๒๔๕.เสวนา "ภาวะผู้นำทางการเมืองไทย" ภาค ๑


การที่จะทำให้เป็นอุดมคติ ต้องมีอุดมการณ์ก่อน ดังนั้นคนที่มีอุดมการณ์สามารถย้ายภูเขาทั้งลูกได้ คนธรรมดาที่ไม่มีอุดมการณ์ จะไม่สามารถทำได้ ซึ่งอุดมการณ์นี้เองจึงเป็นส่วนหนึ่งของภาวะผู้นำ

    

     วันนี้ นิสิตทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ปี ๒-๓-๔ คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชาเอกการปกครอง ได้จัดสัมมนาภาวะผู้นำทางการเมืองไทยขึ้น ณ ศาลาปฏิบัติธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา โดยมีผู้เขียนเป็นประธานในพิธีเปิดเสวนา

     ในการนี้นิสิตกว่า ๑๓๐ รูป/คน ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเสวนาจำนวน ๓ ท่าน ประกอบด้วย

     ๑.นายรัชตะ พันแสง อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นผู้ดำเนินรายการ

     ๒.ศรายุธ  กัลยา  นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองพะเยา เป็นวิทยากรร่วม และ

     ๓.นายจีรเดช  ศรีวิราช  นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองดอกคำใต้ และนายกสันนิบาตเทศบาลจังหวัดพะเยา

     การสัมมนาครั้งนี้ คณะผู้จัดงานได้กำหนดหัวข้อไว้ ๔ ประเด็นคือ ๑)ความเป็นผู้นำ ๒)คุณธรรมจริยธรรมของผู้นำ ๓)ประสบการณ์ในการทำงานฯ และมุมมองการเมืองในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

 

นายรัชตะ พันแสง อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์

     ได้กล่าวว่า ก่อนที่จะเข้าไปสู่คำว่า "ภาวะผู้นำ" ควรเข้าใจคำว่า อำนาจก่อน ดังนั้น อำนาจคือการทำให้คนอื่นยอมรับโดยความสมัครใจหรือไม่ก็ได้ แต่ควรเป็นไปเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อส่วนตัว ซึ่งปราชญ์ชาวตะวันตก เช่น รุสโซ ล็อค ฮอบ ฯลฯ ต่างมักจะเขียนถึงอำนาจในรูปแบบของอุดมคติ

   การที่จะทำให้เป็นอุดมคติ ต้องมีอุดมการณ์ก่อน ดังนั้นคนที่มีอุดมการณ์สามารถย้ายภูเขาทั้งลูกได้ คนธรรมดาที่ไม่มีอุดมการณ์ จะไม่สามารถทำได้ ซึ่งอุดมการณ์นี้เองจึงเป็นส่วนหนึ่งของภาวะผู้นำ

     คนจะมีภาวะผู้นำได้ต้องมีองค์ประกอบ ๕ ประการณ์ คือ ส-ค-บ-ท-ท ซึ่งมีความหมาย ดังนี้   ส. หมายถึงความสมัครใจ

     ค. หมายถึงคุณลักษณะของผู้นำ ซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกพูดในที่สาธารณะ หรือจากการศึกษาก็ได้

     บ. หมายถึงบารมี ซึ่งเป็นผลของการสั่งสมความดีงามมาพอสมควร

     ท. หมายถึงทำงานเป็น ใช้คนเป็น เรียกว่า put the right man in the right

     ท. หมายถึงทะเยอทะยาน คืออยากให้ชุมชนมีความก้าวหน้า โดยการแข่งขันระหว่างชุมชน ซึ่งความทะเยอทะยานนี้ เป็นทางไปสวรรค์ ส่วนการทะยานอยากเป็นหนทางลงสู่นรก

     นอกจากนี้แล้ว อาจารย์รัชตะ ยังได้ยกคำพูดของผู้เขียนที่พูดถึงการแก้ปัญหาความขัดแย้งของพระพุทธเจ้า ๓ รูปแบบมากล่าวอ้าง โดยบอกว่าบางครั้งพระพุทธเจ้า ทรงถอยห่างออกไปแล้วมองเข้ามา ซึ่งคนโดยทั่วไปควรเอาอย่างเพราะสถานการณ์บางอย่างมันบดบังปัญญา เช่น นักมวยขึ้นชกบนเวที ชกแล้วเจ็บ แม้พลาดท่าก็จะสู้ ๆ ๆ โดยไม่ไตร่ตรอง แต่ควรทำอย่างนกกำลังบิน ที่เห็นสิ่งต่าง ๆ ในภาคพื้นดินในรอบทิศทาง คือนักมวยคนดังกล่าวเมื่อจะชกให้ได้ดี ควรเดินลงมาดูข้างเวทีบ้าง จะทำให้เห็นถึงช่วงสั้นยาว ของแต่ละฝ่าย ยิ่งถ้าถอยห่างออกไปไกลเท่าใดยิ่งเห็นบริบทรอบข้างมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้นำขอคำปรึกษาจากชาวบ้าน อย่าใช้อำนาจ แต่ใช้เชิงปรึกษา

     ประเด็นต่อมา ได้เสนอคำว่า Good Governance ว่ามีองค์ประกอบอยู่ ๔ ประการคือ ๑)การมีส่วนร่วมของประชาชน ๒)ความโปร่งใสตรวจสอบได้ ๓)ความรับผิดชอบ ๔)สามารถทำนายอนาคตได้ชัดเจน คือแต่ละหน่วยงานต้องมีแผนผังเพื่อนำไปสู่แต่ละระดับขั้นของการทำงานและการรับเข้าคน

 

นายศรายุธ กัลยา นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา

     ให้ทัศนะว่า การเป็นผู้นำนั้นต้องเจอทุกอย่าง แม้กระทั้งว่าชาวบ้านทำธุระกิจ เคยถูกขอยืมเงิน ๕,๐๐๐ บาทไปลงทุนก่อนซึ่งมันไม่ใช่บทบาทของนักการเมือง

     จากการที่เคยเป็นพ่อค้ามาก่อน ได้ท่องปารมี ๓๐ ทัศของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิ่งที่สำคัญคือ "สัจจะ" หากนักการเมืองไม่มีสัจจะมักจะไร้ความเชื่อถือจากชุมชน

     การสร้างบารมีของนักการเมือง คือการทำความดี แต่มักใช้เวลานานมาก แต่ที่ผู้คนกำลังทำอยู่คือการใช้เงินเพื่อสร้างบารมีในระยะสั้นๆ และมักจะได้ผลไวกว่า น่ากลัวมาก

     ผู้นำแม้ไม่รู้ทุกเรื่อง แต่ต้องรู้หลักการ เช่น เจ้าสัวซีพี แม้มีการศึกษาไม่มาก แต่ใช้ดอกเตอร์ในการทำงานให้ทั่วโลก

     การเป็นผู้นำทำดี ทำบ้าก็โดนด่าอยู่แล้ว

     ปัจจุบันเทศบาลมีความดูแล ๒๖๕ เรื่องเป็นภาระกิจ เนื่องจากถูกโอนภาระกิจมาจากส่วนกลาง แต่รัฐบาลหรือหน่วยงานเจ้าของกระทรวง ทบวงเดิมยังกั๊กเรื่องเงินเอาไว้

     ทางที่ดีควรแปลงภาระ ให้เป็นพลังให้ได้

     เรื่องประเด็นปัญหาไม่น่าเป็นห่วง แม้แต่ลูก ๒ คนซื้อเสื้อให้คนละตัว ยังเถียงกันว่าของใครถูก ของใครแพง

 

นายจีรเดช ศรีวิราช นายกเทศมนตรีเมืองดอกคำใต้

     ผู้นำในระดับชาติและท้องถิ่น ทุกระดับมีพื้นฐานคล้าย ๆ กันและมีองค์ประกอบที่หลากหลายซึ่งถือว่าเป็นความงดงาม

     อยากชวนให้ท่านลงลึกในมิติต่าง ๆ นักรัฐศาสตร์ต้องไม่ให้มองในมิติเดิม ๆ แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่า คนๆ หนึ่งสามารถชี้นำให้คนๆ หนึ่งทำในสิ่งใดๆ ก็ได้โดยบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อประเทศชาติส่วนรวม

     ควรมองให้ลึกไปถึงคน ๆ หนึ่งอย่างเช่นบิลลาเดน สามารถชี้นำให้คนขับเครื่องบินไปชนตึกได้ สามารถชี้นำให้คนทำระเบิดพลีชีพได้ ซึ่งผู้นำไม่ใช่แค่คิดดี พูดดี ทำดีอย่างเดียวต้องลงลึกกว่านี้

 

นายรัชตะ พันแสง อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์

     ได้สรุปตอนที่หนึ่งเอาไว้ว่า นักทฤษฎีทางการเมืองถูกสอนเอาไว้ว่าในภาวะสงคราม ให้ผู้นำสามารถละเลยต่อบาป สิทธิมนุษยชนได้โดยให้มองข้ามในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมไปเสีย

     ประเด็นนี้ต้องแสวงหาจุดร่วม แต่สงวนจุดต่างเอาไว้ และยอมรับในความหลากหลายของคน

     ดังนั้น ความเชื่อนั้น มี ๓ ประการ คือ

     ๑.เชื่อฟัง   เช่น การเชื่อฟังบิดามารดา ในการชี้นำต่าง ๆ

     ๒.เชื่อถือ   เช่น การเชื่อถือถ้อยคำของครูบาอาจารย์

     ๓.เชื่อมั่น   เช่น เกิดความศรัทธาในลัทธิศาสนา จนเกิดศาสนาใหม่ขึ้น เช่น การพลีชีพเป็นต้น

     นี้คือ ภาพรวมของการเสวนาในภาคแรกของวันนี้ฯ

หมายเลขบันทึก: 480076เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท