ต้นผงชูรส..จริงหรือ?


ชาวบ้านนิยมบริโภคผงชูรสมาปรุงเป็นอาหาร แต่มีผักชนิดหนึ่งที่สามารถมาแทนผงชูรสได้ค่ะ

ไม่ว่าจะไปกินข้าวกับชาวบ้านหลังไหนก็ตาม มักจะมีผงชูรสประจำครัวตั้งให้เห็นทุกครัวเรือนเสมอ  แต่ด้วยความบังเอิญหลายครั้ง เมื่อไปกินข้าวบ้านชาวบ้านแล้วจะเห็นผักชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านใส่หลังจากประกอบอาหารเสร็จแล้ว  และก็ไม่ลืมที่จะถามให้หายข้องใจ เพราะความอยากรู้ว่าผักนั่นคืออะไร คำตอบที่ได้ คือ ต้นผงชูรส หรือชาวบ้านอมก๋อยเรียกว่า "หล่องดุ" แต่กะเหรี่ยงสะกอร์ จะเรียกว่า "เฮาะที" ซึ่งจะมีรสชาติหวานคล้าย ๆ กับผงชูรสค่ะ

ถ้าถามชาวบ้านว่าทำไมเรายังต้องกินผงชูรสอีก ในเมื่อรู้ว่ามันต้องซื้อ และไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ ชาวบ้านบอกว่า หล่องดุจะอยู่ในป่าชื้น หายาก และไม่ค่อยมีแล้ว ฟังดูแล้วน่าใจหายนะค่ะ มีของดีอยู่แล้วแต่ไม่ได้รักษาไว้ (อาจเพราะซื้อผงชูรสง่ายกว่า สะดวกสบายกว่า)

แต่มีเรื่องให้น่าดีใจคือ ศูนย์ขยายผลโครงการหลวง พยายามจะนำมาเพาะเลี้ยงและปลูกขยายพันธุ์ แล้วนำมาแปรรูปเป็นเครื่องปรุงรส บรรจุใส่ถุงขายให้กับนักท่องเที่ยวและชุมชนในอำเภออมก๋อย (ถุงละกี่บาทจำไม่ได้ค่ะ)



ลักษณะของต้นผงชูรสหรือหล่องดุ หรือเฮาะที

 

  

หมายเลขบันทึก: 481189เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

แปลกดีนะครับ ดูใบแล้วเหมือนเฟริน หรือผักกูดเลยครับ

ถ้าไม่มีอันตรายต่อร่างกาย ประชาสัมพันธ์ไม่นานก็น่าจะมีคนซื้อหาไปปลูกกันทั่วไปครับ (ผมเองยังอยากได้พันธุ์เลยครับ)

อาจารย์ขจิตค่ะ วงค์เดียวกันกับผักกูดค่ะ แต่มีข้อแตกต่างตรงที่ทั้งต้นและใบจะมันวาวค่ะ

คุณ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ขอบคุณค่ะ

'เฮาะที'หนึ่งในผงปรุงรสจากธรรมชาติ 

อ่านดูที่นี่ >>http://www.ryt9.com/s/bmnd/1228767

ดูแล้วเหมือนเคยเห็น ในบ่อน้ำที่หมู่บ้าน แต่ไม่รู้ว่าจะใช่ต้นผงชูรสหรือเปล่า

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี คุณค่าทางอาหาร และ
เภสัชวิทยาของพืชท้องถิ่นพื้นบนที่สูง
วัตถุประสงค์
เพื่อคัดเลือกพืชท้องถนิ่ บนพื้นที่สูงที่มีศักยภาพจากพื้นที่สูงในโครงการหลวง จา นวน 15 ชนิดได้แก่ มะกลิ้ง มะแตก มะเม่า เปล้าตองแตก ผักไผ่ รางจืด ตะคร้า เกล็ดปลาหมอ  เฮาะที  ตองหอม

ไม้แดง เฮือดหม่อน หญ้าปีกแมงวัน ผักฮาก มะเนียงน้า และนามาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ด้าน
คุณค่าทางอาหาร ได้แก่ การวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนรวม ไขมันรวม เยื่อใย พลังงานรวม และธาตุ
อาหารต่างๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส แคลเซียม โปรแตสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี
โซเดียม จากนั้นนาตัวอย่างพืชมาสกัดด้วยตัวทาละลายเมทานอล จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอล
โดยรวม แล้วจึงทาการทดสอบฤทธิ ด้านต่างๆ ทางเภสัชวิทยา ได้แก่ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์
ในการยับยัง้ เชื้อจุลินทรีย์ที่ทาให้เกิดโรค ฤทธิ์ในการยับยั้ง การสร้างเมลานิน

การยับยั้ง การทางานของเอนไซม์ไทโรซิเนส
........................

การวิเคราะห์และทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า เฮาะที และตองหอม เป็นพืชกลุ่มที่มีคุณค่าทาง
อาหารที่ดี โดยเป็นพืชมีโปรตีนรวม และที่สาคัญ คือ มีกรดกูลตามิกซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ให้รสชาติ โดยมี
องค์ประกอบมากถึง 1 และ 0.6% ตามลาดับ มีปริมาณแร่ธาตุมาก ได้แก่ เหล็ก และแมงกานีส แต่ไม่มี
ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการสร้างเมลานิน มีปริมาณฟีนอลโดยรวมต่า มีเพียงเฮาะทีที่มี
ฤทธิ์ในการยับยั้ง จุลินทรีย์ก่อโรคได้ดี
...............

จากที่นี่http://www.google.co.th/#q=

ขอบคุณค่ะคุณพี่หนูรี ที่ช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ค่ะ

โหคุณพี่หนูรี ข้อมูลแน่นจริง ๆ ค่ะ คงจะมีประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบันทึกนี้นะค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะพี่หนูรี

คุณศศิวิไล ลองชิมดูนะค่ะ ว่าหวานคล้ายผงชูรสไหม

ภูมิัปัญญาชาวบ้านกันเห็น ๆ ครับ

สมควรอนุรักษ์และเผยแพร่แบบนี้ครับ

GOOD

"...ชาวบ้านบอกว่า หล่องดุจะอยู่ในป่าชื้น หายาก และไม่ค่อยมีแล้ว..."

I think the loss of habitat is the main problem rather than over harvesting/exploiting in this case (of หล่องดุ).

To put it another way

"...ป่าชื้น หายาก และไม่ค่อยมีแล้ว..."

We hear about smokes covering cities in the North. The smakes are from burning of "rain forests" (ป่าชื้น)

and of course rain forests become "...หายาก และไม่ค่อยมีแล้ว...".

We have to be serious about ensuring natural growth of rain forests (not human versions of rain forests).

แวะมาอีกครั้ง เรื่องนี้เป็นความรู้ใหม่สำหรับพี่หนูรีค่ะ น่าสนใจมากๆ

จึงอ่านทบทวนอีกครั้ง

พบว่าข้อมูลที่พี่คัดลอกมาต้นฉบับเดิมพิมพ์ผิดหลายคำ พี่หนูรีขอนำฉบับเต็ม มาแก้คำผิดแล้ว ฝากไว้ที่นี่นะคะ

เห็นว่าข้อมูลน่าสนใจดี ไม่อยากขึ้นหน้าบันทึกใหม่ขอฝากไว้ที่นี่ เผื่อมีประโยชน์กับใครๆ

...........

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี คุณค่าทางอาหาร และ

เภสัชวิทยาของพืชท้องถิ่นพื้นบนที่สูง

 

วัตถุประสงค์

 

เพื่อคัดเลือกพืชท้องถิ่น บนพื้นที่สูงที่มีศักยภาพจากพื้นที่สูงในโครงการหลวง

จำนวน 15 ชนิด ได้แก่

มะกลิ้ง มะแตก มะเม่า เปล้าตองแตก ผักไผ่ รางจืด ตะคร้า เกล็ดปลาหมอ เฮาะที ตองหอม ไม้แดง เฮือดหม่อน หญ้าปีกแมงวัน ผักฮาก มะเนียงน้า

 

นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ด้านคุณค่าทางอาหาร ได้แก่ การวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนรวม ไขมันรวม เยื่อใย พลังงานรวม และธาตุอาหารต่างๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส แคลเซียม โปรแตสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โซเดียม

 

จากนั้นนำตัวอย่างพืชมาสกัดด้วยตัวทำละลายเมทานอล จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอล

โดยรวม แล้วจึงทำการทดสอบฤทธิ์ด้านต่างๆ ทางเภสัชวิทยา ได้แก่ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ในการยับยั้ง เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ฤทธ์ในการยับยั้ง การสร้างเมลานิน การยับยั้ง การทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส

 

การวิเคราะห์และทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

 

จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า

 

เฮาะที และตองหอม เป็นพืชกลุ่มที่มีคุณค่าทาง

อาหารที่ดี โดยเป็นพืชมีโปรตีนรวม และที่สำคัญ คือ มีกรดกูลตามิกซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ให้รสชาติ โดยมีองค์ประกอบมากถึง 1 และ 0.6% ตามลาดับ มีปริมาณแร่ธาตุมาก ได้แก่ เหล็ก และแมงกานีส แต่ไม่มีฤทธิในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการสร้างเมลานิน มีปริมาณฟีนอลโดยรวมต่ำ มีเพียง เฮาะที ที่มีฤทธ์ในการยับยัง้ จุลินทรีย์ก่อโรคได้ดี

 

พืชตัวอย่างที่มีฤทธิ์ ในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้ง จุลินทรีย์ต่ำ ได้แก่ มะเม่า เปล้าตองแตก เกล็ดปลาหมอ รางจืด และเฮือดหม่อน

 

ส่วนพืชที่ให้ฤทธ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง มีฤทธิ์ในการยับย็งการสร้างเมลานินได้ดี ฤทธิ์ในการยับยั้ง จุลินทรีย์ก่อโรคได้ดี และมีปริมาณฟีนอลโดยรวมสูง ได้แก่ สารสกัดจากเปลือกมะเนียงน้ำ ใบของไม้แดง ใบตะคร้า และต้นผักไผ่

 

จากการคัดเลือกพืชที่มีศักยภาพ มีพืช 3 ชนิด ได้แก่ มะเนียงน้า ไม้แดง และผักไผ่ ที่มี

ศักยภาพ จากนั้นได้นามาแยกกลุ่มสารอย่างง่ายด้วยเทคนิค TLC และทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอีกครั้ง แล้วนาไปแยกกลุ่มสาร (Fraction) อีกครั้ง ด้วยเทคนิค PTLC เพื่อให้ได้สารบริสุทธิ์และสามารถเก็บ fraction เพื่อนาไปหาโครงสร้างของสาร เมื่อทดสอบฤทธิก์ ารต้านอนุมูลอิสระ และการยับยั้ง การสร้างเมลานินโดยใช้ เซลล์เมลาโนม่า ชนิด B16

 

พบว่า Fraction ที่ 1 ของสารสกัดทั้ง3 ชนิด

มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างเมลานินที่ดี ดังนั้น จึงเลือกสารสกัดจากใบไม้แดงนาไปศึกษาโครงสร้างทางเคมี เพื่อให้ทราบองค์ประกอบของสารสำคัญก่อน

พบว่า สารออกฤทธิ์ที่พบเบื้องต้น คือกลุ่มฟลาโวลนอย (Flavonoid) ได้แก่ Luteonin และสารกลุ่ม ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ได้แก่ genistein apigenin

 

วิเคราะห์กลุ่มพืชที่ให้น้ามัน

 

ทำการวิเคราะห์กลุ่มพืชที่ให้น้ามันและน้ามันที่ได้จากพืช ได้แก่ มะกลิ้ง มะแตก และน้ำมันงา

พบว่า

 

มะกลิ้ง มีไขมันรวม 57-66% ให้พลังงาน 5,554-7,225 แคลลอรี่ต่อกรัม เป็นผลของพืชที่มีไขมันสูงมาก

 

ส่วนมะแตก มีไขมันรวมน้อยกว่า คือ 33% เมื่อนาไปศึกษาวิเคราะห์ทางเคมีในเชิงลึกเกี่ยวกับ

ปริมาณของกรดไขมันชนิดต่างๆ โดยน้ามันมะแตกประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว 65%

 

ส่วนในน้ามันงาประกอบด้วยกรดไขมันไม่อมิ่ ตัวสูง 78% มะแตกและงา

 

ข้อควรระวัง คือ ขั้นตอนการสกัดหรือบีบให้ได้น้ามัน ต้องมีการป้องกันการออกซิเดชั่นที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดการหืนของน้ามัน

 

ผลการทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน

 

จากการทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เมื่อให้สารทดสอบทางปาก (Acute oral toxicity)

ของสารสกัดน้ำและสารสกัดเมทานอลจากเฮาะที ในขนาด 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัว จัดเป็นขนาดสูงสุดที่ใช้ในการทดสอบตาม guideline ของ OECD

 

ผลการทดลองชี้ว่า สารสกัดน้ำและเมทานอลจากเฮาะที มีความปลอดภัยในระดับสูง โดยขนาดที่ทาให้หนูขาวตายเกินครึ่งหนึ่ง (LD50) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัว

……………………………..

ขอบคุณค่ะคุณ sr จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กรจะต้องหันมาช่วยกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ผืนป่า

ให้คงอยู่ต่อไป เพื่อแหลงที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ใช่ต้องปล่อย

ให้ชาวบ้านต้องดิ้นรนเอง...เพราะความไม่เข้าถึงของข้อมูลต่าง ๆ มากมาย

จริงอยู่พวกเขาเคยอยู่อย่างพึ่งพาป่า พึ่งพาน้ำ พึ่งพาธรรมชาติ แต่ข้อมูลทั่วไปที่จำเป็นต่อ

การดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ การปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยก็ควรจะให้พวกเขาได้รู้ เพื่อการปรับตัว

ขอบคุณค่ะพี่หนูรี ข้อมูลแน่นจริง ๆ นะค่ะ

แถวบ้านมีแต่เฟิน อยากลองชิมต้นนี้จังเลยครับ

  • เหมือนผักกูดที่บ้านคุณมะเดื่อเลยจ้ะ
  • คงเป็นพืชตระกูลเฟิร์นจริง ๆ 

คุณนกขมิ้นค่ะ ถ้ามีโอกาสเชิญแวะมาชิมได้นะค่ะ (ไกลเลย)

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

ในฐานะคนแพ้ผงชูรสอย่างแรง ขอสนับสนุนให้ทำการวิจัยให้มากๆ ก่อนที่พวกต่างชาติจะเอาไปจดสิทธิบัตร

ผมว่านอกจากเหมือนผักกูดแล้ว ยังคล้าย ผักหนาม อีกด้วยครับ (มีมากทางอีสาน)

ถ้าเอาไปตำผสมกับ "ถั่วเน่า" ใส่ใบหม่อนเข้าไป ผมว่าจดสิทธิบัตรเป็น pongnour (ผงนัว) ทั่วโลกได้เลยครับ

ขอกด like ความคิดเห็นของคุณคนถางทาง ล้านครั้งค่ะ ขอบคุณนะค่ะ

พอดีเปิดเจอข้อมูลของเฮาะทีค่ะ

พอดีภาพที่ลงอยู่เป็นต้นเฮาะที่ที่รวบรวมอยู่พื้นที่นโครงการขยายผลโครงการหลวงสบโขง อ. อมก๋อย จ. เชียงใหม่ ซึ่งทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้ร่วมกับชุมชนในการหาวิธีการขยายพันธุ์และทำแปลงปลูก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นผงปรุงรสชีวภาพ สำหรับทำเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งก็ได้มีการนำมาวิเคราะห์หาสารสำคัญและความเป็นพิษ พบว่ามีสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับผงชูรสค่อนข้างจะสูง และไม่มีพิษ แต่ตอนนี้ยังมีปัญหาว่าต้นเฮาะทีที่อยู่ในสภาพธรรมชาติ เหลือน้อยเต็มที และต้องเข้าป่าลึกขึ้นเรื่อยๆ ถึงจะเก็บหาได้ พืชชนิดนี้เป็นเฟิร์นกลุ่ม Asplenium ค่ะ จะมีใบประกอบคล้ายกับปีกนก และมีหลายสายพันธุ์ค่ะ

ขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆ มาเล่าสู่กันฟังนะค่ะ

หาซื้อได้ที่ไหนคะ

คุณSasiwimon ต้องขออภัยค่ะ ไม่ทราบจริง ๆ 

เมื่อสองสามปีก่อนยังเห็นเขาขายแถว ๆ ร้านอาหารในตัวอำเภออมก๋อยนะค่ะ 

แต่เดี๋ยวนี้ไม่เห็นวางขายแล้วนะค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณ JP ที่มาแลกเปลี่ยนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท