หมออนามัย โรคติดต่อ


หมออนามัย โรคติดต่อ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข

 

โรคติดต่อ คือ โรคที่สามารถถ่ายทอดติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลลินทรีย์ ต่างๆเป็นสาเหตุของโรค ได้แก่วัณโรค กามโรค โรคเรื้อน อหิวาตกโรค โรคเอดส์ เป็นต้น แม้ว่าตัวเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุ แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบุคคลก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุกมีความชื้นสูงเป็นผลให้เชื้อโรคชนิดต่างๆตลอดจนแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้เร็ว ทำให้มีโรคติดต่อต่างๆชุกชุมและบางโรคก็พบบ่อยกว่าประเทศที่มีอากาศหนาว โรคที่พบบ่อยในแถบเขตร้อนนี้ รวมเรียกว่า โรคเขตร้อน ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อได้มากมายหลายชนิด นับตั้งแต่เชื้อไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมากลงไปจนถึงสัตว์เซลล์เดียว และหนอนพยาธิต่างๆ

จุลลินทรีย์ หรือจุลชีพ คือสิ่งที่มีชีวิตเล็กๆ ที่เราไม่สามารถมองเห็น ได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายเป็นพันเท่าหรือหมื่นเท่า จึงจะมองเห็นได้ ในบรรยากาศที่ล้อมรอบตัวเรา ในดิน ในน้ำ ในอาหาร บนผิวกาย หรือในร่างกายของคนเรา จะสามารถตรวจพบจุลลินทรีย์ต่างๆได้มายมากหลายชนิด จุลลินทรีย์บางชนิด มีชีวิตอยู่โดยไม่ทำอันตรายต่อคนหรือสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น บางชนิดมีประโยชน์ช่วยสังเคราะห์สารต่างๆให้ประโยชน์ในทางกสิกรรมและอุตสาหกรรม แต่บางชนิดก่อโรคให้กับคน สัตว์และพืช จุลลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคนี้เรียกว่า เชื้อโรค นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยอีกมากมาย ที่ยังไม่ถึงชั้นจะเป็นโรค มักเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโรคดังกล่าว(โรคชนิดหนึ่งๆมักปรากฏหลายๆอาการ) เช่นอาการปวด อาการคลื่นไส้ อาการอาเจียน อาการท้องเสีย อาการท้องผูก อาการไอ อาการหอบ อากานอนไม่หลับ

ในปัจจุบันเราทราบแน่ชัดแล้วว่า การปรากฏอาการหรือโรคต่อร่างกาย จิตใจมีส่วนสัมพันธ์กัน เช่นความเครียดทางจิตใจ เป็นปัจจัยร่วมของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคภัยไข้เจ็บมีมากมาย หลักการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง จึงควรเน้นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เป็นส่วนสำคัญ โดยจะต้องศึกษาลักษณะของโรคและสาเหตุของการเกิดโรคเหล่านี้ด้วย และประพฤติปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดโรค ซึ่งในรายละเอียดจะต้องคำนึงถึงความสมดุลของธรรมชาติ ไม่ควรมีพฤติกรรมที่ประมาทหรือเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บแล้วหวังผล การรักษาที่ปลายเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดที่เชื้อว่ายา ที่จะแก้ปัญหาสุขภาพได้ทุกกรณี เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะในขณะเดียวกัน ยาก็มีพิษภัยที่ก่อปัญหาได้เช่นเดียวกัน ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆคน แม้ว่าจะได้ดูแลป้องกันอย่างดีแล้ว เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถกำหนดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปได้ดังใจนึกในในทุกขณะหากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมา การแก้ปัญหาก็ยังต้องอาศัยแนวคิดในเรื่องของธรรมชาติเป็นกุญแจสำคัญ การพิจารณาไตร่ตรองถึงสาเหตุของปัญหาและแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาต่อการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆโดยการใช้ยา มีอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆมากมาย ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรือพูดได้ว่า การใช้ยาบำบัดหรือบรรเทาอาการนั้นๆเป็นประจำเป็นสิ่งที่ผิด อันที่จริงแล้ว อาการเจ็บป่วยหลายๆอาการเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงผลการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของร่างกาย สะท้อนให้ร่างกายได้รู้สึกว่ามีการเสียสมดุลเกิดขึ้น เพื่อเตือนให้ร่างกายปรับวิถีการดำรงชีวิตที่ผิดนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม อันจะทำให้เกิดการคืนสมดุลของร่างกาย ส่งผมให้ร่างกายมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างปกติสุข การใช้ยาแก้ปัญหาอาการโรคที่ไม่จำเป็น จะทำให้เกิดการละเลยต่อการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดผลเสียมากขึ้นในที่สุดหรือในบางกรณีจะส่งผลเสียในระยะยาวได้

ใน พ.ศ. 2523 ได้ยกเลิกกฎหมายทั้ง 5 ฉบับและประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 ได้มีประกาศรัฐมนตรี เรื่องโรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ เรียงตามลำดับดังนี้

  1. โรคติดต่ออันตราย มีอยู่ 4 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง และกาฬโรค
  2. โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2524 มีอยู่ 44 โรค คือ 1)อหิวาตกโรค 2)กาฬโรค 3)ไข้ทรพิษ 4)ไข้เหลือง 5)ไข้กาฬหลังแอ่น 6)คอตีบ 7)ไอกรน 8)โรคบาดทะยัก 9)โปลิโอ ไข้หัด ไข้หัดเยอรมัน โรคคางทูม ไข้อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไข้เลือดออก โรคพิษสุนัขบ้า โรคตับอักเสบ โรคตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ โรคบิดบะซิลลารี (bacillary dysentery) โรคบิดอะมีบ้า(amoebic dysentery) ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดเทียม ไข้รากสาดใหญ่  สครับไทฟัส(scub typhus) มูรีนไทฟัส(murine typhus) วัณโรค โรคเรื้อน ไข้จับสั่น แอนแทร็กซ์ (antrax)      โรคทริคิโนซิน(trichinosis) โรคคุดทะราด โรคเล็พโทสไปโรซีส ซิฟิซิส หนองใน หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน  แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ โรคไข้กลับซ้ำ โรคอุจจาระร่วง โรคแผลเรื้อรัง และโรคเท้าช้าง

3. โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ มีอยู่ 15 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง คอตีบ บาดทะยักในเด็กเกิดใหม่ โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า ไข้รากสากใหญ่ แอนแทร็กซ์ โรคทริโคโนซิส ไข้กาฬหลังแอ่น โรคคุดทะราดระยะติดต่อ โรคเอดส์(AIDS)หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม

ดังนั้นจะเห็นว่า ประเทศไทยมีโรคติดต่อหลายชนิด ในปัจจุบันโรคติดต่อที่เป็นอันตรายร้ายแรงบางชนิด ได้ถูกควบคุมและกำจัดให้สูญสิ้นไปไปแล้ว เช่น ไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคอีกเลย นับตั้งแต่พ.ศ.2495 และไข้ทรพิษก็ไม่พบอีกเลยในประเทศไทยหลังจาก พ.ศ.2504 (ไข้ทรพิษถูกกำจัดให้หมดไปจากทุกประเทศในโลกตั้งแต่ พ.ศ.2521) โรคติดต่อบางชนิดแม้ว่าคงมีอยู่บ้างก็ได้ลงความรุนแรงลงไป เช่นอหิวาตกโรค อย่างไรก็ตาม โรคติดต่อหลายชนิดยังคงปรากฏอยู่รวมทั้งโรคติดต่อบางชนิดที่พบใหม่ ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้วโรคติดต่อและโรคเขตร้อนยังคงเป็นปัญหาต่อการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศอยู่ต่อไป

 

โรคติดต่อในปัจจุบันที่สมควรกล่าวให้ทราบดังนี้

  1. อหิวาตกโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ระยะฟักตัว 2-3 วัน ลักษณะอาการ ท้องเดินและอาเจียนอุจจาระมีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว การติดต่อ โดยการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรค การป้องกัน โดยการฉีดวัคซีน การรักษาความสะอาดของมือ และรับประทานอาหารที่สะอาด
  2. ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส ระยะฟักตัว 24-48 ชั่วโมง ลักษณะอาการ ไข้สูงมาก อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร มีหวัด น้ำมูกไหล เจ็บคอไอแห้ง การติดต่อ ทางการหายใจ การป้องกัน เมื่อมีการระบาด จะต้องรักษาสุขภาพอนามัยให้สมบูรณ์
  3. โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัส ระยะฟักตัว 1 เดือนถึง 1 ปี ลักษณะอาการ มีไข้ต่ำ เจ็บคอ เบื่ออาหาร คันบริเวณที่ถูกสัตว์กัด ต่อมาจะกลืนอาหารไม่ลง เอะอะโววาย ชัก อัมพาต การติดต่อ ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด หรือข่วน เลียที่แผลหรือรอยถลอก การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกัน
  4. ไข้ไทฟอยด์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ระยะฟักตัว 1-2 สัปดาห์ ลักษณะอาการ มีไข้และไข้สูงขึ้นที่ละน้อย ภายใน 3 สัปดาห์ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ท้องอืด การติดต่อ พบเชื้อมากในอุจจาระ การป้องกัน รับประทานอาหารและน้ำที่สะอาด ฉีดวัคซีน
  5. โรคคางทูม เกิดจากเชื้อไวรัส ระยะฟักตัว ประมาณ 2 สัปดาห์ ลักษณะอาการ มีอาการไข้ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีความรู้สึกคล้ายปวดหู การติดต่อ หายใจเอาเชื้อเข้าร่างกาย การป้องกัน ฉีดวัคซีน
  6. โรคเอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัส ระยะฟักตัว ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีเชื้อโรคอื่นๆฉวยโอกาสเมื่อร่างกายของผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง การติดต่อ ส่วนใหญ่ติดต่อกันโดยการร่วมเพศ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การป้องกัน หลีกเลี่ยงการสำส่อนทางเพศ ไม่ใช้เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว
  7. โรคเชื้อรา เชื้อราสามารถทำให้เกิดโรคได้ 3 วิธีคือ

-          โดยการสร้างสารพิษ

-          โดยการก่อให้เกิดภูมิแพ้

-          โดยการผ่านเข้าทางผิวหนัง

 8.โรคจากสัตว์เซลล์เดียว เช่นบิด โรคมาลาเรีย

 

คำสำคัญ (Tags): #โรคติดต่อ
หมายเลขบันทึก: 482273เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2012 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท