๒๕๓.การบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ๑.


การจัดการกว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

๑.

การจัดการกว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

     ๑.๑.ข้อเสนอระดับพื้นที่

  1. จัดการน้ำเสียที่ไหลลงกว๊านพะเยาทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกอย่างจริงจัง

  2. กำจัดวัชพืชและผักตบชวา ควรบูรณาการร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับภาครัฐ โดยรัฐเป็นฝ่ายจัดสรรงบประมาณให้แต่ละตำบล อปท. จัดการผักตบชวา วัชพืชในเขตพื้นที่โดยการจ้าง หรือรับซื้อผักตบชวาจากชาวบ้านหรือให้ชาวบ้านร่วมมือกันในวันหรือวาระโอกาสพิเศษ

  3. การกำจัดวัชพืช ผักตบชวา ต้องดูทิศทางลม ควรกำจัดตอนต้นปีในฤดูแล้งเพราะน้ำจะมีปริมาณน้อย อย่างไรก็ตามในการกำจัดผักตบชวา จะต้องมีการพิจารณาเพราะยังมีประโยชน์และยังเป็นสิ่งสร้างความสมดุลของกว๊านพะเยา เช่น ดักตะกอน ดูดซับสารเคมี เป็นแหล่งอาหาร วางไข่ของปลาและสัตว์น้ำ

  4. อนุรักษ์และกันเขตผักตบชวา(zoning) โดยกั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เป็นแปลงผักตบชวาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจักสานของชาวบ้านและนำวัชพืชออก

  5. ปลูกพืชน้ำ เช่น ต้นไคร้ ดอกป้าน ดอกบัว ที่สามารถเป็นอาหาร และเป็นที่อยู่อาศัย ที่วางไข่ของปลาทั้งในกว๊านพะเยาและลำน้ำอิง รวมทั้งปลูกต้นไม้ท้องถิ่นรอบๆ กว๊านพะเยาทั้งสองฝั่ง

  6. ให้เกิดสภาพัฒนากว๊านพะเยาระดับตำบล มีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลกว๊านพะเยาในระดับท้องถิ่น จัดทำแผนการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กทั้งระบบ(ดิน น้ำ ป่า ปลา) เพื่อนำมากำหนดทิศทางการพัฒนากว๊านพะเยาเสนอต่อ อปท. และภาครัฐ

 

     ๑.๒.ข้อเสนอระดับจังหวัด/ภาค

  1. จัดตั้งสมัชชาพัฒนากว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิง ที่มาจากทุกองค์กรภาคส่วนในจังหวัดพะเยา องค์ประกอบของสมัชชาพัฒนากว๊านพะเยา ให้มีคณะกรรมการของภาคประชาชนที่มาจากทุกฝ่ายและในสัดส่วนที่เท่าเทียมกันกับภาครัฐ

  2. จัดทำธรรมนูญกว๊านพะเยา ที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการกว๊านพะเยา ซึ่งจะเป็นการจัดทำนโยบายสาธารณะในการพัฒนากว๊านพะเยา-ของคนพะเยา-โดยคนพะเยา

  3. สร้างแกนนำและเครือข่ายเยาวชนในลุ่มน้ำอิง หรือรอบกว๊านพะเยาให้ความปลูกจิตสำนึกการรักกว๊านให้กับเยวชน การมีส่วนร่วมในการพัฒนากว๊านของกลุ่มเยาวชน รวมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เด็กเยาวชน ประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับกว๊านพะเยา โดยการรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น วิ่งมาราธอนรอบกว๊านพะเยา

  4. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ลำน้ำอิงและกว๊านพะเยา ฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เช่น สนับสนุนให้เกิดการจัดการร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชาวบ้าน เกี่ยวกับการจัดการน้ำ เช่น กลุ่มท้ายน้ำกว๊านพะเยา และกลุ่มป่าต้นน้ำกว๊านพะเยา

  5. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการถือครองที่ดินรอบกว๊านพะเยาที่มาจากผู้ว่าราชการจังหวัด ประมง ราชพัสดุ ที่ดิน โยธาธิการ และผังเมือง ทำหน้าที่พิสูจน์สิทธิการถือครองที่ดินโดยร่วมกับที่ดินจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่(พยานบุคคล) รวมทั้งใช้แผนที่เดิมในการชี้วัดเขตแดน

  6. คัดเลือกข้อมูลศึกษาวิจัยที่มีประโยชน์มาให้ชุมชน หรือผู้สนใจได้นำความรู้ไปใช้ในการจัดการกว๊านพะเยาโดยให้มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเจ้าภาพหลักรับผิดชอบในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดของภาคประชาชน

    

     ๑.๓.ข้อเสนอระดับนโยบาย

        ทบทวนกฏหมายในการจัดการกว๊านพะเยา ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและความต้องการของประชาชน

 

     แนวทางการเสนอทั้ง ๓ ระดับ สามารถสรุปได้ ดังนี้

     ๑)ข้อเสนอในระดับพื้นที่ มี ๒ ประเด็นคือกำจัดน้ำเน่าเสียและวัชพืชที่มีมากเกินไป  ส่วนสิ่งที่ควรปลูกเพิ่มคือการปลูกพืชน้ำเสริมและการตั้งสภาพัฒนากว๊านพะเยาในระดับตำบล

     ๒)ข้อเสนอในระดับจังหวัด/ภาค มี ๕ ประเด็นคือ การตั้งสมัชชาพัฒนากว๊าน, การตั้งธรรมนูญกว๊าน, การสร้างแกนนำและเครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำอิง, การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการถือครองที่ดิน และการคัดเลือกข้อมูลการศึกษาวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน

     ๓)ข้อเสนอในระดับนโยบาย มีเพียงประเด็นเดียวคือ การทบทวนการจัดการกว๊าน

 

หมายเลขบันทึก: 481536เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2012 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท