที่เหล่าใหญ่" เกิดจากข้อเสนอแนะของ อ.ธีรภาพ โลหิตกุล ที่มีข้อเสนอกับผมว่าเนื่องในโอกาสงานมหกรรมผู้ไทนานาชาติ ที่เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ผู้ไทแต่ละพื้นที่ควรใช้โอกาสนี้จัดกิจกรรมภายในของชุมชน แสดงศักยภาพของชุมชนให้เชื่อมโยงกับความเป็นผู้ไทนานาชาติ
และ อ.ธีรภาพ  โลหิตกุล ก็สนใจที่จะเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนผู้ไทจริงๆในหมู่บ้าน  มากกว่าการแสดงในเต้นท์นิทรรศการ 

 

 

 

 

 

เมื่อคนผู้ไทตำบลเหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ทราบว่า อ.ธีรภาพ เป็นบุคคลที่ให้ความสนใจความเป็นผู้ไทในระดับนานาชาติ ชาวบ้านเหล่าใหญ่ จึงยินดีต้อนรับ อ.ธีรภาพ โลหิตกุลอย่างสุดหัวใจ

 

ตัวผมเองและชาวบ้านชาวผู้ไท ตำบลเหล่าใหญ่ กราบขอบพระคุณ อ.ธีรภาพ โลหิตกุลและทีมงานสห+ภาพ รวมทั้งทีม kalasin photo club  ที่ช่วยให้พวกเราตระหนักรู้ในตน ผ่านงานศิลปะ/ผ่านเลนส์ ได้ช่วยสร้างสรรค์วิถีชีวิตปกติในหมู่บ้านชาวผู้ไทให้กลายเป็นความงาม กลายเป็นการสร้างสรรค์งานทางศิลปะ โดย ทีมงานมืออาชีพ กลายเป็นความงดงาม  และความประทับใจร่วมกันครับ



     

ภาพโดย kalasin photo club



ที่สำคัญในบรรยากาศการร่วมกิจกรรมชุมชน ที่เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของผมครั้งนี้ ทำให้ผมเกิดการตระหนักรู้ เกิดการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการร่วมกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลจากผู้คนที่หลากหลาย ด้วยบรรยากาศ อย่างนี้ เอื้อต่อการ สืบค้นหารากเหง้า เผ่าพงศ์คนผู้ไท(ภูไท) การสืบค้นหาญาติแดนไกลในช่วงงานมหกรรมผู้ไทนานาชาติครับ

ขอบคุณทุกท่าน ขอบคุณสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นและได้สัมผัสร่วมกันครับ



   



ว่าด้วยการลงข่วงเข็นฝ้าย

คืนวันที่ 8 มี.ค. 55 ก่อนงานมหกรรมผู้ไทนานาชาติ ที่เขาวง ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 9 มี.ค. 55ก่อนการจัดงาน คุณ ปานแก้ว แสบงบาล หน.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเหล่าใหญ่ ได้ให้ข้อมูลกับผมว่า คนผู้ไทสมัยก่อน เสื้อผ้าและ เครื่องนุ่งห่ม ทุกประเภท ต้องทำเองทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การปลูกฝ้ายซึ่งจะปลูกในฤดูฝน และเก็บดอกฝ้ายในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม  หลังฤดูการเก็บเกี่ยว  ข้าวถูกเก็บที่ยุ้งฉางเรียบร้อยหรือผู้ไทเรียกข้าวขึ้นเล้า  เป็นช่วงหน้าหนาวพอดีชาวผู้ไทจะนำดอกฝ้ายที่ผึ่งแดดร้อนๆมาอิ้วเพื่อแยกเมล็ดฝ้ายออกจากดอกฝ้าย 

  

สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ข่าวเช้าสุดสัปดาห์
ได้ไปทำข่าว ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้าย ที่เหล่าใหญ่ กุฉินารายณ์ กาฬสินธุ์
ที่หลายท่านพลาดชม ทางช่อง ไทยพีบีเอส  ในวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม ส่งมาให้ชมที่นี่
กันเต็มๆ เลยครับ
(วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม มีอีกตอนหนึ่ง เวลา08.00.08.30 น. เป้นตอนผู้ไทนานาชาติที่เขาวง)

ดูได้ที่นี่


http://www.youtube.com/watch?v=wyGCP7tYIv8

ขอบคุณครับ

 

หลังจากนั้นจะนำฝ้ายไปดีดด้วยคันโต้งในกะเพด  เพื่อให้ฝ้ายพองตัว  แล้วนำไปทำ ล้อฝ้ายโดยการดึงเอาฝ้ายที่ดีดได้ที่แล้วมาคลี่ออกเป็นแผ่น  แล้วม้วนด้วยไม้ให้ใหญ่เท่านิ้วโป้ง  ยาวประมาณ6นิ้วเก็บไว้ที่ไหที่แห้งหรือถุงผ้า นำออกมาเข็นเป็นเส้นด้าย  นำไปย้อมสีและทอเป็นผ้าห่ม ผ้าขาวม้า ผ้าถุง เป็นต้น

   

 

  

ภาพโดยTeeraparb Lohitkun


การลงข่วงเข็นฝ้าย

การลงข่วงเข็ญฝ้ายของสาวผู้ไทจะลงข่วงหลังจากเสร็จจากการเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูหนาวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธุ์

โดยการทำข่วง นั้นสาวๆแต่ละคุ้มประมาณ 3-10 คนจะพากันทำข่วงโดยใช้ไม้ยกพื้นสูงประมาณ 1-2 เมตรปูพื้นด้วยไม้ไผ่สับฝากหรือแผ่นไม้  กว้างตามจำนวนผู้จะลงข่วงประมาณ 6-10 ตารางเมตรอาจเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส  จะทำกองไฟไว้ตรงกลางโดยใช้กาบกล้วยเป็นกรอบสี่เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 1 เมตรยาว ประมาณ 1 เมตรปูพื้นด้วยกาบกล้วยหลายๆชั้นกันไฟไหม้ใช้ฝืนก่อไฟให้ความร้อนและให้แสงสว่างซึ่งสาวๆจะหาตั้งแต่ตอนกลางวัน

 

 

 

ภาพโดยTeeraparb Lohitkun


บรรยากาศการลงข่วง

              

 ภาพ โดย Kalasin Photo Club

 

 

หลังรับประทานอาหารเย็น ช่วงประมาณ 1 – 6 ทุ่มหนุ่มจะมาเป็นกลุ่มๆเพื่อจีบ พูดคุย หรือหยอกล้อ กันสาวลงข่วงโดยการเป่าแคน ดีดพิณ เป่าปี่ ลำผู้ไท หรือจ่ายผญา แล้วแต่ความสามารถของแต่ละกลุ่ม บางกลุ่มหากไม่มีเครื่องดนตรีจะเคาะไม้ หรือวัสดุอื่นๆบอกให้รู้ว่ามาแล้ว   ในคืนหนึ่งๆแต่ละข่วงจะมีหนุ่มหลายๆกลุ่มมาจีบ หลังเลิกข่วงบางครั้งหนุ่มอาจตามสาวไปคุยกันต่อที่บ้านเรียกว่าอยู่ค่ำ

 

               การลงข่วงสาวๆจะเข็ญฝ้ายโดยการหันหลังใส่กองไฟเพื่อความอบอุ่นและแสงสว่าง  การเข็นฝ้ายคือการปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายด้วยหลา

 

 

 

  ภาพ โดย Kalasin Photo Club

 

ประโยชน์ของการลงข่วง

        1.  เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อเข็นฝ้ายของสาวๆ

        2.  เพื่อพบปะพูดคุยและจีบกัน หยอกล้อกันของหนุ่มสาว

        3.  ทำให้ไม่ง่วง และไม่เหนื่อย

        4.  หนุ่มสาวได้แสดงความสามารถไหวพริบปฏิภาณตอบโต้ผญากัน ได้ความรื่นเริงจากดนตรีช่วยผ่อนคลายความเครียดหลังจากกิจวัตรประจำวัน

 


 


อะไรที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรม “ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้าย”

อ.ธีรภาพ ถามผมว่า จากงาน “ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้าย”ที่เหล่า ได้สะท้อนอัตตลักษณ์ความเป็นผู้ไทยตรงไหนบ้าง  ผมตอบอาจารย์ธีรภาพ ไปว่า การฟื้นประเพณี "ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้าย" นี้เป็นการรื้อฟื้นตัวตนความเป็นคนผู้ไท รื้อฟื้นวิถีชีวิตที่เขาทำติดต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี เป็นวัฒนธรรม รื้อฟื้นคุณค่าเดิมที่เขารักและหวงแหน รื้อฟื้นกิจกรรมที่สะท้อนความสุขความมีชีวิตชีวาของคนผู้ไทในอดีต ดังนั้น วัฒนธรรมการลงข่วงเข็นฝ้ายจึงสะท้อนอัตตลักษณ์คนผู้ไทในหลายๆเรื่องได้แก่

1. การสะท้อนวิถีวัฒนธรรมการทอผ้าใช้เอง  ตั้งแต่การเพาะปลูกฝ้าย จนถึงการผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่ม ผู้ไทมีอัตตลักษณ์ที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้า ผ้าที่มีชื่อมากที่สุดคือ ผ้าไหมแพรวา ที่บ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์

2.สะท้อนวัฒนธรรมการเกี้ยวพาราสี ขอคนหนุ่มสาวจนถึงการแต่งงาน ด้วยคนผู้ไทจะมีข้อห้ามในเรื่องการแต่งงานในสายเลือดชิด หลายชั่วชั้นอายุครับ การลงข่วงทำให้มีพื้นที่สาธารณะให้คนหนุ่มสาวได้มาพบกัน

3.เชื่อมโยงสู่ การแต่งงานมีครอบครัว มีพ่อล่ามแม่ล่าม เป็นคนกลางของครอบครัวใหม่

4.สะท้อนวิถีการแต่งกายที่สวยงามมีเอกลักษณ์ อัตตลักษณ์ที่สะท้อนตัวตนความเป็นคนผู้ไท

5. ดนตรีสุนทรียะ การลงข่วงทำให้คนหนุ่มสาวมีพื้นที่แสดงออกทางทางดนตรีสุนทรียะ

6. ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง  คนผู้ไทนิยมตั้งถิ่นฐานในลักษณะที่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา(ภู) พื้นที่นาเป็นที่ลุ่ม พื้นที่เขา(ภู)ใช้เลี้ยงสัตว์ หาอาหาร หาของป่า

7. ที่พิเศษ คือ อัตตลักษณ์ทางด้านภาษาครับ ภาษาผู้ไทเป็นภาษาที่แตกต่างจากภาษาลาวหรือภาษาอิสานทั่วไป  สังเกตได้ชัดเจนว่าจะมี สระ เออ มากเลยที่เดียว  เจอ(ใจ) เพอ(ใคร) เมอ(กลับ) แมงกะเบ้อ(ผีเสื้อ)

 

 

           

 ภาพโดยAdul Tanthakosai

 

           

ภาพโดยAdul Tanthakosai

 

 

คำถาม ที่พี่น้องผู้ไทตำบลเหล่าใหญ่ ถามผมตลอดว่า  ผู้ไทที่จะมาจาก ลาว จากเวียดนาม และจีน เขาเป็นผู้ไทที่เหมือนเราไหม 

ผมตอบไปว่าคงไม่เหมือนเสียเลยที่เดียว  หากจะเหมือนเราก็คงมีแต่ผู้ไทจาก สปป.ลาว(สะหวันนะเขต)
และหากไม่เหมือนผู้ไทแบบเรา ทุกวันนี้ในเวียดนามมีผู้ไทที่คล้ายเราไหม ในจีนมีคนที่เรียกตัวเองผู้ไทไหม ถ้าหากมี มีอย่างไร มีอยู่ที่ไหน พวกเขาเป็นอยู่กันอย่างไร แล้วพวกเขาเหมือน หรือต่างกับพวกเราอย่างไร หากไม่มี หากเรามาจากที่นั่นจริง คำถามคือ ทำไมไม่มีร่องรอยผู้ไทที่นั่นเหลืออยู่


"รากเหง้าเผ่าพงศ์ ผู้ไทของเรามาจากไหนกันแน่" นั่นเป็นคำถามที่ผม และคนผู้ไทจำนวนมากต้องการหาคำตอบ ก่อนมาร่วมงานผู้ไทนานาชาติ  ในวันที่ 9 มี.ค.ครั้งนี้ครับ

 


     

หมายเลขบันทึก: 482275เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2012 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

  ขอบคุณครับIco48 ดร.ภิญโญ
อาจารย์เสกอย่างไร ก็จะได้อย่างนั้น อาจจะช้าหน่อยเท่านั้นแหละครับ

 

 

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ

เมื่อเช้า รายการข่าวเช้าสุดสัปดาห์ ไทยพีบีเอส

ได้ชมงาน นานาชาติ ภูไท เค้าพาไปกาฬสินธุ์

ด้วยความระลึกถึง เดินทางปลอดภัยนะคะ

ขอบคุณครับคุณ Ico48Poo

ได้ดูเมื่อเช้าเหมือนกัน แต่ประทับตอนเมื่อวาน "ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้ายที่เหล่าใหญ่"มากกว่า ส่วนหนึ่งด้วยมีส่วนในการจัดด้วย เลยผูกพัน

ข่าวเช้าสุดสัปดาห์ ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้าย ที่เหล่าใหญ่ กุฉินารายณ์ กาฬสินธุ์
ที่หลายท่านพลาดชม
ไทยพีบีเอสในวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม ส่งมาให้ชมกันเต็มๆ ครับ
(วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม มีอีกตอนหนึ่ง เวลา08.00.08.30 น.)
http://www.youtube.com/watch?v=wyGCP7tYIv8
ขอบคุณครับ

ชอบจังนะคะท่านอาจารย์เป็นภาพที่งดงาม กิจกรรมดีดีที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 

ขอบคุณครับคุณหมอIco48 ♥อุ้มบุญ♥

คิดว่าทางท้องถิ่นน่าจะสานต่อทำเป็นประเพณีประจำปีของตำบลครับ
ส่วนหนึ่งทีมงาน อ.ธีรภาพ มาช่วยถ่ายภาพสวยๆและมีไทยพีบีเอส มาถ่ายทำด้วย
ก็เลยทำให้คึกคัก

ข่าวเช้าสุดสัปดาห์ ผู้ไทลงข่วงเข็นฝ้าย ที่เหล่าใหญ่ กุฉินารายณ์ กาฬสินธุ์
ที่หลายท่านพลาดชม
ไทยพีบีเอสในวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม ชมกันเต็มๆ ที่นี่ครับ

http://www.youtube.com/watch?v=wyGCP7tYIv8
ขอบคุณครับ

     คุณ Ico48 วิระศักดิ์ อารมณ์สวะ
ดีเจ๋อที่ได้เจอได้รู้จักคนผู้ไท ที่สนใจเรื่องผู้ไทนำเด๋ว

ชอบการแต่งกายมากๆ  แวะมาลอกเลียนแบบการแต่งกาย  ดีใจมากที่พบ  และ มีแบบนี้  พอแต่งเสร็จแล้ว  จะถ่ายภาพมาให้ท่านชมนะคะ  ว่า ครูอ้อยเป็น ชาวภูไท ได้ไหม


ดีเจอละได้เมอ เมืองเว เรณูนครอีเท้อ ในวันที่ 11 เม.ย. นี้ครับ

 

 

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณที่นำเรื่องราวมาให้ติดตาม
  • เคยได้อ่านแต่ประวัติผู้ไทที่ท่าน ถวิล เกษรราช เคยรวบรวมไว้นานแล้ว
  • ดีใจที่ท่านจะได้รวบรวมเขียนขึ้นอีกจะรออ่านค่ะ

อาจารย์ครับ รับผมเป็นเพื่อนในเฟส ด้วยครับ ชื่อ
wirasak aromsawa

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท