Dementia หรือภาวะสมองเสื่อม


โรคภาวะสมองเสื่อม(Dementia) นั้นมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด

     Dementia หรือภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เกิดจากความเสื่อมของการรับรู้เกี่ยวกับความจำ ภาษา และการแก้ปัญหา พบมากในผู้สูงอายุ

สาเหตุ>>>เกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งที่รักษาได้(pseudo-dementia)และรักษาไม่ได้ 

   -การขาดฮอร์โมนไทรอยด์(Hypothyroidism)

   -โรคติดเชื้อบางชนิด

   -การใช้ยาเป็นเวลานาน (Chronic drug use)

   -จากอาการซึมเศร้า(Depression)หรือความเครียด(Stress)

   -การได้รับการกระทบกระเทือนที่สมอง

   โดย Alzheimer’s diseaseเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50 -70 % ของผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมทั้งหมด)

 

ลักษณะอาการ

   -อาการเริ่มแรกมักเป็นการลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆไม่นาน

   -เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว

   -ในระยะท้ายๆจะมีอาการไม่รับรู้วันเวลา สถานที่ และบุคคล(เพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและความทรงจำระยะยาว)

   ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเร็วหรือช้าขึ้นกับระดับความสามารถเดิม การศึกษาและหน้าที่เดิมของผู้ป่วย รวมถึงความช่างสังเกตและเอาใจใส่ของคนรอบข้างด้วย

 

การรักษา  >>มี 3 ส่วน

   1.รักษาจากสาเหตุที่ตรวจพบ

   2.รักษาเรื่องความจำเสื่อมด้วยยากลุ่มcholinesterase inhibitorsและวิตามินอี >>>จะได้ผลดีเมื่อให้ในผู้ที่มีอาการในระยะแรกๆ

   3.รักษาปัญหาพฤติกรรมจากโรค

 

 การป้องกัน >>> คือการปฏิบัติตัวเพื่อให้สมองมีความจำที่ดี ได้แก่

1.หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง

2.ฝึกฝนสมองบ่อยๆ

3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพบ่อยครั้ง

4.พูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อยๆ

5.ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง

6.ไม่คิดมาก ไม่เครียด

 

นักกิจกรรมบำบัดจะมีบทบาทหน้าที่ต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างไร?

     นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทเกี่ยวข้องรอบด้านไม่ว่าจะเป็น

   -ตัวบุคคล(Intrinsic factors) >> ที่เรามีหน้าที่ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างมีWell-being สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตให้ได้เต็มศักยภาพมากที่สุด     

   -บริบทด้านสิ่งแวดล้อม(Extrinsic factors) ของผู้ป่วยที่ต้องปรับให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในทุกๆด้าน เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดตามแบบของเขา

   ทั้งนี้ก็ต้องได้รับความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพในการดำเนินการรักษา ทั้งการให้ยา การบำบัดทางจิตสังคม ฯลฯ รวมถึงการเข้าใจและเอาใจใส่ของผู้ดูแลด้วย

 

                                           ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณกุสุมา มีก่ำนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 479966เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2012 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท