ปรับเป้าหมายและกลยุทธ์แก้จนเมืองนคร


ผมอยากเห็นการแบ่งการรับผิดชอบทั้งระดับตำบล อำเภอ และปีต่อๆไปอาจจะเป็นระดับโซนไปเลย เพื่อเห็นถึงระดับการมีส่วนร่วมที่จริงจังมากขึ้น ไม่ใช่หน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดทำอยู่หน่วยงานเดียวอย่างที่เป็นห่วงกังวลกันอยู จะได้เห็นประสบการณ์การเรียนรู้อะไรดีๆอีกมากมาย
  • ผมอ่านบันทึกของ อ.เฉลิมลักษณ์ และ อ.ภีม ในวันที่ทีมคุณเอื้อจังหวัด วิชาการ และทีมเลขา โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 30 ส.ค.49  แล้ว ก็รู้สึกว่าดีมากๆในทุกเรื่องครับ KM ไม่ทำก็ไม่รู้ ย้ำคำของผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ อีกเป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วไม่ทราบ อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าเป้าหมายที่ทำ กระบวนการทำ และผลที่ทำเป็นเช่นไร ซึ่งมีข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงงานเพื่อการเรียนรู้ใหม่มากมาย มีตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายใหม่ อาจจะปรับเป้าหมายเป็นจัดการความรู้เพื่อเสริมกระบวนการชุมชนเข้มแข็งแทนเป้าหมายเดิม แก้จน เป็นต้น และมีประเด็นเรียนรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นอีกมากมาย ทั้งเรื่องการทำ Km แยกออกมาจากกิจกรรมปกติ การบูรณาการการทำงานกันไม่เต็มที่ ฯลฯ
  • ประเด็นที่ผมสนใจมากประเด็นหนึ่ง คือ การทำนำร่องใน 5 โซนพื้นที่ โซนพื้นที่ละ 1 อำเภอ ให้ทำเป็นตัวอย่าง ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานและสร้างความเข้าใจเรื่องการทำ KM   ซึ่งได้กำหนดแล้วได้แก่ อ. เชียรใหญ่ อ. ท่าศาลา อ. ทุ่งสง อ. พิปูน อ. ชะอวด  ซึ่งการแบ่งกันทำงานอย่างนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องควรทำอย่างยิ่ง จะแก้ไขปัญหาเรื่องการบูรณาการการทำงานไม่ได้ได้เป็นอย่างดี  เรื่องนี้ผมได้เรียนกับท่านผู้ว่าฯครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ในวันที่ สคส. มาจับภาพ KM INSIDE  แต่ความคิดของผมในครั้งนั้นคือให้ส่วนราชการที่มีงานเด่นที่สุดเป็นเจ้าภาพในระดับอำเภอไปเลย ทุกหน่วยงานภาคีเครือข่ายอยู่ภายใต้หน่วยงานนั้น ส่วนระดับตำบลก็พิจารณาตามความโดดเด่นของงานหรืออะไรที่จะเห็นสมควรก็ได้เพื่อเลือกเป็นหน่วยงานเจ้าภาพระดับตำบล ภาคีร่วมก็เหมือนเดิม หากเราทำอย่างนี้ได้ ผมว่าจะไม่มีหน่วยงานไหน ไม่มีนายอำเภอคนไหน จะไม่เต็มที่กับงานนี้ ยิ่งทีมคุณเอื้อจังหวัด นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดหนุนเสริมอย่างเต็มที่ เป็นการแบ่งกันรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพก็จริง  แต่เป้าหมายเราคือที่เดียวกัน แต่เมื่ออ่านจากบันทึกทั้งสองแล้วปรากฏว่าเป็นการแบ่งเจ้าภาพกันระดับตำบลเท่านั้น ตามความคิดเห็นของผม ผมอยากเห็นการแบ่งการรับผิดชอบทั้งระดับตำบล อำเภอ และปีต่อๆไปอาจจะเป็นระดับโซนไปเลย เพื่อเห็นถึงระดับการมีส่วนร่วมที่จริงจังมากขึ้น ไม่ใช่หน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดทำอยู่หน่วยงานเดียวอย่างที่เป็นห่วงกังวลกันอยู จะได้เห็นประสบการณ์การเรียนรู้อะไรดีๆอีกมากมาย
  • บันทึกมาเพื่อ ลปรร.ครับ
หมายเลขบันทึก: 48096เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2006 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

การดำเนินงาน KM เมืองนครที่ผ่านมานั้นมองว่าเจ้าภาพหรือเจ้าของงานอยู่ที่หน่วยงานเดียว จึงทำให้ขาดการทำงานอย่างบูรณาการและมีส่วนร่วม ขาดการมีความเป็นเจ้าของในงานนั้น ๆ จึงไม่ค่อยทุ่มเท และเต็มที่เท่าไหร่

เห็นด้วยกับครูนงนะคะที่ว่า

ผมอยากเห็นการแบ่งการรับผิดชอบทั้งระดับตำบล อำเภอ และปีต่อๆไปอาจจะเป็นระดับโซนไปเลย เพื่อเห็นถึงระดับการมีส่วนร่วมที่จริงจังมากขึ้น ไม่ใช่หน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดทำอยู่หน่วยงานเดียวอย่างที่เป็นห่วงกังวลกันอยู จะได้เห็นประสบการณ์การเรียนรู้อะไรดีๆอีกมากมาย

แล้วการ ลปรร.ในงานนี้ก็จะสนุกและเกิดผลมากยิ่งขึ้นคะ

ตอนนี้ตกลงเบื้องต้นว่า ทำร่วมกันแต่แบ่งกันเป็นโซน 5 หน่วยงานคือ กศน. พช. ธกส. เกษตร และ สธ.

โดยมีปกครองเป็นทีมเลขา ให้นายอำเภอเป็นCKO อำเภอ

วันนี้อ.ชมภู อ.เป้าและคณะอีก2คนมาหารือการทำ    คู่มือ สรุปได้2หัวข้อคือ
1)การจัดการความรู้ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ของนักเรียนในวงเรียนรู้ต่างๆ
2)เนื้อหา กระบวนการชุมชนเข้มแข็ง สภาผู้นำชุมชน แผนแม่บทชุมชน วิสัยทัศน์เมืองนคร เศรษฐกิจพอเพียง

แหม่ม แป้น

        ช่วยกันคิดวิเคราะห์หาทางออกที่เหมาะสมที่สุด ช่วยกันเสริมเติมเต็มความคิดต่อไปนะครับ

อ.ภีม

        รบกวนอาจารย์ช่วยต่อความคิดให้ผมหน่อยครับ ผมยังต่อไม่ค่อยติด ซึ่งถ้า 5 โซน ๆ ละ 1 อำเภอ มีอยู่  5 หน่วยงานคือ กศน. พช. ธกส. เกษตร และ สธ.ก็แปลว่าหน่วยงานหนึ่งก็เป็นเจ้าภาพอำเภอหนึ่งอย่างที่ผมว่าใช่ไหมครับ ในระดับการปฏิบัติแต่ละอำเภอมีปกครองเป็นทีมเลขา ให้นายอำเภอเป็นCKO เครือข่ายทำงานก็เครือข่ายเดิม หรือปกครองเป็นทีมเลขาระดับจังหวัด หรืออย่างไรครับอาจารย์

งานนี้เป็นการสร้างตึกหลังใหญ่ ฐานจึงต้องมั่นคง    แต่ที่ผ่านมาเราไม่มีโอกาสเตรียมฐานมากนัก
ลงลุยกันเลย ใครทำก็จะเรียนรู้ว่า จะทำอย่างไรให้ดียิ่งขึ้น โดยที่เป้าหมายเราชัดเจนว่า จะบูรณาการหน่วยงานทำงานร่วมกับชุมชนทั้งระบบเพื่อไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนตามวิสัยทัศน์เมืองนครและ      แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
กพร.และ สคส.มาช่วยเรื่องการจัดการความรู้ในหน่วยงานก็เป็นเรื่องดีที่จะเสริมกันได้ เราได้เปรียบ เพราะได้ทดลองจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนอย่างบูรณาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
ม.วลัยลักษณ์ได้ช่วยอบรมการทำKMหัวหน้าส่วนจังหวัด 2 รุ่น ก็จะเสริมแนวคิด เทคนิค
ซึ่งเรื่องนี้ต้องการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้เนียนเข้าไปในเนื้องานที่ทำ
ผมคิดว่าแนวคิดและเทคนิคหลายๆอย่างพอทำไปก็จะเก่งขึ้น ผมเองถ้าไม่ได้ทำก็ตามไม่ทันเช่นกัน

ตอนนี้ผมไม่ค่อยห่วงเรื่องเทคนิค แต่ห่วงเรื่องระบบเชื่อมโยง ซึ่งหากไม่สรุปบทเรียน เราจะพันขาตัวเองไปเรื่อยๆ
คุยกับทีมว่า เราจะนำเข้าหารือวงเรียนรู้คุณเอื้อจังหวัด 2 สัปดาห์ครั้ง เพื่อปรับปรุงระบบส่งต่อโครงการของปกครองกับเครือข่ายยมนาให้กับทีมจัดการความรู้
อยากให้ทำกันตั้งแต่เริ่มต้นเลย และถ้าให้ดี  ผมเห็นว่าควรทำกันรายตำบลจะเหมาะกว่าเพื่อเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาตำบลของอบต.และส่วนราชการต่างๆ

อาจจะต้องใช้งานวิจัยท้องถิ่นเข้ามานำในช่วงแรก  ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาสภาผู้นำชุมชน ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ทุนชุมชนทั้งรายครัวเรือน หมู่บ้านและตำบลเพื่อจัดทำแผนแม่บทชุมชน   
แล้วตามด้วยการจัดการความรู้เมื่อมีข้อมูล ความรู้  เป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจนแล้ว

งานนี้สนุกแน่และจะได้เรียนรู้เยอะมาก และจะเป็นประโยชน์กับจังหวัดนครศรีธรรมราชในระยะยาวอย่างแน่นอน

ผมเห็นว่าอาจจะต้องทำความร่วมมือกับสกว.ท้องถิ่นให้เข้ามาสนับสนุนงานนี้อย่างเป็นระบบด้วยครับ

ตอนนี้สกว.เขามียุทธศาสตร์ ABC research น่าจะไปด้วยกันได้ดีครับ

 

เรื่อง 5 อำเภอนำร่องจะเป็นตัวแบบ
 เพื่อให้นายอำเภอมาเป็นCKO
เลขาคือปกครอง (ประสานจัดการ งบประมาณ)
หน่วยงาน 5 หน่วยเป็นหน่วยปฏิบัติ
เป็นแนวทางใหม่ ไม่ใช่คำสั่งเดิม คือ ต่อไปเห็นว่าควรให้ปกครองเป็นเจ้าภาพหลัก มี5หน่วยร่วมรับผิดชอบ

การแบ่งโซน มีแนวคิดว่า 5หน่วยหลักจะแบ่งรับผิดชอบเป็นแกนหลักคุณอำนวยคนละโซนครับ

 

ชัดเจนขึ้นครับอาจารย์ ว่า 5 อำเภอนำร่องจะเดินอย่างไร ส่วนอำเภออื่นนอกจาก 5 อำเภอนำร่องนี้จัดทัพเหมือนเดิม หรืออย่างของใหม่ครับ รบกวนอีกครั้ง

หลายเรื่องที่เขียนยังเป็นเพียงแนวคิดครับ เพราะไม่สามารถระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องได้ ถ้าไม่share vission แม้จะคิดดีอย่างไร ก็ไปได้ไม่ไกล

วงเรียนรู้ไม่เป็นทางการจึงสำคัญมาก คือ ต้องทำให้เกิด care จึงจะ share และจึงเกิด learn

วงจังหวัดวันที่เข้าพบท่านผู้ว่าถือว่าพอใช้ได้ ถ้าได้คุยกับนายอำเภอนำร่อง5อำเภอเพื่อกลับลงไปเป็นประธานคุณเอื้ออำเภอ ในขณะที่คุณเอื้ออำเภอจาก 5 หน่วยงานก็เชื่อมโยงกับคุณเอื้อจังหวัด เราจะเกิดการทำงานเป็นทีมในองค์ประกอบTeam learning ซึ่งในแต่ละหน่วยงานสามารถนำการจัดการความรู้ไปใช้ในหน่วยงานของตนเองเสริมแรงอีกทางหนึ่งในวงประชุมหัวหน้าส่วนอำเภอของแต่ละหน่วยงาน

การเสริมพลังแนวดิ่งกับแนวราบจึงจะเป็นจริง ซึ่งโชคดีมากที่ได้ท่านผู้ว่าวิชมเป็นประธานคุณเอื้อ

การจัดการความรู้นอกจากใช้เคล็ดคือทักษะ แล้ว        ก็ต้องใช้ไหวพริบ ปฏิภาณและจินตนาการซึ่งเป็นปัญญา ซึ่งตรงกับความเข้าใจทางใต้ของเราที่ทับศัพท์ว่า
มีปัญญาทำมั้ย?
ไม่ใช่มีความรู้หรือไม่
ซึ่งเป็นศัพท์ทางวัฒนธรรมที่บอกให้รู้ว่า ชาวบ้านทางใต้เขารู้จักการจัดการความรู้มานมนานแล้วครับ

ลปรร กันเสียยาวเลยนะคะ หาโอกาสนัดเจอกันสักวันดีมั้ยค๊ะ จะได้คุยกันนาน ๆหน่อย เพราะดูท่าทางว่าต้องแปลงสู่การปฏิบัติแล้วละ ทีมย่อยคอเดียวกันเจอกันเพื่อปรึกษาหารือก็จะดีทีเดียว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท