กิจกรรมบำบัดกับโรคเกาต์(Gout)


โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ผิดปกติทางพันธุกรรม รักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ โรคนี้เพิ่มความลำบาก และอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหว ทำให้ความสามารถในการทำำกิจวัตรประจำวันลดลง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์

โรคเกาต์(Gout)

เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เกิดจากร่างกายมีกรดยูริก (Uric acid) สะสมมากเกินไป, การตกตะกอนของกรดยูริก รวมไปถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม สาเหตุที่มีการสะสมของกรดยูริก (uric acid) เกิดจากการสร้างกรดออกมาในร่างกายมากเกินไป และร่างกายไม่สามารถขับกรดออกจากร่างกายได้ หรือ ที่ได้จากการย่อยสลายของสาร เพียวริน (Purine) ที่มีมากในเนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ และผักยอดอ่อน ทำให้เกิดสารยูริกสูงในเลือด และจะสะสมในข้อ

พบในชายอายุ 30 ขึ้นไป     พบในหญิงเล็กน้อยหรือหลังหมดประจำเดือน รักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้  เช่น การเกิดโรคนิ่วที่ไต

อาการ

  • อาการข้ออักเสบมักกำเริบด้วยระดับกรดยูริกในเลือดที่เปลี่ยนแปลงทันทีทันใด   คือ ระดับสูงขึ้นหรือลดลงฉับพลัน     มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว ข้อจะบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง ร้อนและแดงและจะพบลักษณะจำเพาะ คือ ขณะที่อาการเริ่มทุเลาผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคัน

โรคที่มักพบร่วมกับเกาต์

  • ข้อพิการ  กระดูกพรุน
  • ภาวะไตอักเสบเรื้อรัง และภาวะไตวาย
  • เป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • หลอดเลือดแดงแข็ง
  • ไขมันในเลือดสูง

                                              

 การแยกโรค   อาการข้ออักเสบ มีอาการปวด บวม แดง ร้อนเพียง 1-2 ข้อ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น

 -เกาต์เทียม (pseudo gout)

 -ไข้รูมาติก (rheumatic fever)                               

 -โรคติดเชื้อที่ข้อ (pyogenic arthritis)

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องทันกาล

เมื่อเป็นโรคเกาต์ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?

ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
หยุด พักการใช้ข้อระยะที่มีการอักเสบ
รับ ประทานอาหารโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ
ดื่มน้ำมากๆ 2-3 ลิตรต่อวัน
หลีกเลี่ยงอากาศที่เย็นจัด
ลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคเกาต์ที่อ้วน
เมื่อมีอาการหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
ดำเนินชีวิตอย่าให้เคร่งเครียดมากนัก

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดกับโรคเกาต์ 
- ประเมินข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตประจำวัน คุณภาพชีวิต และความสามารถในชีวิต

-วางแผนการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด (Domain & Process, ICF)

- ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ หรือเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย 
- มีการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเพื่อป้องกันข้อติด
-ดูความต้องการคุณภาพชีวิตที่ดี และประยุกต์ให้สอดคล้อง

หมายเลขบันทึก: 481531เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2012 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท