๒๕๒.พัฒนาการขบวนการขับเคลื่อนพลังของภาคประชาสังคมพะเยา


ประเด็นดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นว่า การรวมกลุ่มกันทำให้ชุมชนเข้มแข็ง การทำงานเป็นทีมทำให้สังคมมีพลัง และที่สำคัญคือการรอรับจากนโยบายภาครัฐอย่างเดียว ได้ผลไม่คุ้มค่า ด้วยประการที่หนึ่ง นโยบายนั้น ไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน ประการที่สอง นโยบายนั้น เป็นนโยบายที่ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

 

    หลังจากนั้น คุณสุภาพร-คุณวิชิต  ถิ่นวัฒนากูล จากมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ได้ให้ตัวแทนแต่ละเครือข่าย ๗ ภาคี มาเล่าประสบการณ์ตรง เพื่อสรุปบทเรียนให้กับผู้เข้าร่วมงาน จาก ๖๘ ตำบล ๗๑ พื้นที่ กว่า ๖๐๐ คนฟังถึงแนวทาง ปัญหา และแนวทางแก้ไข ไล่เลียงจาก

     ๑.ประเด็นเรื่อง "การบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ(ลุ่มน้ำอิงและลุ่มน้ำยม) มี ๔ ประเด็นย่อย ดังนี้ การจัดการกว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน, การจัดการป่าชุมชน, การจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็ก, การจัดการที่ดินโดยชุมชน

     ๒.ประเด็นเรื่อง "การพัฒนาศักยภาพของสวัสดิการชุมชนส่ความมั่นคงของชีวิตคนพะเยา"

     ๓.ประเด็นเรื่อง "การจัดการคุณภาพชีวิต ซึ่งมี ๗ ประเด็นย่อย ดังนี้ สถาบันครองครัว, สุขภาพ, การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ, การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย, การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ, การศึกษา, สื่อ"

     ๔.ประเด็นเรื่อง "สิทธิชุมชน สถานภาพบุคคลและสัญชาติ"

     ๕.ประเด็นเรื่อง "เกษตรปลอดภัยและระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานพะเยา"

     ๖.ประเด็นเรื่อง "การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน"

     ๗.ประเด็นเรื่อง "สภาองค์กรชุมชน ประชาธิปไตยชุมชน"

    ในแต่ละประเด็น มีความน่าสนใจอยู่ในตัว โดยมีการสรุปข้อเสนอของคนพะเยาออกเป็นหลายระดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความละเมียดละไมในการจัดทำเวที ซึ่งมากกว่า ๑๐ ครั้ง

     ผ่านการถกเถียง ผ่านการแสดงความคิดเห็นกันมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง หลายคนยังมีชีวิตอยู่ หลายคนลาโลกไปแล้ว และอีกหลายคนเข้าร่วมเวทีไม่ไหว แสดงให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันได้ผ่านร้อน ผ่านหนาวมามากพอสมควร กว่าจะได้ตกผลึกทางความคิด

     แต่ที่นำเสนอเป็นเอกสารมานั้น ได้แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คล้าย ๆ วงกลม ๓ วง จากวงกลมเล็ก ๆ ในประเด็นของตนเอง สู่วงกลมขนาดที่ใหญ่ขึ้นในระดับจังหวัด และกลายเป็นวงกลมแห่งนโยบาย ๓ ระดับคือ

     ๑.ข้อเสนอให้ปฏิบัติในระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้ตัวของประชาชนแต่ละพื้นที่มากที่สุด ทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตดั่งเดิมของชาวบ้านได้อย่างดียิ่งผ่านตัวอักษรที่ปรากฏให้เห็น

       ๒.ข้อเสนอให้ปฏิบัติในระดับจังหวัด/ภาค หมายความว่า ข้อเสนอนั้น ๆ ได้ยก ขึ้นสู่วาระหรือนโยบายของจังหวัดหรือภาคนั้น ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

     ประเด็นดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นว่า การรวมกลุ่มกันทำให้ชุมชนเข้มแข็ง การทำงานเป็นทีมทำให้สังคมมีพลัง และที่สำคัญคือการรอรับจากนโยบายภาครัฐอย่างเดียว ได้ผลไม่คุ้มค่า ด้วยประการที่หนึ่ง นโยบายนั้น ไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน ประการที่สอง นโยบายนั้น เป็นนโยบายที่ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

       ๓.ข้อเสนอในระดับนโยบาย ซึ่งก็คือความต้องการเหล่านั้นได้นำไปบรรจุไว้เป็นนโยบายของจังหวัดและรัฐบาลไปเลย ซึ่งประเด็นนี้เอง ทำให้เห็นว่าการทำงานที่จะให้ได้ตามที่ต้องการและมีความยั่งยืน ต้องให้ไปถึงระดับนโยบาย

     อันเนื่องมาจาก ข้าราชการส่วนภูมิภาคทั้งระดับอำเภอ จังหวัด หรือรัฐบาลที่ดูแลอยู่ ไป ๆ มา ๆ ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง แต่ความเป็นนโยบาย ทำให้สิ่งต่าง ๆ มันเสถียรขึ้น หรือมั่นคงขึ้นนั้นเอง

      ประเด็นทั้ง ๗ นั้น ผู้เขียนจะได้ทะยอยนำเสนอเป็นบท ๆ ต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 481533เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2012 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท