ดินเส่ือมขาดสารอาหาร ต้องเจือจารสารอาหารทางใบ


ดินที่ผ่านการใส่ให้ปุ๋ยมาอย่างยาวนานจะมีกรดเกลือในรูปซัลเฟตตกค้างอยู่ค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดดินเปรี้ยว ดินกรดเสื่อมสภาพ ขาดการติดต่อกับจุลินทรีย์เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย

 

ในกรณีที่ปลูกพืชหรือย้ายกล้าลงแปลงไประยะหนึ่งแล้วต้นไม้มิได้มีการเจริญเติบไปในทิศทางที่ต้องการหรือควรจะเป็น คือมีสภาพต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบเหลือง ซีดจาง ไม่ตอบสนองเร่งเร้าต่อการใส่หรือเพิ่มปุ๋ยลงไปไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม มิหนำซ้ำบางครั้งกลับย่ำแย่ลงกว่าเดิม จากความเค็มข้นมากไปของเกลือที่ใส่ในรูปของปุ๋ยที่สะสมเพิ่มปริมาณอยู่ตลอดเวลาทุกครั้งที่มีการเติมเสริมปุ๋ยลงไปในดิน
 
ดินที่ผ่านการใส่ให้ปุ๋ยมาอย่างยาวนานจะมีกรดเกลือในรูปซัลเฟตตกค้างอยู่ค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดดินเปรี้ยว ดินกรดเสื่อมสภาพ ขาดการติดต่อกับจุลินทรีย์เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเขามาอยู่อาศัยและสร้างกิจกรรม ดินจึงมักแข็งกระด้าง หยาบกร้าน แห้งแข็ง มีแร่ธาตุสารอาหารสะสมอยู่น้อย ไม่ว่าจะปลูกพืชชนิดใดลงไปก็ไม่งาม
 
ดังนั้นเพื่อให้พืชที่ปลูกลงไปไม่เสียเปล่าหรือไร้ประโยชน์ สูญเสียโอกาสที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายให้อาแปะอาเฮียที่จะเข้ามารับซื้อจึงควรฉีดพ่นบำรุงด้วยสารอาหารทางใบที่มีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ โดยใช้สูตรปุ๋ยน้ำบำรุงต้น 4-1-3  ที่ละลายด้วยการใช้แม่ปุ๋ยเพื่อประหยัดต้นทุนประกอบไปด้วย
 
1. น้ำ                                                    200 ลิตร
2. ซิลิสิค แอซิด.                                         25 กรัม
3. แคลเซียมไนเตรท 15-0-0                       150 กรัม
4. ยูเรีย 46-0-0                                      225 กรัม
5. โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต 0-52-34            60 กรัม
6. โพแทสเซียมซัลเฟต 0-0-50                    150 กรัม
7. ซิลิโคเทรซ                                       25-50  กรัม
8. ไคโตซานMT                                        50  ซี.ซี.
9. แมกนีเซียมพืช.                                      50  กรัม
10. โบรอนพืช                                          50   กรัม
 11. ซิงค์คีเลท 75 %.                               50   กรัม
12. ฮอร์โมนไข่.                                        50   ซี.ซี.
 
ค่อยๆเรียงลำดับใส่ที่ตัวตามหัวข้อหนึ่ง สอง สามจนถึง สิบสองเพียงเท่านี้เราก็จะได้สารอาหารทางใบที่มีแร่ธาตุสารอาหารครบถ้วนทั้งธาตุหลัก ธาตุรองและธาตุเสริมอีกทั้งยังได้แร่ธาตุพิเศษที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับผนังเซลล์และยังช่วยเร่งการเจริญเติบได้ดีอีกด้วย อ้อ! ระวังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นธาตุวิเศษมหรรษจรรย์อะไรไปนะครับ ซิลิสิค แอซิดจัดเป็นกลุ่มธาตุพิเศษที่บัญญัติไว้ในตารางธาตุอาหารของพืชที่นักวิทยาศาสตร์เกือบทั่วโลกทราบกันดีอยู่แล้วหรือท่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ "ธาตุอาหารสำหรับพืช" แต่งโดยท่านรศ.ดร.ยงยุทธ โอสถสภา แร่ธาตุซิลิสิค แอซิดนี้พืชอาจจะมีหรือไม่มีไว้ใช้ก็ได้แต่ถ้ามีจะช่วยเสริมเพิ่มการเจริญเติบโตและช่วยสร้างความแข็งแรงต้านทานต่อโรคแมลงเพลี้ยหนอนราไรได้ดี ในปัจจุบันกลุ่มธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมักจะไม่ค่อยมีแร่ธาตุซิลิสิคแอซิดเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยจึงขาดโอกาสทำจะทำให้เจริญเติบโตและแข็งแรงไปพร้อมกัน ผลิตภัณฑ์จุลธาตุอาหารเสริมหรือที่ชาวบ้านชอบเรียกฮอร์โมนของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ชื่อว่า ซิลิโคเทรซ และ ไวตาไลเซอร์ จะมีส่วนประกอบของซิลิสิคแอซิดอยู่ด้วยช่วยทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ไม่ต้องใส่เพิ่มเติมหลายรอบในครั้งเดียว
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 479410เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2012 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท