พระปฐมเจดีย์ วิถีที่เปลี่ยนไป


จากยุคทวารวดี สุ่กรุงรัตนโกสินทร์

พระปฐมเจดีย์ วิถีที่เปลี่ยนไป

          ใครบ้าง ไม่รู้จักพระปฐมเจดีย์ ใครบ้างไม่รู้ประวัติการสร้างพระปฐมเจดีย์ “เจดีย์ที่สูงเทียมเท่านกเขาเหิน” ซึ่ง”พระยาพาน” เป็นผู้สร้างไถ่บาปความผิดที่กระทำ “ปิตุฆาต” พระยากง พระบิดาของพระองค์ ตำนานเรื่องราวเก่าแก่ในท้องคุ้งนครชัยศรี ที่หลาย ๆ คนอาจลืมเลือนไป

คุณค่า ความหมาย ที่บางคนอาจไม่รู้จัก ไม่ให้ความสำคัญ นอกเหนือจากการมาสักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล ปรารถนาความสุข ความสำเร็จ สมหวังในสิ่งที่คิด ที่มุ่งหมาย สังเกตจาก ผู้คนมากมาย หลั่งไหลมากราบไหว้บูชา “พระร่วงโรจน์ฤทธิ์” ที่ประดิษฐานทางทิศเหนือ ขององค์พระปฐมเจดีย์ 

นามแห่งพระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นมงคลนาม ในด้านความสำเร็จ รุ่งโรจน์ ในกิจการ ต่าง ๆ นอกจากนั้น นามแห่ง “พระร่วง” วาจาสิทธิ์ สร้างความเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์ท่าน ว่าหากปรารถนาสิ่งใด ๆ ก็จักสำเร็จสมหวังตามที่ต้องการด้วยวาจาสิทธิ์ของท่าน

หลาย ๆ คนเมื่อมาถึงองค์พระปฐมเจดีย์ สิ่งที่ปรากฏตรงหน้า คือความยิ่งใหญ่ตระการตาขององค์พระปฐมเจดีย์ และเมื่อมุ่งตรงขึ้นบันใดทางขึ้นทิศเหนือ ก็จะเห็นองค์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ พระพุทธรูปสีทองคำอร่ามตา ยิ่งก่อให้เกิดความรู้สึกปีติ ยินดี หายเหนื่อย หายเมื่อย หายร้อนทันทีที่มายืนอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ ด้วยสายลมที่ฉ่ำเย็น แม้นจะยืนอยู่ทำกลางเปลวแดด เวลาเที่ยงยาม ”พระอาทิตย์อ้อมใต้” ยิ่งทำให้เกิดความชุ่มเย็นให้บังเกิดขึ้นในใจ อย่างน่าอัศจรรย์

เดินขึ้นบันไดก่อนถึงองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ บริเวณที่เป็นชั้นพัก มีวิหารที่ประดิษฐานรูปหล่อของพระโสณ และพระอุตระ พระธรรมทูตชาวอินเดียที่ พระเจ้าอโศกมหาราชส่งมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ สังเกตว่ามีผู้คนมากกราบไหว้สักการะบางตานัก ไม่เหมือนกับบริเวณเบื้องหน้าพระร่วงโรจนฤทธิ์

ก้มกราบ เบื้องบาทองค์พระร่วง ระลึกนึกน้อมถึงคุณพระศรีรัตนตรัย ท่ามกลางหมู่ชนพร้อมเสียงเชิญชวนสาธุชนให้ทำบุญ “ฝากดวง” ไว้กับองค์พระปฐมเจดีย์ นัยว่าเพื่อเป็นผลดีแก่ผู้ที่เกิด “ปีชง” ฝากดวงไว้แล้วไม่ต้องกลัว...ดวงละ ๑๐๐ บาท

เดินเวียนขวามาทางทิศตะวันออก ก็พบกับ ซุ้มบูชาระฆังเงิน ระฆังทอง เห็นผู้คนต่อแถวเพื่อนำเอาระฆังในมือ ขึ้นไปแขวนบนรอก ระฆังเงิน ๑๐๐ ระฆังทอง ๒๐๐

เดินต่อไปทางทิศใต้ ก็พบกับหมู่คนอีกจำนวนหนึ่งที่กำลังจุดธูปเพียนบูชา หลวงพ่อศิลาขาว..พระพุทธรูปหินทรายขาวสมัยทวารวดี  องค์ใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท..โดยรอบบริเวณก็มีจุดบูชากระเบื้อง ปูนซีเมนต์ ฯลฯ

 

ทิศตะวันตก เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระนอนองค์ใหญ่ ซึ่งก็มีพุทธศาสนิกชน เดินทางมากราบไหว้บูชา ด้วยพานดอกไม้ที่ทางวัดจัดไว้

บริเวณวิหารคดด้านนอกเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางต่างๆ เทวะรูปองค์สำคัญ ใบเสมาหิน เสาหลักเมืองฯลฯ

บริเวณโดยรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ก็มีบรรดาร้านค้าอาหารเครื่องดื่ม พร้อมสถานที่จอดรถที่กว้างขวางสะดวกสบาย สิ่งที่พลาดไม่ได้ไปชมในวันนั้น คือ พิพิธภัณฑ์ของวัดที่ปิดพักเที่ยง

การเดินทางจากรุงเทพฯ สู่นครปฐมวันนี้ ใช้เวลาราว หนึ่งชั่วโมง ด้วยความสะดวกรวดเร็ว นึกถีงภาพการเดินทางด้วยเรือทางคลองมหาสวัสดิ์ไม่ออก ท้องทุ่งนาริมทางเปลี่ยนเป็นตึกรามบ้านช่อง ขับรถเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ ผ่านสี่แยกแห่งหนึ่งเห็นกองซากอิฐที่เป็นโบราณสถานที่เราไม่รู้จักไม่ทราบชื่อ ไม่รู้ถึงความสำคัญ นอกเหนือจากกองอิฐเก่า ๆ  ริมถนนบนความเจริญสายใหม่เท่านั้น

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พระปฐมเจดีย์
หมายเลขบันทึก: 477754เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะIco64 ...การทำนุบำรุงศาสนาทุกศาสนา มีรูปแบบวิธีการที่แตกต่างกันนะคะ...แต่บรรยากาศของพระปฐมเจดีย์อ่านแล้วนึกถึงภาพวัดต่างๆในประเทศไทยที่มีลักษณะดังกล่าว...อยากให้กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม...มองเห็นความสำคัญด้านภูมิทัศน์ของวัด...ให้มากกว่านี้เพราะมีทั้งธุรกิจและร้านค้าต่างๆมากมายในบริเวณพื้นที่วัด...

บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์  มีต้นไม้ ดอกไม้  ร่มรื่น 

เมื่อ 20 ปีมาแล้วเคยไปเดินเล่น  นั่งเล่น เย็นใจ
ตอนเย็นๆจะมีอาหารการกิน  มากมายค่ะ

ใหญ่โตมากครับไม่น่าเชื่อว่าคนยุคก่อนเค้าจะสร้างได้ทั่งที่ไม่มีเทคโนโลยีทันสมัย

ไม่เคยทราบมาก่อนถึงประวัติความเป็นมาของพระปฐมเจดีย์...

เจ้านายน้อยบรรยายแล้วมองเห็นภาพเลย  ชอบประโยคนี้ค่ะ


หลาย ๆ คนเมื่อมาถึงองค์พระปฐมเจดีย์ สิ่งที่ปรากฏตรงหน้า คือความยิ่งใหญ่ตระการตาขององค์พระปฐมเจดีย์ และเมื่อมุ่งตรงขึ้นบันใดทางขึ้นทิศเหนือ ก็จะเห็นองค์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ พระพุทธรูปสีทองคำอร่ามตา ยิ่งก่อให้เกิดความรู้สึกปีติ ยินดี หายเหนื่อย หายเมื่อย หายร้อนทันทีที่มายืนอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ ด้วยสายลมที่ฉ่ำเย็น แม้นจะยืนอยู่ทำกลางเปลวแดด เวลาเที่ยงยาม ”พระอาทิตย์อ้อมใต้” ยิ่งทำให้เกิดความชุ่มเย็นให้บังเกิดขึ้นในใจ อย่างน่าอัศจรรย์

 

เสียอย่างเดียว... ไม่ชวนกันเลย  ฮาๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

แอบมาเที่ยวเมื่อไหร่คะคุณหมอ...ตอนนี้อะไรๆก็เปลี่ยนหมด...ภาพเก่าขององค์พระแทบไม่เหลือแล้ว..ต้นจันทน์ข้างบน ลูกเคยหล่นสลอนตอนนี้อายุก็มาโข..ลำต้นก็ต้องเอาปูนไปซ่อมไว้..ไม่รู้จะล้มเมื่อไหร่...

รูปยืมมาจาก....http://www.oknation.net/blog/print.php?id=620936

 

สวัสดีค่ะคุณครูเลิศฤทธิ์

  • คุณยายแวะมาเยี่ยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท