รักตนเอง VS รักองค์กร: เยียวยาด้วยบันทึก


ก่อนจะเขียนบันทึกนี้..
ข้าพเจ้ากำลังคิดว่าจะเขียนบันทึกการประชุม
แต่ก็นึกขึ้นได้ว่า..เวลางานเป็นงาน เวลาส่วนตัวเป็นเวลาส่วนตัว 
น่าจะใช้เวลานี้ "เยียวยา" สุขภาพกายและใจ
ที่สึกหรอในแต่ละวันจากแรงเสียดทาน
เพื่อให้ขับเคลื่อนต่อในวันต่อไป
...

Theme HA 2012 "บูรณาการณ์งานกับชีวิต" 
เป็นหัวข้อที่สะดุดใจ..โดยเฉพาะช่วงนี้
น่าเสียดายที่ปีนี้ข้าพเจ้าไปงาน HA ไม่ได้
แต่ก็ตั้งใจว่าจะไปร่วม dialogue "รักตนเอง รักองค์กร" ในวันศุกร์ (24 กพ.) ที่จะถึงนี้
...

วันนี้ข้าพเจ้านึกอยากลองใช้เทคนิค "BATHE " ในการเยียวยาตัวเอง
.
BATHE เป็นเทคนิคการพูดคุยเพื่อบำบัดทางจิตใจพื้นฐาน ทำได้ในเวลา 15-30 นาที เป็นหนึ่งที่แพทย์ พยาบาล สามารถใช้สร้างปฎิสัมพันธ์บวก กับ "ผู้ป่วยปราบเซียน-difficult patient" ซึ่งมักมีปมทางจิตใจแฝงอยู่ใต้อาการทางกาย

Background : เหตุการณ์ตอนนี้
เส้นทางการงานที่ทำให้ "เรา" ต้องห่างไกลกันคนละทวีป
วันคืนผ่านไปรวดเร็ว เผลอแป๊บเดียวก็เดือนหนึ่งแล้ว
ต้องขอบคุณเทคโนโลยีสื่อสาร ที่ย่อโลกเข้ามา
เราได้คุยกันทุกวัน..แต่เวลาที่แตกต่างกันมากก็ทำให้คุยกันได้ไม่ยาวนัก
.
Affect :  ความรู้สึก
ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเหงา เพราะชินกับการอยู่คนเดียวมาแสนนาน
และเราก็มีแผนการ เป็นความหวังว่าจะได้มาอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวอยู่แล้ว
ยกเว้นเวลาที่ "ภูมิคุ้มกันใจ" ตก 
.
Trobling : ปัญหาหนักหนาที่สุด
สิ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันใจตก ก็คือ 
ความหนักใจ เมื่องานนั้นต้องอาศัย การทำงานเป็น "ทีม"
แต่ก็เป็นภาคบังคับ เพราะงานที่ตั้งใจทำ ล้วนต้องการความเป็นทีม

ความยากในการหาจุดเหมาะสมว่าควรทำแค่ไหน
เหมือนภาษิตฝรั่งว่า "ทำมากไปก็ไม่เหมาะ ทำน้อยไปก็ไม่เหมาะ"
Damned if you do, Damned if you don't

Handling : ที่ผ่านมามีวิธีการผ่านปัญหานั้นอย่างไร
การถอยออกมาตั้งหลัก รอจังหวะ  "ไม่ด่วนสรุป"
และมองว่า ผลจากการได้พยายามทำ ให้บทเรียนที่มีค่าเสมอ

ข้าพเจ้าอดหวั่นใจไม่ได้ว่า โครงงานพัฒนาเครือข่ายจะไปไม่รอด
เพราะแม้ได้รับกำลังใจ สนับสนุน
แต่การหาคนร่วมเป็น "เจ้าภาพ" - commitment ไม่ใช่เรื่องง่าย
ประกอบกับผู้เข้าร่วมประชุมหารือน้อยจนใจหาย

ทว่า..ในที่สุดก็มีอีเมล์ตอบกลับซึ่งช่วยปลุกฟื้นคืนกำลัง
อย่างน้อยก็ให้ความหวัง "พยายาม" ต่อไป 
พร้อมกับความเข้าใจในเหตุผลที่ผู้เข้าประชุมน้อย
เนื่องจากเป็นช่วงเร่งตรวจข้อสอบตัดเกรดกัน 
มิได้แปลว่า ทีมกำลังจะล่มสลายอย่างที่กังวล

Empathy : คิดถึงใจเขาใจเรา
แต่ละคน มี agenda ในชีวิตที่ต่างกัน จะให้เป็นดั่งใจเราหมดคงไม่ได้
ขณะเดียวกัน..สถานการณ์ตอนนี้ มิใช่ข้าพเจ้าคนเดียวที่ประสบ
มีตัวอย่างที่ดีในการหาจุดสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน
เผชิญกับความท้าทายของงาน พร้อมๆ กับช่วงที่ต้องไกลห่างคู่ชีวิต
แล้วก็ผ่านมาอย่างสวยงาม
หนึ่งในนั้นคือ ท่านอาจารย์ รัตนา พันธ์พานิช
ผู้นำ dialogue " รักตัวเอง รักองค์กร : balance work and life" นั่นเองคะ


 

หมายเลขบันทึก: 479662เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2012 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เป็นกำลังใจให้ค่ะ อาจารย์ ป.

กำลังใจจากคนใกล้ตัวสำคัญสุดสำหรับการทำงานค่ะ...

ส่งกำลังใจ ไม่มีอะไร เกินใจ ทุ่ม ขอบคุณค่ะ

เพิ่งสังเกตเห็นว่า บันทึกซ้ำซ้อนกัน เลยต้องลบไปอันหนึ่ง

ขอนำความเห็นมาไว้ ณ ที่นี้คะ

 

ขอบคุณคะอาจารย์บุษยมาศ  เข้าไปอ่านเรื่อง ”ผู้วางแผนชีวิตครอบครัว”

แล้วเห็นด้วยคะว่า บุคคลในครอบครัว สำคัญจริงๆ

ขอบคุณกำลังใจจากคุณ poo มากคะ

ผมได้เทคนิคที่นำไปปรับใช้ในงานและชีวิตผม

ได้เข้าใจชีวิตอาจารย์ด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

เอากำลังใจช่วยนะครับ

ตามมาให้ดอกไม้อีกรอบค่ะ

ขอบคุณคะ คุณหมออดิเรก

ได้อ่านบันทึก การทำงานกับชุมชน
ต้องถือว่าคุณหมอเป็นตัวอย่างนักสู้ที่น่าชื่นชม
การทำงานกับคนนั้นไม่ง่ายเลย
แต่รางวัลแห่งความสำเร็จน่าชื่นใจ 

ขอบคุณสำหรับดอกไม้อีกรอบคะ :)

วันนี้ก็มีทั้งเรื่องดี สร้างแรงใจ
และเรื่องกระทบใจ สั่นคลอนความศรัทธา
หากพิจารณาดู
เป็นเพราะจิตเรามักเกาะแน่นกับเรื่องลบ
ซึ่งคิดไปก็ไม่เป็นประโยชน์
วันนี้จึงตั้งใจว่าจะบันทึกเหตุการณ์ที่สร้างความรู้สึกดี
จะได้เบียดเรื่องลบตกขอบไปซะคะ 

ชอบการวิเคราะห์ปัญหา และการใช้เทคนิคนี้ค่ะ In Place and In Use จริงๆ

ในวันที่หลากหลายเรื่องราวตีกันยุ่งอยู่ในหัว เทคนิคเหล่านี้ช่วยเพิ่ม Clarity ให้ตัวเองได้

ขอเป็นกำลังใจให้อีกคนค่ะ

:)

ขอบคุณคะ 
จริงอย่างที่คุณปริมว่า
ในแต่ละวัน มีเรื่องเกิดขึ้นมากมาย เราเอาเรื่องเก่ามาปนเข้าไปอีก
การ clarify ช่วยให้ตัวเรา เห็นว่า
เรื่องใดเป็นประโยชน์เพราะยังแก้ไขได้
เรื่องใดไร้ประโยชน์ เพราะยังทำอะไรไม่ได้
...

อย่างเศร้าใจบางเรื่อง
เห็นแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ 
นอกจากบอกตัวเองว่า
ใครไม่ศักดิ์ศรีก็ปล่อยเขา
ดูไว้แล้วอย่าทำตาม 

ชอบประโยคนี้มากเลยค่ะ

"การถอยออกมาตั้งหลัก รอจังหวะ "ไม่ด่วนสรุป"

และมองว่า ผลจากการได้พยายามทำ ให้บทเรียนที่มีค่าเสมอ"

เพราะเกิดขึ้นกับตัวเองบ่อยมาก..พลาดเกือบทุกครั้งเมื่อใจร้อน

ขอเป็นกำลังใจให้อีกคนนะค่ะ..

การสรุปโดยเอาเกณฑ์ของตนเป็นที่ตั้ง
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากเลยคะ
สติตามไม่ทัน..ทำให้ใจหนัก

เมื่อพิจารณา อิทธิปัจจัตตา
หากเราคิดว่าเขาทำไม่ถูก
ก็ต้องแก้ที่ตัวเราเอง
แล้วพิสูจน์ผลว่าแตกต่างอย่างไร

ชอบวิธีที่นำมาถ่ายทอดเป็นบันทึกค่ะ

 

อ้อ ชอบคำว่า คะ ของน้องป. ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ :)
สบายดีไหมคะ

การเปลี่ยนพฤติกรรม ความคุ้นชินนี่ยากจริงๆ ด้วย
ต่อไปจะไม่ลืมแล้วค่ะ 

ขอเป็นกำลังใจเล็กๆให้ท่านอาจารย์ตลอดไปครับ ^_^

ขอบคุณค่ะอาจารย์ อยากอ่านลิขิตถอดบทเรียนชีวิตของอาจารย์บ้างจัง 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท