เรื่องเล่าจากครูเพื่อศิษย์ "เล่าเรื่องประเทืองปัญญา" (9)


ทักษะทางภาษาด้วยการปฏิบัติจริง

วันนี้มาเล่าเรื่องคุณครูเพื่อศิษย์ จากเวทีครูเพื่อศิษย์ครั้งที่ 1  เป็นเรื่องเล่าที่อยู่ในทักษะความคิดริเริ่มและการกำหนดชีวิตตนเองของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 

เรื่องเล่าของคุณครูโรงเรียนวัดสวนส้ม จังหวัดสมุทรปราการ สอนวิชาภาษาไทย คุณครูผู้บันทึก จากโีรงเรียนบ้านหนองสานแตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีเรื่องเล่าดังนี้

 เด็กอยู่ในชุมชนแหล่งอุตสาหกรรม ดูแลปัญหาของเด็ก

เมื่อพบปัญหา หาวิธีการต่าง ๆ -> สอบถาม -> ผล

                เด็กไม่ชอบภาษาไทย  และปัญหาเด็กด้านภาษาไทยคือเด็กอ่านไม่ออก แต่สิ่งที่พบเด็กชอบเล่าเรื่อง  และชอบฟังเรื่องเล่าจากครูเล่า  ชอบเป็นผู้ฟัง จึงปรับวิธีการสอน สอนตามใจ  แต่ให้บรรลุตัวชี้วัด โดยหาเรื่องเล่าจูงใจ เช่น สอนเขียนนิทาน  ก็ทำนิทาน  เช่นเล่านิทานที่ชนะเลิศในการประกวดในสถานที่ต่าง ๆ (ทั้งรูป / เรื่อง) อ่านฟังและให้ดูภาพ ให้แรงจูงใจว่าเขาเขียนง่ายเรายังชนะ เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากทำ

                จัดกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้รีสอร์ทขณะที่พาเด็กไปชม ก็แต่งเป็นตัวละคร เมื่อพบเห็นสิ่งใด ก็แต่งเป็นเรื่องให้เชื่อมโยงกัน เด็กสนใจมาก ผลที่ได้รับ ได้ทำงาน และมีผลงานที่หลากหลาย หนังสือนิทาน ภาพป๊อบ อัพ แผ่นพับ หนังสือเล่มเล็ก

                จากวิธีจัดกระบวนการเรียนการสอนดังกล่าว จุดเด่นคือเด็กทุกคน ส่งงานได้ทุกคน

                จากการสอนวรรณคดี นำบทกลอนที่สนุกและน่าสนใจมากๆ โดนใจ สร้างแรงจูงใจ เปลี่ยนกิจกรรม เรียนจากสิ่งที่ชอบ  จากจินตนาการเหตุการณ์จริง ความรู้สึก โชว์ผลงาน นักเรียนใช้ผลงานนักเรียนเป็นสื่อ  ใช้วิธีการชมมากกว่าติ

 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบนี้

                1 ต้องการให้นักเรียนหันมาสนใจเรียนภาษาไทย

                2 ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข

                3 ต้องการให้นักเรียนพัฒนาทักษะทางภาษาด้วยการปฏิบัติจริง เพื่อนำสิ่งที่ได้รับมาใช้ได้จริง

                4 พัฒนาความคิดสร้างสรรค์

 

การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีจะทำให้นักเรียนได้ทักษะมากกว่า 1 ทักษะ  ที่นอกจากความคิดริเริ่มและการกำหนดชีวิตตนเอง แต่ยังจะได้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมและยืดหยุ่นและปรับตัว โดยใช้พื้นที่การเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้เป็นประโยชน์

การจัดบรรยายกาศการเรียนรู้ภายในโรงเรียนหรือจะพานักเรียนไปเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการให้นักเรียนได้เห็น ได้ปฏิบัติ จากสถานที่จริง เป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนได้มากขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 478538เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณพี่ใหญ่ค่ะ สำหรับดอกกุหลาบสวยๆ

นึกว่าส่งรางวัลไปแล้ว 555

ที่อยู่ครับ

ผศ. วิไล แพงศรี

บ้านเลขที่ 7 ซอยชลประทาน-ท่าบ่อ 7 ถนนชลประทาน-ท่าบ่อ ต.ในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  34000

  • รางวัลเดือนนี้มาแล้ว
  • แต่ส่งสัยว่าน้องตูลจะลืมส่งเสื้อ
  • ไปให้ศน ลำดวนไหม 555
  • เป็นเสื้อเบอร์ใหญ่มากๆๆ
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/489544
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท