คุณลักษณะของครูที่สอนน้อยเพื่อให้เด็กเรียนมาก


คุณลักษณะของครูที่สอนน้อยเพื่อให้เด็กเรียนมาก คือ ยิ้มแย้ม แจ่มใส ใจดี มีอารมณ์สนุก

    ช่วงที่ผมได้ออกไปพบกับคุณครูเพื่อสังเกตการเรียนการสอนในห้องเรียน  ตามโครงการ Lesson study  พบคุณครูหลายท่าน ที่น่าประทับใจครับ   คือ เป็น คุณครูที่สอนน้อย  เพื่อให้เด็กเรียนมาก    สอนน้อยในทีนี่ ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กเรียนกันเอง  โดยครูนั่งเฉยๆ นะครับ   แต่สอนน้อย  โดยครูเตรียมสื่อ เตรียมอุปกรณ์ เตรียมกิจกรรม ไว้มากมาย  ให้นัก้รียนได้เรียนรู้เอง จากการทำกิจกรรม  คือ ให้เรียนเองมากๆ ครูสอนน้อยๆ


     คุณลักษณะของครูที่ยึดการเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญ  สอนน้อย   เรียนมาก ผมพบคุณลักษณะร่วมกันของคุณครูหลายท่าน  ดังนี้  ครับ


      ๑.  หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส   เป็นหน้าตาของคุณครูที่มีความสุขครับ  เวลาเจอหน้า ก็จะยิ้มและทักทายด้วยแววตาที่แจ่มใส


      ๒.  เวลาสอนหนังสือจะใจดีครับ  พูดกับเด็กด้วยน้ำเสียงนิ่มๆ เบาๆ  ไม่ต้องพูดมาก    พูดประเด็นที่สำคัญ    เด็กคนไหนไม่เข้าใจ จะกล้าถาม   เวลาครูถาม จะกล้าตอบ  เด็กอ่อนก็กล้าตอบ


      ๓.  มีอารมณ์สนุก  เวลาสอนหนังสือ จะกระตือรือร้น  พูดคุยเป็นกันเองกับเด็ก  มีการแซวเด็ก   เด็ก เคลื่อนไหว พูดคุย  เป็นอิสระ  เดินดูเด็กทำงานอย่างทั่วถึง


      ครับ ครูที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ   ก็จะมีลักษณะดังกล่าวครับ


      ขณะที่ คุณครูที่ยึดการสอนเป็นสำคัญ  ยึดตัวครูเป็นสำคัญ   ก็จะมีลักษณะอีกแบบครับ   เพียงแค่ทักทายพูดคุยกันนอกห้องเรียน  ก็พอจะมองออกแล้วละครับ ว่าเป็นครูแบบ Teacher centered  พอเข้าไปสังเกตการสอนจริง  ก็ตรงตามที่คาดไว้  นั่นคือ  เน้นการสอน  ไม่เน้นการเรียน   แล้วคุณครูในลักษณะหลังนี่ ค่อนข้าง "ปกป้อง" ตัวเองสูงครับ  จะไปพูดอะไร  หรือไปแตะต้องอะไรมาก  ก็จะไม่เหมาะครับ คงต้องใช้เวลา


     ส่วนคุณครูที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ยึดการเรียนของนักเรียนเป็นสำคัญ   คุณครูเหล่านี้  จะใจกว้าง ครับ  พร้อมที่จะรับคำชี้แนะ  พร้อมจะรับคำแนะนำ   แถมยังบอกอีกว่า   "เต็มที่"  ไม่ต้องเกรงใจ

     

หมายเลขบันทึก: 481272เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2012 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

มาเรียนรู้และตรวจสอบคุณลักษณะของครูที่สอนน้อยให้นักเรียนเรียนมาก....บางข้อครูนกเองก็ต้องปรับค่ะ

 

เห็นด้วยค่ะ...ในเรื่อง

      ๑.  หน้าตายิ้ม+แย้ม+แจ่มใส   ==> บอกบุคลิก.....ความดี+ความงามค่ะ

      ๒.  ใจดี + น้ำเสียงนิ่มๆ เบาๆ  ==>  จะกล้าตอบ  เด็กอ่อนก็กล้าตอบ

      ๓.  อารมณ์สนุก  ==> เป็นเสน่ห์...ค่ะ


ครูนกครับ

    ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้   พร้อมกับนำเสนอมาว่าตัวเองต้องปรับบางข้อ   สิ่งนี้  คือ ความใจกว้างของครู Child centered ครับ   พร้อมที่จะปรับตัวเองเพื่อเด็ก

                           

 

 

อ.Somsri ครับ  ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมเติมเต็ม

สวัสดีค่ะ

           ครูสอนน้อย แต่ก็เหนื่อยนะคะ กับการเตรียมงาน

                                  ขอบคุณค่ะ

                                           

ครูที่ดุด่า ด้วยความเมตตา ก็มากนะครับ แถมใจกว้างด้วย นะ

กว่าศิษย์จะรู้ก็โน่นแหละ อายุปาเข้าไปสี่สิบ ...ครูตายไปแล้ว..ไปกราบศพไม่ทัน หึหึ

เรื่องเมตตานี้เป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดของครูไทย ที่เราสอนฝรั่งได้ ใช่แต่ว่าเราจะไปสมาทาน student centered มาจากฝรั่งเสมอไป เพราะระบบนี้เป็นการเรียนแบบ "ควายเซ็นเตอร์" ที่ผมไม่เห็นด้วยนักในวิธีการ แต่หลักการก็ โอ อยู่หรอกแต่มันนำสู่การปฏิบัติได้ยากมาก ในบริบทเศรษฐสังคมปัจจุบัน ...ผมเขียนเรื่องควายเซ็นเตอร์ไว้มาก หากท่านสนใจ ลองไปค้นดูครับ

KRUDALA ครับ

    ครูสอนน้อยนี่  จริงๆแล้ว "เหนื่อย" กว่าครูสอนมากนะครับ

    ดูจากภาพกิจกรรมแล้ว  "เด็กเรียนมาก  ครูสอนน้อย" ครับ  เยี่ยมมากเลยครับ

                     ขอบคุณครับ

คุณคนถางทางครับ

    ขอบคุณมากนะครับ  สำหรับอีกมุมมองหนึ่ง  เป็นมุมมองที่น่าสนใจนะครับ

    สำหรับความคิดเห็นของผมเอง (อาจจะผิดก็ได้นะครับ)  ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า

    ๑. ผมว่าที่ว่า "ปากร้ายใจดี หรือ ด่าด้วยเมตตา"  ตรงนี้  ผมมีความคิดว่า  ถ้า ใจดี  ก็น่าที่จะต้องพูดออกมาดีๆ  หรือ มีเมตตา ก็ต้องพูดออกมาด้วยเมตตา ครับ    การที่ปากร้าย หรือ การดุด่า เด็ก  ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาเด็กเลยครับ  ทำให้เด็กกลัว  ร๔้สึกไม่ปลอดภัย   ไม่กล้าแสดงออก   และถ้าเอาทฤษฎีสมองมาจับ   เมื่อถูกครูดุด่า สมองที่ทำงาน คือ สมองปกป้องตัวเอง   เมื่อสมองปกป้องตัวเองทำงาน  สมองที่เรียนรู้จะไม่ทำงานครับ  ผมว่ายังไวละก็ คุณครูแทนที่จะดุด่า  ให้พูดจากันดีๆ ด้วยเหตุผลดีกว่านะครับ

    ๒. Student centered ตามหลักการจริงๆ ไม่ใช่ ควายเซ็นเตอร์ ครับ  ที่เป็นควายเซ็นเตอร์  เพราะ ไม่ได้จัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้   นำแต่รูปแบบมาใช้อย่างผิดๆ  ประมาณว่า ให้เด็กเรียนกันเอง ศึกษากันเอง ทำรายงานมาส่ง  แล้วก็ให้คะแนน  อย่างนี้  ไม่ใช้ Student centered  ครับ

      เทียบ Student centered กับหลักพุทธ  ก็จะเทียบได้กับ  ครูเป็นกัลยาณมิตร  เพื่อให้ศิษย์  เรียนและคิด  ด้วย  โยนิโสมนสิการ

     student centered   นำมาใช้ได้ในสภาพสังคมปัจจุบันครับ  และยิ่งต้องใช้มากๆ ด้วย

      ถ้าไม่ใช้ Student centered  แล้วใช้แบบใดจะดีกว่าครับ

ครูสอนน้อย แต่เด็กเรียนมาก

เป็นจุดเด่นของโรงเรียนเล็ก จริงๆ

ผมเชื่อ..เด็กเรียนอย่างไร

ดูได้ที่ครู ครับ

แต่ท่านครับ มีเหมือนกัน ครับ

ครูสอนน้อย น้อย น้อย และ น้อย

เพราะโครงสร้างเปลี่ยน เขต อยู่ไกล ขาดการนิเทศติดตาม

ของหน่วยงานต้นสังกัด สอนใคร สอนมัน ว่ากันไป

ไม่ทันไร ก็ปิดเทอมเสียแล้ว นับวัน จะสอนได้น้อยจริงๆ (ขำขำ)

เห็นภาพคุณครูชัดเจนมากเลยครับ ท่านรองฯ

สอนน้อยในทีนี่ ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กเรียนกันเอง โดยครูนั่งเฉยๆ นะครับ

แต่สอนน้อย โดยครูเตรียมสื่อ เตรียมอุปกรณ์ เตรียมกิจกรรม ไว้มากมาย

ต่รูปแบบมาใช้อย่างผิดๆ ประมาณว่า ให้เด็กเรียนกันเอง ศึกษากันเอง ทำรายงานมาส่ง แล้วก็ให้คะแนน

อย่างนี้ ไม่ใช้ Student centered ครับ

...

อาจารย์เขียนได้เห็นภาพชัดเจน อย่างที่ อ.ขจิตว่าเลยค่ะ

...

เห็นด้วยว่า ปัญหาอยู่ที่การปฎิบัติ ไม่ใช่หลักการ

จึงเป็นสิ่งที่ครูอาจารย์ปรับตัว เรียนรู้ได้ หากเปิดใจ

ครั้งหนึ่ง ตอนเริ่มมีการให้วัคซีนฝีดาษ

ก็มีปัญหาสารพัด จากการใช้ไม่ถูกหลัก

หากหยุดที่ว่า ปลูกฝีมันปัญหาเยอะ รักษาแบบเดิมดีที่เชื่อต่อๆ กันมาก็แล้ว

เราก็คงยังมีไข้ทรพิษ มาจนทุกวันนี้ค่ะ

สวัสดีครับ ท่านรองฯ วิชชา

"สอนน้อย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข"

ศิลปะชั้นเลิศของครู..ในการสร้างโลกด้วยการสร้างศิษย์

..ของคุณครูเพื่อศิษย์ครับ ท่านรองฯ

ขอบคุณครับ

Ico48ท่าน ผอ.ครับ

    โรงเรียนที่ครูไม่ค่อยสอนหนังสือ  น่าเห็นใจเด็กครับ  ที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน แทบไม่ได้อะไรกลับไปเลย   ผู้ปกครองบางคนที่ทนไม่ไหว  จำเป็นต้องย้ายลูกไปเรียนในเมืองครับ

     บางทีเราก็มองข้ามเรื่องนี้ไปครับ   น่าเห็นใจเด็กมาก มาแล้วไม่ได้เรียน

Ico48อ.ขจิตครับ

      ผมก็ได้เรียนรู้มาจากอาจารย์นี่แหละครับ ขอบคุณครับ

Ico48อาจารย์ หมอ ป. ครับ

     อาจารย์ยกกรณีตัวอย่างเรื่องวัคซีนฝีดาษ   เห็นภาพได้ชัดเจนเลยครับ

       เทียบเคียงกับ Child centerted  ได้เป็นอย่างดีครับ

                     ขอบคุณอาจารย์มากครับ

ผมมี 1 ตัวอย่าง.. การสอนที่น่าประทับใจของครูเรฟ... มาให้ดู...

เมื่อ 2-3 ปีก่อน กลุ่มครูหนุ่มสาวจากโรงเรียนในการกำกับของรัญ(charter school) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการแห่งหนึ่งมาใช้เวลาทั้ง วันที่ห้อง 56 ครูเหล่านี้ยอดเยี่ยมมากพวกเขาทั้งกระตือรือร้น ฉลาด และเอาใขใส่ อย่างไรก็ได้ ผมสังเกตเห็นว่าแนวทางการสอนของพวกเขามีข้อผิดพลาดที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่ง พวกเขามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกดีกับตัวเองเสียจน ไม่ยอมให้นักเรียนตอบผิดหรือรับผิดชอบอะไรเลย

สัปดาห์นั้นเราทำจรวดกัน นักเรียนของผมทำงานเป็นกลุ่มๆ ละ 4 คน แต่ละกลุ่มทำจรวดโมเดลแบบไวกิง คู่มือ และวัสดุใช้ในการประกอบจรวด สิ่งที่ท้าทายสำหรับแต่ละทีมคือ การวัดขนาด วางแผน และประกอบจรวดอย่างถูกต้องแม่นยำ มีกลุ่มหนึ่งที่พยายามมากแต่ผิดพลาดในการจัดวางหัวจรวด ครู 2-3 คนคอยเข้าไปช่วยเด็ก เพื่อแสดงให้ดูว่าจะประกอบจรวดอย่างไรให้ถูกต้อง มีหลายครั้งทีเดียวที่ผมต้องขอร้องอย่างสุภาพแต่หนักแน่นให้อาคันตุกะเหล่า นั้นปล่อยให้เด็กทำเอง

ครู: (กระซิบ) คุณไม่เข้าใจ เรฟ เด็กทำไม่ถูก

เรฟ: ผมเข้าใจ

ครู: ปีกมันบิดนะ

เรฟ: ใช่

ครู: ปุ่มปล่อยจรวด ก็ติดกาวใกล้ส่วนหัวเกินไป

เรฟ: ใช่

ครู: จรวดมันยิงไม่ขึ้นน่ะสิ

เรฟ: ที่แรกก็งี้แหละ...

ครู: แต่....

เรฟ: แล้วในกลุ่มเขาก็จะคิดค้นกันเองแหละว่าทำไมจรวดมันถึงไม่ขึ้น เด็กๆ จะกลับมาที่ห้องแล้วช่วยกันขบคิด นี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำตลอดเวลา

เป็นเรื่องราวสำคัญที่ต้องจำไว้ว่า ครูอย่างเราให้คำจำกัดความคำว่า ล้มเหลว ต่างกันออกไปในห้องเรียน 56 จรวดที่บินไม่ขึ้นไม่ใช่ความล้มเหลว ความล้มเหลวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กนักเรียนละความพยายามที่จะแก้ปัญหา มันอาจจะแก้ได้ใน 5 นาที หรืออาจใช้เวลา 2 เดือน อย่างในกรณีที่นักเรียนของผมพยายามสร้างรถไฟเหาะขนาดยักษ์ แต่ไม่สามารถสร้างทางโค้งที่มีแรงสู่ศูนย์กลางมากพอจะทำให้รถเคลื่อนไปตาม รางอย่างปลอดภัยได้ แต่สองเดือนของการทดลองที่ล้มเหลวกลับเป็นเวลาที่เด็กๆ ได้อัศจรรย์ใจและสนุกตื่นเต้นกับวิทยาศาสตร์มากที่สุดในปีนั้นและเมื่อรถไฟ เหาะใช้การได้ในที่สุด เด็กๆ ก็พูดได้เต็มปากว่าพวกเขาทำด้วยตัวเอง พวกเขาเข้าใจฟิสิกส์ของรถไฟเหาะ ผมสอนได้ดีที่สุดในช่วงสองเดือนนั้นด้วยการเย็บปากตัวเองสนิทและปล่อยให้เด็กๆ ทำเอง

ขอบคุณมากนะครับ..

อ่านทุก ๆ ความเห็นแล้วก็คิดตาม ภาพที่เราสอนเด็กเมื่อเทอมที่ผ่านมาก็ทำให้เราย้อนคิดถึงว่าเทอมหน้าคงต้องปรับปรุงตัวเองขนานใหญ่ ขอบคุณค่ะ บางทีการที่เรามองกระจกของบ้านอื่น มันก็ทำให้เราเห็นบ้านตัวเองชัดมากยิ่งขึ้น

อ.ราชืตครับ

    ขอบคุณมากๆๆ  เลยครับ สำหรับ  สาระดีๆ จาก "ครูเรฟ" ที่นำมาฝาก

               "ปล่อยให้เด็กทำเอง"

เห็นด้วยค่ะ เพราะไม่อยากให้เด็กกลัวครู แล้วน่าเห็นใจและก็ปลื้มมากที่คุณครูทำแบบนี้ได้ เพราะเด็กมากันร้อยแปด แล้วคุณครูคนเดียวสอนเด็กเป็นครึ่งร้อยในห้อง เหนื่อยมากๆๆๆ ค่ะ แค่คุณครูตั้งใจให้ความรู้เด็กเต็มที่ในห้องเรียนก็ดีใจมากแล้วคะ เพราะเดี๋ยวนี้คุณครูหลายคนไม่สอนในห้องเน้นสอนพิเศษ เป็นรายได้ค่ะ โดยเฉพาะโรงเรียนที่แย่งกันเข้าไปเรียน....ไม่รู้จะอย่างไร???

เห็นด้วยกับบางความคิดเห็น และก็อยากปรับปรุงตัวเองเช่นกันแต่บางครั้งก็มีข้อแก้ตัวให้ตนเอง

อยากอยู่กับเด็กจริงๆ เพราะครูอยูกับนักเรียน เป็นอะไรที่ิวิเศษมาก ไม่ใช่ให้ทำแต่งานพิเศษ

คุณครูตาแว่นครับ

    ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนาร่วมกันครับ

อ.นุ ครับ ที่เขียนมาตรงนี้ดีมากเลยครับ

    สอนน้อย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข"

ศิลปะชั้นเลิศของครู..ในการสร้างโลกด้วยการสร้างศิษย์

                      ขอบคุณมากครับอาจารย์

     

คุณโรงเรียนพ่อแม่ครับ

   คนเป็นครู  ความภาคภูมิใจอยู่ที่การพัฒนาเ็ด็กตามศักยภาพของเขานะครับ   เป็นงานที่เหฟนื่อยมากๆๆ

                                 ขอบคณมากครับ

คุณครูผู้น้อยครับ

 

  ชอบตรงนี้ครับ  "ครูอยู่กับนักเรียน เป็นอะไรที่พิเศษมาก"

 

                          ขอบคุณครับ

ง่ายๆ เรียบๆ มาจากการสังเกต นี่คือจุดสำคัญสุดในมุมความเห็นผู้ปกครองอย่างผม คุณครูใจกว้างนี่ดีมากๆ ครับ แต่ผมว่าเด็กเป็นศูนย์กลาง แบบนี้ต้องเป็นศูนย์กลางของทุกฝ่าย คนสำคัญที่สุดในตรงนี้คือผู้ปกครองที่บ้านนี่แหละคนสำคัญครับ ส่วนคุณครูจะสามารถทำได้อย่างมีผลนั้น ก็ต้องทำต่อจากขั้นตอนที่บ้านครับ หากตัดส่วนมาดูเฉพาะที่โรงเรียนหรือปรับฝ่ายเดียว ผลลัพธ์น่าจะไม่ส่งผลที่ดีมากนัก พลอยทำให้หลักคิดหรืออะไรต่อมิอะไรล้มไปหมด

เด็กเป็นศูนย์กลางต้องทำทุกฝ่ายครับ..บันทึกนี้ทำให้ผมมั่นใจในแนวทางที่ยึดมั่นมานานมากขึ้นครับ ขอบคุณครับ

Ico48คุณเพชรครับ

     ดีมากเลยครับ ที่ว่าเด็กเป็นศูนย์กลางต้องทำทุกฝ่าย  มีบางโรงเรียน เขาจะรับเด็ก เขาต้องดูความพร้อมผู้ปกครอง ต้องเชิญผู้ปกครองมาอบรมด้วยครับ  เพื่อจะได้เป็นแนวทางเดียวกันกับโรงเรียน

                            ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท