โรคไมเกรน (Migraine)


ไมเกรน(Migraine) มักมีอาการปวดศีรษะเำพียงข้างเดียว

โรคไมเกรน (Migraine)  คือโรคความผิดปกติทางครอบครัวชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะจำเพาะของการเกิดอาการปวดศีรษะซ้ำๆกัน ซึ่งการปวดศีรษะนั้นมีความแปรปรวนได้มาก ทั้งความรุนแรงของอาการ ความถี่ และระยะเวลาของการปวดศีรษะ อาการศีรษะมักปวดข้างเดียว และมักมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเสมอ

สาเหตุของโรค
ประกอบด้วยสมมุติฐานใหญ่ๆ คือ
1. Neuronal hypothesis  เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของเซลล์สมองตั้งแต่เริ่มต้น  และมีผลต่อมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลอดเลือดในที่สุด
2. Vascular hypothesis  เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดนอกกะโหลกศีรษะ และภายในกะโหลกศีรษะ การคั่งของสารเคมีหลอดเลือดแดง หรือรอบๆหลอดเลือด
3. Humoral hypothesis  ระดับของ serotonin ในเลือดและเกร็ดเลือดจะลดต่ำลงในขณะที่อาการของโรคไมเกรนกำเริบ ในขณะเดียวกัน ระดับของ biological mine อื่นๆ จะมีค่าสูงขึ้น
4. Platelet hypothesis  
• ผนังเกร็ดเลือดมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงในการลดลงของอุณหภูมิของคนปกติ 3 เท่า
• มีการเกาะรวมตัวกันของเกร็ดเลือดได้รวดเร็วกว่า และมากกว่าคนปกติ  
• เกร็ดเลือดมีส่วนประกอบ ADP และ ATP มากกว่าในคนปกติ 
• การหลั่งของ serotonin ออกมาจากเกร็ดเลือดผิดปกติ

อาการของโรค

1. Prodrome phase (ระยะอาการนำ) : เบื่ออาหาร , รู้สึกหนาว , มีอาการคิดช้า 
2. Aura phase (ระยะอาการเตือน) : อาการผิดปกติของการเห็น  อาการผิดปกติของความรู้สึกสัมผัส ( sensory symptom ) อาการ dysphasia อาการทางระบบกล้ามเนื้อ
3. Headache phase (ระยะอาการปวดศีรษะ) : มีอาการปวดศีรษะ ปกติจะกินเวลานานราว 2–72 ชั่วโมง ถ้าติดต่อกันนานเกิน 72 ชั่วโมง เรียกว่า status migrainosus  และมักมีอาการอื่นๆ รวมด้วย เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน  หน้าซีดขาว มือเท้าเย็น อาจมีไข้สูงตาพร่ามัว กลัวแสง รับแสงไวกว่าปกติ อาการทางประสาทสัมผัสต่างๆ หงุดหงิดง่ายขาดสมาธิ สมองตื้อ
4. Headache termination phase (ระยะหายปวดศีรษะ) : ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้อาการปวดศีรษะหายไปนั้นมีหลายประการ ได้แก่ การนอนหลับ , การกินยาแก้ปวด , การกินยาแก้อาเจียน และการอาเจียน ในบรรดาปัจจัยต่างๆนี้ การนอนหลับ สำคัญที่สุด โดยปกติการนอนหลับสนิทเพียง 45 ถึง 3 ชั่วโมง ในช่วงเวลาที่ปวด มักจะเพียงพอที่จะทำให้การปวดศีรษะนั้นหายไปได้
5. Postdromes phase (ระยะอาการตาม) :ได้มีผู้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับอาการในระยะ postdrome ว่า อาจมีกลวิธานในการเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1. เกิดจาการปรับคืนสู่สภาพปกติของระบบประสาทกลาง
2. เป็นผลตามมาเนื่องจากยา ที่ผู้ป่วยได้รับในการรักษาอาการปวดศีรษะ
อาการในระยะ postdrome นี้จะมีอาการที่แสดงตรงข้ามกับในระยะ prodrome อย่างชัดเจน ในผู้ป่วยบางราย

การรักษา
การรักษาโดยการไม่ใช้ยา
รักษาโดยอาศัยวิธีแพทย์ทางเลือก
- Stress management program
- Psychotherapy
- Physiotherapy เช่น การนวด, short wave diathermy, การประคบด้วยความร้อน
- การฝังเข็ม(acupuncture)
- Hypnotherapy
การรักษาโดยการใช้ยา

กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดกับโรคไมเกรน

P (Person) : มีอาการทางด้านร่างกายคือปวดหัว ซึ่งทำให้เกิดอาการล้าตามมา
E (Environment) : ถ้าสิ่งแวดล้อมมีความวุ่นวาย มีคนอยู่จำนวนมาก หรือมีมลพิษทางอากาศ ก็ควรหลีกเลี่ยงจากสถานที่นั้นๆ ควรอยู่ในสถานที่ที่มีความสงบ อากาศถ่ายเท และไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน
O (Occupation) : บทบาทการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันลดลง เนื่องจากความบกพร่องทางด้านร่างกาย ควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อที่จะกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีอีกครั้ง
P (Performance) : ลดความสามารถในการทำกิจกรรมลง ทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำกิจกรรมลดลง

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด
• ตรวจประเมินถึงความสามารถในการทำงานเกี่ยวกับการรับความรู้สึก และตอบสนองของผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไมเกรน
• ถ้าพบว่าผู้รับบริการมีอาการล้า หรือเครียด ต้องหาสาเหตุ สอบถามข้อมูล หรือคำวินิจฉัยแพทย์ว่ามาจากสาเหตุใด
• เกิดจากความเครียด ก็ให้เข้ารับการบำบัดทางจิตใจ เช่น ให้พักผ่อนในห้องผ่อนคลายความเครียด หรือบำบัดความล้า เป็นต้น
• เกิดจากความผิดปกติที่เส้นเลือดในสมอง ขั้นรุนแรงควรให้แนวทางป้องกัน เช่น แนะนำการออกกำลังกาย การพักผ่อน  หากิจกรรมที่ชอบให้ทำ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 480070เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท