งานบุญประจำปี


งานวัดหนองกลับ

งานบุญประจำปีวัดหนองกลับ ระหว่างวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2555 ณ วัดหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจัดขึ้นประจำทุกปี

กิจกรรมที่สำคัญ เช่น ไหว้พระ ปิดทอง ทำบุญสะเดาะเคราะห์ จับสลากสินค้า ปาโป่ง รำวงย้อนยุค และขาดไม่ได้งานวัดจะต้องมีลิเก...

เก็บภาพมาฝากจากงานบุญค่ะ.

 

หมายเลขบันทึก: 479454เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอบคุณคุณครูต้นเทียนที่นำภาพงานประจำปีวัดใหญ่มาฝาก
  • ครูพูดถึงลิเก เลยทำให้นึกถึงบรรยากาศงานวัดเมื่อสมัยที่ในวัดยังมีโรงลิเกอยู่ เป็นโรงลิเกถาวร ตั้งอยู่ตรงข้างต้นสำโรง ใกล้ๆต้นมะขวิดต้นตาล ต้นโพธิ์ ด้านทิศตะวันตกเมรุของวัดในปัจจุบัน
  • อย่างในภาพถ่ายข้างล่างนี้ เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายเมื่อ๕๐ที่แล้ว(๒๕๐๕) ในภาพตรงมุมขวา ริมสุดนั้น จะมองเห็นต้้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง นั่นคือต้นสำโรง โดยโรงลิเกจะอยู่ติดกับต้นสำโรงดังกล่าว
  • ภาพนี้ไม่เห็นโรงลิเก ก็เพราะว่าตอนแรกนั้นโรงลิเกจะอยู่ท้านทิศเหนือศาลาหลวงพ่อเดิมหลังนี้ ปัจจุบันก็คือบริเวณร้านค้า,อาคารวาปีปทุมรักษ์อนุสรณ์ อายุึ ๕๐ ปีของพระครูวาปีปทุมรักษ์ คือสำนักงานศึกษาธิการอำเภอหนองบัว
  • โรงลิเกโรงนี้ อยู่ต่อมาจนกระทั่งอาตมาบวช(๒๕๒๓) ก็ยังอยู่
  • งานวัดใหญ่ : งานลอยกระทง,งานคัดเลือกทหาร,งานบวชนาคหมู่,งานปิดทองเืดือนสามหรืองานบุญข้าวเปลือก(คืองานช่วงกุมภาพันธ์ที่ครูนำมารายงานนั่นเอง)
  • เมื่อก่อนชาวบ้านริจาคข้าวเปลือกทุกปี ปีหนึ่งได้เป็นสิบๆเกวียน(๑๐ ๆ ตัน)
  • ภาพนี้เป็นของท่านพระครูสงวน 
  • ต้นปีที่ผ่านมาได้ภาพนี้มาจากพระที่ท่านอยู่กับท่านพระครูสงวน โอภาษี(พระครูวุฒิธรรมารักษ์ พ.ศ.๒๔๘๕-๒๕๕๔)
  • สมภารวัดรูปหนึ่งท่านเห็นภาพนี้แล้ว ท่านบอกว่าเออวัดหนองกลับ เป็นแบบในภาพนี้ก็ดีเหมือนกันเนาะ ดูสงบมากเงียบมาก 
  • แม้แต่๒๕๒๓ปีที่อาตมาบวชนั้น วัดก็เงียบมากเลย กลางวันพระรูปเดียวยังไม่ค่อยกล้าเดินไปแุถว ต้นสำโรง หรือแถวๆเมรุเลย 

Large_toyo41217255.
ภาพหมู่ : พระบวชใหม่วัดหนองกลับถ่ายกับพระอาจารย์ในระหว่างพรรษา ๒๕๐๕ หน้าศาลาหลวงพ่อเดิม รูปยืนขวาสุดคือท่านพระครูสงวน โอภาษี รองเจ้าอาวาสวัดหนองกลับ ท่านมรณภาพปีที่แล้ว๒๕๕๔ ปัจจุบันบริเวณที่พระยืนถ่านรูปนี้ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดหนองกลับ,วิหารหลวงพ่อเดิม(มุมขวาศาลา),ที่ตั้งเรือ(ห้องสมุด)

  • ต่อจากเมื่อวาน(วานโกทูโนโพสต์ไม่ได้ในตอนเย็น)
  • ในภาพจะมองเห็นปรัมพิธีหลังเก่า อยู่บริเ้วณตะวันออกวิหารหลวงพ่อเดิม
  • ปัจจุบันถูกรื้อออกไปแล้ว
  • ปรัมพิธีหลังนี้ เกี่ยวข้องกับงานบุญเดือนสาม,บุญข้าวเปลือก งานปิดทองประจำปี
  • โดยในปรัมพิธีนี้ จะเป็นที่เก็บข้าวเปลือกที่ชาวบ้านบริจาคถวายวัด(ปีละเป็นสิบเกวียน)
  • ในที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นที่เก็บข้าวเปลือกในงานบุญเดือนสามแล้ว ในงานอื่นๆของวัดก็จะเป็นสถานที่จำหน่ายธูปเทียน วัตถุมงคล ที่ตั้งเครื่องขยายเสีียงวัด หน่วยประชาสัมพันธ์งาน โฆษกในงานก็ประจำอยู่ที่นี่หลายสิบปี

                    
                   ปัจจุบันบริเวณซ้ายมือในภาพถ่าย คือวิหารหลวงพ่ออ๋อย(ยังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องราวในภาพ เจ้าของภาพคือพระครูสงวน โอภาษี )

กราบนมัสการท่านพระอาจารย์แล อาสโย ขำสุข

ก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ที่มาช่วยเติมแต่งเนื้อหาให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ความจริงอยากจะเล่า ที่มาที่ไปก็เกรงว่าจะไม่ถูกต้อง อีกอย่างก็ไม่ใช่เป็นคนพื้นเพถิ่นนี้และก็ยังพักพิงที่หนองบัวไม่นานเท่าไหร่ ก็คงต้องขอท่านผู้รู้ ผู้มีถิ่นต้นกำเนิดหนองบัว ได้มาบอกเล่าความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้อคิดเห็นของพระอาจารย์ก็ทำให้รู้กระจ่างมากยิ่งขึ้นเลยทีเดียวค่ะ

  • ต้องขอบคุณครูต้นเทียนอย่างมากเลย ที่ช่วยให้รำลึกปรัมพิธีหลังนี้
  • ที่จริงอาตมากำลังหาภาพถ่ายบริเวณวัดหนองกลับอยู่พอดีเลย
  • ในช่วงปลายปี๒๕๕๔ ไปงานศพท่านพระครูสงวน รองเจ้าอาวาสวัดหนองกลับ
  • หลังจากนั้นได้พบรูปถ่ายเก่าๆที่พระท่านพระครูเก็บไว้จำนวนมาก หลายภาพเป็นข้อมูลบอกเล่าชุมชนได้เป็นอย่างดีมากๆ แต่ยังหาผู้ตรวจสอบเรื่องราวอยู่
  • อย่างภาพปรัมพิธีนี้ ให้คนเก่าๆในชุมชนหลายคนดู ก็ยังไม่ทราบรายละเอียด
  • ปรัมพิธีหลังนี้ สร้างโดยหลวงพ่ออ๋อย และอยู่หลวงพ่ออ๋อยจนตลอดอายุของท่าน ได้รื้อหลังท่านมรณภาพหลายปี
  • โรงเีรียนพระปริยัิตธรรม(นักธรรมตรี)คือปรัมพิธีหลังนี้นี่เอง อาตมาก็ได้เรียนนักธรรมตรีที่ปรัมพิธีนี้ด้วย ศิษย์หลวงพ่ออ๋อยที่ท่านบวชให้ทั้งสองตำบลหนองกลับ หนองบัว ที่จำพรรษาวัดหนองกลับ ซึ่งปีหนึ่งๆไม่ต่ำกว่า๕๐-๗๐ รูป
  • ส่วนมากจะบวชครบถ้วนพรรษา จะสึกก็ตกประมาณเืดือน๔ มีนาคมโน่นเลย ฉะนั้นทุกท่าน ก็จะได้เีรียนนักธรรมกัน คือนักธรรมตรี คิดว่าปรัมพิธีหลังนี้ใช้เป็นที่เรียนนักธรรมไม่น่าจะน้อยกว่า ๕๐ ปี
  • เรียกว่าเรียนตั้งแต่รุ่นปู่ จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน พูดได้ว่าปรัมพิธีนี้เป็นโรงเรียยพระปริัยัิิติธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดในหนองบัว 
  • หลังจากที่อาตมาออกจากหนองบัวไปจำพรรษาที่อื่น(๒๕๒๔) ได้ทราบว่าปรัมพิธีได้ใช้เป็นศูนย์เด็กเล็กประจำวัดหนองกลับอีกหลายปีเช่นกัน ก่อนจะมีอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กถาวรข้างสระวัดดังปัจจุบัน
  • ถ้าจำไม่ผิดเคยได้ยินอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ บอกว่าสมัยก่อนนั้นคุณครูเก่าๆหลายท่านของโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(อนุบาลหนองบัว)ได้ใช้เป็นที่สอนพิเศษให้แก่ลูกศิษย์โ่ดยไม่คิดค่าสอน สอนให้ฟรีๆเลย
  • นึกได้คร่าวๆในตอนนี้ ก็มองเห็นคุณค่าปรัมพิธีตั้งเยอะแยะ
  • ที่จริงเป็นคนจดจำอะไรเป็นเรื่องเป็นราวกับเขาไม่ค่อยได้ ส่วนมากจะจำสะเปะสะปะ 
  • คงต้องไปหาข้อมูลของปรัมพิธีเพิ่มเติมอีก

เจริญพรคุณปู

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมงานวัด

  • นึกได้อีกเรื่องหนึ่ง เลยต้องขอมาเพิ่มเติมซะหน่อย เี่ดี่ยวจะลืม
  • คืองานลอยกระทง กระทงที่ทางทำขึ้นมาจำนวนมากนั้น ก็ได้อาศัยแรงงานจิตอาสาจากเด็กๆและคณะครูโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(อนุบาลหนองบัว)ทำให้ทุกปี
  • พอทำเสร็จก็จะนำกระทงมาไว้ที่ปรัมพิธีนี้ ตกค่ำก็จะมีพี่น้องชาวบ้านหนองบัว หนองกลับที่มาเที่ยวงานวัด ก็จะมาซื้อกระของทางวัด กระทงนั้นวางจำหน่ายที่ปรัมพิธี ฉะนั้นค่ำคืนนี้จึงเป็นค่ำคืนที่คึกคักสุดขีดของวัดก็ที่นี่เอง
  • คนหนองบัวมีคู่ดองกันเป็นส่วนใหญ่ คืนนี้ชายหนุ่มที่มีคู่ดองก็จะไปรับคู่ดองของตนมาเที่ยวงานลอยกระที่วัดด้วย
  • จำได้ว่าเมื่อก่อนจะลอยกระทงข้างๆปรัมพิธีนี้่แหละ โดยทางวัดจะทำอ่างน้ำขนาดใหญ่ไว้ ติดปรัมพิธีสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ
  • หนุ่มสาวมาเที่ยวงานกัน เวลาไปบริจาคเงินทำบุญที่ปรัมพิธีจะไปเป็นกลุ่มซึ่งมีแสงไฟสว่างมาก โฆษกจะถามชื่อผู้บริจาค เพื่อประกาศอนุโมทนาบุญ หนุ่มสาวส่วนใหญ่ก็จะอายไ่ม่กล้าบอกชื่อกันด้วย แต่จะบอกชื่อหมู่บ้านแทนกัน ใครมาจากหมู่บ้านไหนก็ออกชื่อหมู่บ้านนั้นแทน เช่นมีสาวๆบ้านเนินควงมาทำบุญ โฆษกก็จะประกาศว่าขณะนี้ได้มีสาวๆจากบ้านเนินควง(พลวง)มาร่วมบริจาคทำบุญกับทางวัด แล้วก็ประกาศอนุโมทนา ด้วยคำพูดเพราะๆฟังแล้วผู้บริจาคก็ยิ้มแป้นกันถ้วนหน้านะซิ

ประเพณีกินดองในชุมชนหนองบัว อ่านได้ที่นี่
 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/476755

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท