EGA
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) สรอ. Electronic Government Agency(Plublic Orgenization)

Connected Government


Connected Government การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) เพื่อขับเคลื่อนทั้งระบบโดยการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์และเป็นนวัตกรรมในการให้บริการ ซึ่งนำไปสู่ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการของรัฐและก้าวไปสู่ Smart Government & Thailand โดยการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ

( Phase2 ) : ข้อมูลเกี่ยวกับ UN e-Government Readiness ที่นำมาฝากกันในครั้งก่อนนั้น ทำให้ทราบถึงที่มาที่ไป และทำให้ทราบว่า UN e-Government Readiness มีความเกี่ยวข้องกับ e-Government ในบ้านเราอย่างไรไปแล้ว สำหรับวันนี้ข้อมูลที่จะนำมาฝากกันคือส่วนของ Connected Government ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ e-Governmentควรจะเป็น

Connected Government

            การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) เพื่อขับเคลื่อนทั้งระบบโดยการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์และเป็นนวัตกรรมในการให้บริการ ซึ่งนำไปสู่ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการของรัฐและก้าวไปสู่ Smart Government & Thailand โดยการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐซึ่งประกอบด้วยหลายมิติดังนี้

ลัสำคัConnected Government ด้ว

1. ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen centricity)

เป็นมุมมองที่ภาคประชาชนมีต่อภาครัฐ เช่น ความต้องการ ความเข้าใจ หรือการคาดหวังซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ถูกนำมาจัดทำเป็นนโยบาย แผนงานและบริการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคประชาชน รวมทั้งการนำความคิดเห็นของภาคประชาชนมาช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ผ่านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation)

2. โครงสร้างพื้นฐานและการทำงานร่วมกัน (Common infrastructure and interoperability)

การใช้มาตรฐานและวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในทิศทางเดียวกันและเท่าเทียมกันเพื่อเป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศและการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร

3. การบูรณาการด้านบริการและการดำเนินธุรกิจ (Collaborative services and business operations)

การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจโดยการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้าน บริการ รวมทั้งนวัตกรรมของการบริการ และระบบการบริหารจัดการขององค์กร

4. การกำกับดูแลของภาครัฐ (Public sector governance)

การตัดสินใจภายใต้กรอบความรับผิดชอบและความถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลทั้งในส่วนของโครงสร้างและการกำกับดูแล นโยบาย การปกครอง การบริหาร การจัดการ ให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม

5. รูปแบบเครือข่ายองค์กร (Networked organizational model)

ความจำเป็นในการจัดเตรียมรูปแบบเครือข่ายขององค์กรที่มีความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกๆภาคส่วน อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายที่มีคุณค่า

6. การหลอมรวมทางสังคม (social inclusion) 

ความสามารถของรัฐบาลในการก้าวไปข้างหน้าโดยการเชื่อมโยงบริการของรัฐบาลให้เกิดการมีส่วนร่วมทั้งประชาชนและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดนโยบายและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการตัดสินใจที่เกิดจากการหลอมรวมทางสังคม

7. ภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเปิดเผย (Transparent and open government)

การเปิดกว้างในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆของภาครัฐ ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม ง่ายในการตรวจสอบอันนำมาซึ่งความโปร่งใสทางด้านการบริหารและสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาชน

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป้าหมายในการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐเพื่อพัฒนาเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพนั้น ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกๆ ภาคส่วน

ะโน์รเป็Connected Government 

 

 

   เมื่อเรารู้จักและทำความเข้าใจกับ Connected Government กันไปแล้วจากข้อมูลในข้างต้น ในความคิดของท่าน Connected Government ตอบโจทย์ความต้องการในทุกภาคส่วนได้มากน้อยแค่ไหนและเราควรจะเพิ่มเติมรายละเอียดตรงส่วนใด มาร่วมแบ่งปันความคิดกันนะค่ะ หากต้องการสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดข้อใดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้นะคะ

 

 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน EGA
หมายเลขบันทึก: 479316เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คล้ายๆแนวคิดในการจัดสวัสดิการชุมชน เริ่มจาก ชุมชน มาสู่การสนับสนุนของรัฐ และ รัฐท้องถิ่นคือ อบจ อบต เทศบาล มาสูแนวคิด ใน ขาที่สี่ที่มาร่วมหุ้น จัดสวัสดิการให้ชุมชน คือภาคธุรกิจ ด้วยหลักคิดว่า ภาคธุระกิจ ใช้ทรัพยากร ส่วนรวมไปมาก จึงต้องการคืนกำไรสู่สังคม ทางด้านสวัสดิการ ....เช่น กฟภ ปตท. มาสนับสนุนร่วม

 สวัสดีและขอบคุณ

สำหรับกำลังใจค่ะท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei

ใช่ค่ะ คล้ายๆกับแนวคิดในการจัดการชุมชน คือ การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ รับฟังความคิดเห็นของบุคคลในทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการที่แท้จริง แล้วจึงนำมาตรฐานหรือวิธีในการปฏิบัติที่ได้และดีที่สุดมาใช้ในทิศทางเดียวกัน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์และเป็นนวัตกรรมในการให้บริการ และเพื่อให้ตรงตามความต้องการ เพื่อประสิทธิภาพและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกภาคส่วน ซึ่งนำไปสู่ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการของรัฐและก้าวไปสู่ Smart Government & Thailand

หัวข้อที่ใช้ในส่วนลักษณะสำคัญสื่อเห็นภาพแนวปฏิบัติดีค่ะ แต่ไม่ถึงแก่น ข้อย่อยของลักษณะสำคัญ -> บ่งบอกกระบวนการในการดำเนินการเท่านั้น ถ้าสังคมที่มีแนวโน้มไม่เป็นธรรมมาภิบาล (โปร่งใส มีจริยธรรม) ต้องขออภัยถ้ามีการเขียนที่รัดกุมในบทความอื่นๆก่อนหน้านี้หรือจะเขียนต่อไป

คำอธิบายกระบวนการทั้งหมดเมื่อดำเนินการไปจะไม่ มุ่งไปสู่ธรรมาภิบาล ที่แท้ อาจจะเป็นแค่ความประสงค์ของคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้ปัจจัยปั่นกระทบได้ซึ่งในที่สุดอาจไม่ สงบ เพราะไม่มีหลักมั่นคงเพียงพอ

ขอบคุณคะ ที่แวะมาเยี่ยมชม

และขอบคุณสำหรับกำลังใจ

คุณ JJ ,คุณ นงนาท สนธิสุวรรณ

ภญ. ปราณี, ครูอ้อย และคุณ เอกชัย

 

 

ขอบคุณค่ะภญ.ปราณี(วิริยะหนอ )

สำหรับคำแนะนำดีดี ไม่ทราบว่า ภญ.ปราณีพอจะให้คำขยายความหรือ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลค่ะ

ขอบคุณมากครับ เป้นความรู้ ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนมากเลยครับ text ที่ผมเรียนเป็นภาษาอังกฤษ พอได้มาอ่าน บทความนี้แล้วรู้สึกเข้าใจมากขึ้นเยอะเลย 

ขอบคุณมากค่ะ .... เป็นภาคี ... ยอดยอดนะคะ

นำรูปมาฝากค่ะ 


ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ICIIIM 

รมต.ICT 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท