รายการสายใย กศน. 6, 13, 20, 27 ก.พ.55


6 ก.พ.55 เรื่อง “การนำนโยบายของ รมว.ศธ. มาพัฒนางาน กศน.”, 13 ก.พ.55 เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงกับเกษตรธรรมชาติ”, 20 ก.ย.55 เรื่อง “การบริหารงานบุคคล”, 27 ก.ย.55 เรื่อง "กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี"

รายการสายใย กศน.  วันที่  27  กุมภาพันธ์  2555

 

         เรื่อง “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี”

 

         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์
         วิทยากร คือ
         - ดร.ปรีชา  ชื่นชนกพิบูลย์  ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
         - ดร.โยฑิน  สมโนนนท์  นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

 

         “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล จากวิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์พลังสตรี ให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ”  โดยกำหนดเป็นวาระเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปี 2555  สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนแบบดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อการพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ และสวัสดิการให้แก่สตรี รวมถึงการพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี การพัฒนาบทบาทสตรี การสร้างภาวะผู้นำ และการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ   ทั้งนี้รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะทำงานร่วมกับองค์กรสตรีตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ เพื่อให้โอกาสสตรีในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน ได้มีส่วนในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา เพื่อสตรีทุกคน  โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสตรีต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อให้สตรีไทยได้ใช้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในการสร้างสรรค์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

 

         คณะกรรมการขับเคลื่อนกองทุนฯ ประกอบด้วย 7 กระทรวง คือ

         1)  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี   ( ดร.นลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่ด้านอำนวยการ และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ )
         2)  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
         3)  กระทรวงมหาดไทย
         4)  กระทรวงสาธารณสุข
         5)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
         6)  กระทรวงแรงงาน
         7)  กระทรวงศึกษาธิการ

        
         “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
         1. เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย ในการสร้างโอกาสให้สตรีเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ หรือสวัสดิการให้แก่สตรี
         2. เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี การเฝ้าระวังและดูแลปัญหาของสตรี ตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยาสตรีที่ประสบปัญหาในทุกรูปแบบ การรณรงค์ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติ และการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี
         3. เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนาบทบาทสตรี การแก้ไขปัญหาสตรีขององค์กรต่าง ๆ การสร้างภาวะผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของสตรี
         4. เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการสนับสนุนโครงการอื่น ๆ ที่เป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสตรีตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร

 

        ( เงินทุนประมาณ 80 % จะเป็นเงินทุนหมุนเวียน  อีกประมาณ 20 % เป็นเงินช่วยเหลือเยียวยาสตรีที่ประสบปัญหา )

 

         จะมีคณะกรรมการกองทุนระดับตำบล กับคณะกรรมการระดับจังหวัด  โดยสมาชิกเลือกมาจากสมาชิก กับกรรมการที่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับละ 5 ท่าน   การจัดการเลือกตัวแทนสมาชิกระดับหมู่บ้าน/ระดับอำเภอ เป็นบทบาทของกระทรวงมหาดไทย   การรับสมัครลงทะเบียนสมาชิกเป็นบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการโดย กศน.

 


         มีคณะอนุกรรมการ 4 คณะ
         1)  คณะอนุกรรมการจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
         2)  คณะอนุกรรมการดำเนินการเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในระดับตำบลและระดับจังหวัด
         3)  คณะอนุกรรมการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายองค์กรสตรีในกรุงเทพมหานครและ 4 ภูมิภาค และประชุมเพื่อคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
         4)  คณะอนุกรรมการจัดงานเพื่อเปิดตัวกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ( วันสตรีสากล 8 มี.ค.  แต่อาจจะเลื่อน )

 

         ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต เป็นศูนย์อำนวยการและประสานงานกลาง รับรายงานข้อมูลจำนวนการลงทะเบียนเป็นสมาชิกในภาพรวมของประเทศ จัดเจ้าหน้าที่ไว้ 40 คน  และให้เจ้าหน้าที่ผู้แทนจังหวัดละ 2 คน มาปฏิบัติหน้าที่เพื่อรับรายงานและสรุปข้อมูลของจังหวัดที่รับผิดชอบเป็นรายวัน สรุปข้อมูลเป็นรายจังหวัดเพื่อนำเรียนเลขาธิการ กศน.   และเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต สรุปรายงานข้อมูลจำนวนผู้ลงทะเบียนเป็นรายภาคและประเทศ  ( ผู้สมัครลงทะเบียนโดยตรงในระบบออนไลน์ ก็มีสิทธิเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทนหมู่บ้านด้วย )

 

         ในต่างจังหวัด ให้ครู กศน.ไปรับสมัครถึงหมู่บ้าน หรือไปเคาะประตูบ้านเลย  ส่วนใน กทม. ซึ่งชุมชนหนาแน่น ให้รับสมัครอยู่ที่ สนง.เขต, กศน.เขต, กศน.แขวง
         รับสมัครสตรีสัญชาติไทยที่อายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ( เกิดก่อน 1 มี.ค.2540 ) ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวหรือทะเบียนบ้านหรือใบขับขี่ ...
         เป้าหมาย 10 ล้านคน ( จากสตรีทั้งหมดประมาณ 30 กว่าล้านคน ) ถึงวันที่ 26 ก.พ.55 มีผู้สมัครเพียง 2 ล้านกว่า

 


         สิทธิของผู้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกรอบแรก

         1. มีสิทธิเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกผู้แทนเพื่อเป็นกรรมการ ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบลและระดับจังหวัด
         2. สามารถใช้สิทธิในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ได้ตามเงื่อนไขและระเบียบของกองทุนฯ
         ( สมัครที่ไหนก็ได้  แต่ถ้าต้องการร่วมกระบวนการคัดเลือกผู้แทน ต้องกลับไปที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน   เมื่อได้กรรมการระดับตำบล ระดับจังหวัดแล้ว ต่อไปจะเปิดให้สมัครได้ตลอด แต่จะมีสิทธิเฉพาะข้อ 2. คือการเข้าถึงแหล่งทุน )  รัฐจะสนับสนุนเงินกองทุนให้เฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้าน แตกต่างกันตามขนาด

 

 

 

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  20  กุมภาพันธ์  2555

 

         เรื่อง “การบริหารงานบุคคล”

 

         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์
         วิทยากร คือ
         - นายสัจจา  วงศาโรจน์  ผอ.กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงาน กศน.

 

         - นโยบายรัฐบาล ถ้าลูกจ้างประจำออก ( เกษียณ ลาออก ฯลฯ ) จะเปลี่ยนอัตราเป็นลูกจ้างชั่วคราวหรือพนักงานราชการ

 

         - ที่ประชุม อ.ก.ค.ศ.สป. เมื่อ 17 ก.พ.55 เห็นชอบให้เปิดสอบบุคลากรประเภทต่าง ๆ แล้ว  ซึ่ง กศน.จะเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ และเชิญกรรมการมาประชุมกำหนดรายละเอียด แล้วจึงประกาศรับสมัคร  คาดว่าจะประกาศรับสมัครในเดือน มี.ค.55
            1)  ผอ.จังหวัด/กทม.,  รอง ผอ.จังหวัด/กทม., ผอ.สถานศึกษา, รอง ผอ.สถานศึกษา, ศน.  รับเฉพาะคนใน

 

            2)  บุคลากรทางการศึกษาที่จังหวัด ( นักวิชาการศึกษา, นักจัดการงานทั่วไป ) และบรรณารักษ์

 

                  - ถ้าเป็น 3 จังหวัดชายแดนใต้และ 4 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา  รับเฉพาะคนใน
                  - จังหวัดอื่น ๆ  รับบุคคลทั่วไป  ( เป็นไปตามข้อกำหนดของ ก.ค.ศ. )

 

         - ตำแหน่งว่างที่มีตอนนี้
             1)  ผอ.จังหวัด/กทม.  ว่าง 11  จะเกษียณ 30 ก.ย.55 อีก 6 รวมเป็น 17 ตำแหน่ง
             2)  รอง ผอ.จังหวัด/กทม.  ว่าง 9  จะเกษียณ 30 ก.ย.55 อีก 1 รวมเป็น 10 ตำแหน่ง
             3)  ผอ.สถานศึกษา  ว่าง 10  จะเกษียณ 30 ก.ย.55 อีก 30 รวมเป็น 40 ตำแหน่ง
             4) รอง ผอ.สถานศึกษา และ ศน. มีตำแหน่งว่างน้อย   ถึงแม้จะมีกรอบอัตรา ศน.จังหวัดละ 4 คน แต่ไม่มีอัตราเงินเดือน ต้องคอยเปลี่ยนอัตราว่างของตำแหน่งครูให้เป็นตำแหน่ง ศน.
             5)  นักวิชาการศึกษา นักจัดการงานทั่วไป ของจังหวัด  ว่างตำแหน่งละ 40-50  รวม 2 ตำแหน่งเป็น 80-100
             6)  บรรณารักษ์  ว่าง 40-50 ตำแหน่ง   ต้องจบสาขาบรรณารักษ์ หรือสารสนเทศ หรือสาขาที่กำหนดที่เรียนวิชาบรรณารักษ์ด้วย

 

         - คุณสมบัติ/หลักเกณฑ์ ในการรับสมัครสอบตำแหน่งต่าง ๆ เหมือนกับที่เคยสอบ ( หาดูรายละเอียดคุณสมบัติได้ที่เว็บไซต์ ก.ค.ศ. )  ยกเว้น ตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษา ต้องคอยหลักเกณฑ์ใหม่จาก ก.ค.ศ. ที่ไม่มีการสอบสัมภาษณ์ และแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มทั่วไปกับกลุ่มประสบการณ์    จะสอบเป็นรอง ผอ.สถานศึกษาต้องเป็นครูมาแล้ว 4 ปี   ตำแหน่งอื่นเช่นบรรณารักษ์จะมีสิทธิสมัครสอบเป็น ผอ./รอง ผอ.สถานศึกษาหรือไม่ ต้องเสนอประสบการณ์การทำหน้าที่ครูให้ ก.ค.ศ.พิจารณา    ผู้ที่จะสมัครสอบเป็น ผอ.จังหวัด/กทม. ต้องเป็นรอง ผอ.จังหวัด/กทม.มาแล้ว 5 ปี และมีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  หรือเป็น ผอ.สถานศึกษามาแล้ว 5 ปี และมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
           ( การสอบพนักงานราชการ ให้จังหวัดดำเนินการเอง เปิดสอบเมื่อจังหวัดนั้นมีอัตราว่างและไม่มีผู้สอบขึ้นบัญชีไว้  โดยรับบุคคลทั่วไป )

 

         - ข้าราชการครูที่จะไปเข้ารับการอบรม ( พัฒนา ) เพื่อการเลื่อนวิทยฐานเป็นชำนาญการพิเศษ หรือเชี่ยวชาญ จะต้องมีความพร้อมแล้ว เช่นเริ่มทำผลงานแล้ว เพราะการผ่านการอบรมพัฒนานี้มีอายุเพียง 3 ปี  ( อ.ก.ค.ศ. เป็นผู้แต่งตั้งผู้อ่านผลงานชำนาญการพิเศษ   ก.ค.ศ.เป็นผู้แต่งตั้งผู้อ่านผลงานเชี่ยวชาญ )

 

         - ครูผู้ช่วย ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี โดยประเมิน 3 เดือน/ครั้ง  ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินฯจะถูกให้ออก  คณะกรรมการประเมินประกอบด้วย
             1)  ผอ.สถานศึกษา
             2)  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการสถานศึกษา
             3)  ครู ( พี่เลี้ยง )

 

         - ขณะนี้ทั้ง ก.พ. และ ก.ค.ศ. กำลังทำหลักเกณฑ์จะประกาศให้ข้าราชการบรรจุใหม่ วุฒิปริญญาตรี ได้เงินเดือน 11,000 ( 11,680 ) บาท + ค่าครองชีพ 4,000 ( 3,320 ) บาท ตั้งแต่ ม.ค.55    พนักงานราชการทุกตำแหน่งรวมทั้งตำแหน่งครู กศน.ตำบลที่บรรจุด้วยวุฒิปริญญาตรี ก็จะได้ 11,000 ( 11,680 ) + 4,000 (3,320 ) บาท เช่นกัน    รวมทั้งผู้ที่รับราชการอยู่ก่อน ซึ่งมีอายุราชการ 1-10 ปี ก็จะปรับเพิ่มให้ได้มากกว่า 15,000 บาท ตามลำดับ พร้อมกัน  ( ไม่ปรับเพิ่มให้ผู้ที่อายุราชการเกิน 10 ปี เพราะกลุ่มนี้จะมีเงินเดือนเกิน 15,000 บาท ไปมากอยู่แล้ว )
             ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ครู ศรช.ที่ไม่ได้เป็นพนักงานราชการ  รัฐบาลบอกให้ดูเงินตัวเอง ( เงิน กศน. ) ถ้ามีพอจ่ายก็สามารถปรับให้เป็น 11,000 ( 11,680 ) บาท  ( ส่วนกลางกำลังดูว่าจะมีเงินจ่ายให้แค่ไหน )

 

         - ผู้ที่รับราชการในจังหวัดชายแดนใต้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น
           1)  ได้ค่าตอบแทนพิเศษเดือนละ  2,500 บาท
           2)  ลดอายุราชการในการขอวิทยฐานะลงครึ่งหนึ่ง  ( การขอเครื่องราชฯก็ลดอายุราชการลงครึ่งหนึ่ง แต่ต้องมีผลงานตามที่กำหนด )
           3)  การเลื่อนขั้นเงินเดือน มีโควตาพิเศษ
           4)  ลาพักผ่อนได้มากกว่าปกติ

 

         - การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ ประเมินปีละ 2 ครั้ง เลื่อนเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง  
           ส่วนการเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ ประเมินปีละ 2 ครั้ง เลื่อนปีละครั้งเดียว  ผลการประเมินแบ่งเป็น 5 ระดับ  ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์จะไม่ต่อสัญญา

 

         - ในเดือน ม.ค.55  กพ.ออกระเบียบให้ข้าราชการพลเรือน ชาย ลาไปช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตรได้ 15 วัน    ส่วนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตอนนี้ยังลาไม่ได้ แต่ ก.ค.ศ.กำลังจะแก้ระเบียบให้เหมือน กพ.

 

         - ครูผู้ช่วยที่ยังไม่ครบ 2 ปี ยังย้ายไม่ได้  เว้นแต่จะมีความจำเป็นจริง ๆ เช่นถูกประทุษร้าย ซึ่งต้องให้ ก.ค.ศ.พิจารณา

 

         - ข้าราชการพลเรือนและบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่จะโอนเป็นครู ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและมีประสบการณ์การสอน 2 ปี 

 

 

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  13  กุมภาพันธ์  2555

 

         เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงกับเกษตรธรรมชาติ”

 

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน
         วิทยากร คือ
         - นายประยูร  ดังก้อง  ผอ.ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว
         - นายพิพัฒน์  ศุภพิมล  ครูชำนาญการพิเศษ  ศฝช.สระแก้ว
         - นายสุชาติ  นพสมบูรณ์  เกษตรกรชุมชนย่อยที่ 12 อ.เมืองฯ จ.สระแก้ว
         - อ๋อย  ศรีวิจารณ์  เกษตรกร อ.โคกสูง จ.สระแก้ว

 

         เกษตรธรรมชาติ คือเกษตรไร้สารพิษที่ดีที่สุด คล้ายเกษตรอินทรีย์ แต่นอกจากจะไม่ใช้สารเคมี ( ทั้งปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช ) แล้ว ยังเน้นเรื่องครอบครัวอบอุ่น ศิลปวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันในสังคม ความสามัคคี การบำบัดรักษา ด้วย   โดย ศฝช.ทั้ง 9 แห่ง ได้ทำ MOU กับมูลนิธิ MOA ของญี่ปุ่น  ส่งบุคลากรไปศึกษาฝึกอบรมดูงานเกษตรธรรมชาติที่ญี่ปุ่น และกลับมาร่วมกับมูลนิธิ MOA สนับสนุนให้ความรู้อบรมเกษตรกร
         ต้องเปลี่ยนความคิดของเกษตรกรที่เคยชินกับการใช้สารเคมีมายาวนาน
         ผลผลิตเกษตรธรรมชาติจะเป็นที่ต้องการของตลาดมาก เพราะปัจจุบันประชาชนให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ  ตลาดวิ่งมาหาเอง  เกษตรกรมีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท  มีที่ดินเพียง 50 ตารางวาก็เพียงพอ  เป็นอาชีพที่ยั่งยืน แก้ปัญหาการย้ายถิ่น ซึ่งปกติการสู้รบตามแนวชายแดนจังหวัดสระแก้วทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่น
         ที่ ศฝช.สระแก้ว มีแปลงสาธิตเกษตรธรรมชาติทั้งในและนอกศูนย์ฯ ทำให้เกษตรกรยอมรับเกษตรธรรมชาติมากขึ้น  ( รายที่ยังไม่ยอมรับ ก็จะให้ค่อย ๆ ลดการใช้สารเคมีลง จนเลิกใช้สารเคมีในที่สุด )   ใน ศฝช.สระแก้ว มีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การปลูกผัก การเพาะเห็ด การปลูกข้าวโพด   เกษตรธรรมชาติจะช่วยให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีสุขภาพดี  จากเดิมการใช้สารเคมีทำให้เกษตรกรที่ทำการเกษตร 20 ปีขึ้นไป แล้วตรวจเลือด พบว่ามีปัญหาเจ็บไข้ได้ป่วย เกือบทั้งหมด  มีเพียง 2-3 % ที่ไม่มีปัญหา

 

         การเปลี่ยนมาเป็นเกษตรธรรมชาติ ใน 2 ปีแรกจะได้ผลผลิตน้อย เพราะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีจึงจะปรับปรุงดินที่แข็งเพราะปุ๋ยเคมีได้ ( การใช้ปุ๋ยเคมีจะทำให้ผลผลิตคงที่หรือลดลงถ้าไม่เพิ่มปุ๋ยเคมี  จึงต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมีขึ้นเรื่อย ๆ )  แต่พอปีที่ 4-5 จะได้ผลมากกว่าการใช้สารเคมี และสามารถลดปุ๋ยหมักลงได้ด้วย   ผลผลิตเกษตรธรรมชาติจะมีรสชาติหวานกรอบกว่าและเก็บไว้ได้นานกว่า   เกษตรธรรมชาติจะใช้วิธีควบคุม เช่นใช้แมลงที่มีประโยชน์ควบคุมแมลงที่เป็นโทษ  ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำแก้โรคราน้ำค้างไม่ให้ลุกลาม ใช้ปุ๋ยคอกบำรุงดินเพื่อช่วยแก้โรคและสร้างภูมิคุ้มกัน  ตัดหญ้า ( ไม่ถาก ) แล้ววางคลุมดินไว้  หรือใช้วิธีการถอนหญ้าเป็นการพรวนดินในตัว  ใช้เศษผลผลิตเช่นเปลือกข้าวโพด มะเขือเทศที่มีตำหนิ เป็นอินทรียวัตถุใส่ดินให้ดินร่วนซุย  ปลูกพืชที่ระดับรากลึกไม่เท่ากันไว้ด้วยกัน
         มีการทำงานในแปลงนาร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก ใช้แรงงานภายในครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวอบอุ่น  ถ้ามีพื้นที่มากต้องจ้างแรงงาน ก็แบ่งไว้ช่วยกันทำเอง 1-2 ไร่   อย่างน้อยมื้อเย็นต้องทานอาหารร่วมกัน

 

 

         คุณอ๋อย เป็นเกษตรกรธรรมชาติใน อ.โคกสูง  ปลูกเห็ดนางฟ้า สะระแหน่ และปลูกต้นหอม ผักกาด อย่างละ 50 ต้น  ปลูกมะม่วง ลำไย แอ็ปเปิ้ล อย่างละ 10 ต้น  รวม 10 ไร่   ทำปุ๋ยน้ำหมักไว้ 10 กว่าถัง  ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีมา 5 ปีแล้ว   ชักชวนเกษตรกรในชุมชนได้ 30 % รวมกลุ่มทำเกษตรธรรมชาติ โดยคุณอ๋อยแนะนำขั้นตอนวิธีการทำเกษตรธรรมชาติ

 

 

         กลุ่มเกษตรธรรมชาติในชุมชนย่อยที่ 12 อ.เมืองฯ ของนายสุชาติ  นพสมบูรณ์  มี 60 ครอบครัว แบ่งแปลงกันในพื้นที่ 26 ไร่  มีความสามัคคี โดยมีกฎเกณฑ์ให้สมาชิกดูแลกันเองว่าใครแอบใช้สารเคมีบ้าง มีการตักเตือน จนถึงการให้ออกจากกลุ่ม   ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเดือนละครั้ง

 

 

         ( ขั้นรายการโดยการฉายคลิปวิดีโอ การแข่งขันกีฬา กศน.เกม จ.พังงา ประจำปีการศึกษา 2555 ซึ่งมีการแข่งขัน 10 ชนิดกีฬา   และ ประชาสัมพันธ์การประกวดคลิปวิดีโอกิจกรรม กศน. “คลิปดีงานเด่น กศน.” เพื่อนำคลิปมาออกอากาศในรายการสายใย กศน. และให้รางวัลในวันที่ 8 ก.ย.55 )

 

 

         เป้าหมายของ ศฝช.สระแก้ว จะให้ครูอาสาฯทั้ง 11 คน จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ในหมู่บ้านหลักของแต่ละคน


 

 

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  6  กุมภาพันธ์  2555

 

         เรื่อง “การนำนโยบายของ รมว.ศธ. มาพัฒนางาน กศน.”

 

         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์
         วิทยากร คือ
         - นายประเสริฐ  บุญเรือง  เลขาธิการ กศน.

 

         ( เริ่มรายการโดยเปิดเทปการมอบนโยบายการศึกษาของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 25 ม.ค.55 ณ หอประชุมคุรุสภา
            นโยบาย
            1. "จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทุกคน" คำว่า เยาวชน คือตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6   เยาวชนต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกันทุกแห่งไม่ว่าในเมืองหรือชนบท

            2. “ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมืออาชีพ” คำว่า นักศึกษา คือ อุดมศึกษา อาชีวศึกษา หรือสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป   นักศึกษาจบแล้วต้องเป็นมืออาชีพ

 

            การขยายโอกาสทางการศึกษา 4 ด้าน
            1) โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม

                    - ฯลฯ
                    - ... ... แก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส  ด้วยการอบรมคุณธรรม ทำบัญชีครัวเรือน ...
                    - ฯลฯ
            2) โอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน  นักเรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยที่ผู้ปกครองและนักเรียนไม่ต้องมีความกังวลในเรื่องทุนการศึกษา
            3) โอกาสในการเพิ่มพูนและฝึกฝนทักษะ   นักเรียนทุกคนสามารถเติบโตได้ในโลกที่เป็นจริง การเรียนรู้บนการทำกิจกรรม (Activity-Based Learning)
            4) โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต   ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
                   - โครงการ Internet ตำบล และ Internet หมู่บ้าน (ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน)  เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนค้นหาความถนัดของตนเอง เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อการต่อยอดในสิ่งที่ต้องการทำ
                   - ฯลฯ )

 

 

         กศน.นำนโยบายของ รมว.ศธ. มาพัฒนา 5 ด้าน คือ

         1. ยกระดับการศึกษาให้ประชาชนทุกคนจบ ม.6 อย่างมีคุณภาพ  โดย

             1.1  เปลี่ยนรูปแบบการเรียน ประถม - ม.ปลาย แบบพบกลุ่ม ให้ผู้ที่มีอาชีพ-ประสบการณ์ สามารถเรียนจบภายในระดับละ 1 ปี ( 2 ภาคเรียน )  ด้วยการให้เทียบโอนอาชีพ-ประสบการณ์ และให้เรียนจำนวนหน่วยกิตในแต่ละภาคเรียนมากกว่าเดิม
             1.2  ให้สถาบันการศึกษาทางไกล เปลี่ยนรูปแบบการเรียนทางไกลให้ผู้ที่มีอาชีพ-ประสบการณ์สามารถเรียนจบได้ภายใน 1 ปี ในลักษณะเดียวกัน
             1.3  เปลี่ยนรูปแบบการเทียบระดับการศึกษา สำหรับผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป  ให้มีการสอบเทียบความรู้ การเทียบอาชีพ-ประสบการณ์ การฝึกภาคปฏิบัติ  โดยใช้เวลาภายใน 8 เดือน

 

         2. ส่งเสริมและจัดการศึกษาตลอกชีวิต  โดยใช้แท็ปเล็ตร่วมกับนักเรียน ( ที่ สพฐ.ซื้อ )   ด้วยการนำเนื้อหาหลักสูตร กศน. เข้าไปไว้ในแท็บเล็ตด้วย  เมื่อนักเรียนนำกลับบ้านตอนเย็น ให้กลุ่มเป้าหมาย กศน.ที่บ้านเรียนรู้จากแท็ปเล็ต  ( กศน.ซื้อแท็ปเล็ตเองประมาณ 1,000 เครื่อง สำหรับประจำหน่วยเคลื่อนที่และรถโมบายของทุกจังหวัด )

 

         3. ให้มีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนครบทุกตำบล  เพื่อสอนอาชีพให้ทุกคนมีงานทำมีรายได้  โดย รมว.จะนำหลักเกณฑ์ในการจัดอาชีพ เข้า ครม. เพื่อให้เบิกจ่ายได้มากขึ้น เช่นมีเบี้ยเลี้ยงให้ผู้เรียน มีเงินลงทุนให้ เพิ่มค่าศึกษาดูงาน ค่าตอบแทนวิทยากร เพื่อให้ได้วิทยากรเก่ง ๆ    ศูนย์ฝึกอาชีพนี้จะสอดคล้องกับการผลิตสินค้า OTOP ด้วย

 

         4. ใช้ ETV จัดการศึกษาทางไกล ของ กศน. สพฐ. อาชีวะ

 

         5. ให้มี Internet กศน.ตำบล ครบทุกตำบล พร้อม wifi   มีคอมพิวเตอร์ตำบลละ 6 เครื่อง   ส่งเสริมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนไปด้วย โดยนำผลผลิตมาโฆษณาจำหน่ายใน Internet

 

 

         ทั้งนี้ ท่านเลขาธิการ กศน. เน้นย้ำให้ทุกสถานศึกษา ส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนและพูดภาษาอังกฤษได้  ภาษารองคือภาษาจีน

 

         ในเรื่องความคืบหน้าของ พรบ.การศึกษาตลอดชีวิต   ถ้ามี พรบ.การศึกษาตลอดชีวิตออกมา เราก็จะจัดการศึกษาให้กับทุกคนในประเทศไทย ( 64 ล้านคน ) ตั้งแต่เกิดจนตาย    ขึ้นตรงต่อ รมว.ศธ. ซึ่งจะคล่องตัว  ประชาชนอยากเรียนอะไรต้องได้เรียน  กิจกรรมจะหลากหลาย เช่นจัดตั้งทีวีเสรี ( ดูได้ทั่วไป ) ขึ้นอีก 1 ช่อง เพื่อจัดการศึกษาตลอดชีวิต
         เดิม ท่าน รมว.คนเก่า ส่งร่าง พรบ.การศึกษาตลอดชีวิต ไปยังสำนักงาน ครม.แล้ว แต่ไม่ได้นำเข้าที่ประชุม  จนเปลี่ยน รมว. สำนักงาน ครม.จึงจะส่งร่าง พรบ.นี้คืนกลับมา   ท่านเลขาธิการ กศน.จะทำหนังสือส่งท่าน รมว.คนใหม่ ให้ท่านนำ พรบ.นี้เข้า ครม.อีก

 


         ในนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  กำหนดให้ กศน.เป็นกรรมการขับเคลื่อน โดยให้ กศน.จัดทำประชาคม เลือกตั้งคณะกรรมการกองทุนฯทุกตำบล รับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ ให้เกิดกองทุนฯที่มีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อประชาชน   ซึ่ง กศน.มีหลักสูตรเพื่อความเท่าเทียมกันระหว่างสตรี-บุรุษ เช่นหลักสูตรส่งเสริมประชาธิปไตย

 

         อีกเรื่องคือ ปปช. ทำ MOU กับ กศน. เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและป้องกันการทุจริต  จึงขอเชิญ ผอ.สนง.กศน.จังหวัด 77 จังหวัด ไปประชุมรับนโยบายนี้ ในวันที่ 14-16 ก.พ.55

 

         สิ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญคือ ท่าน รมว.คนใหม่ห้ามมีการทุจริต  ต้องโปร่งใส  โดยเฉพาะการสอบผู้บริหาร  ให้สอบข้อเขียนอย่างเดียวไม่มีคะแนนสัมภาษณ์   ท่านเลขาธิการ กศน.เองก็แอนตี้เรื่องการรับเงินรับทอง ยืนยันว่าถ้าใครมีข้อมูลว่าท่านเลขาฯรับเงินรับทองท่านจะลาออก   มีครูผู้ช่วย สามีประสบอุบัติเหตุทางสมอง จะขอย้ายไปดูแลสามี แต่เป็นครูผู้ช่วยยังไม่ครบ 2 ปี จะมาร้องไห้ หาผู้ใหญ่มาบีบท่านไม่ได้ แต่ถ้าครบ 2 ปีแล้วก็จะให้ย้ายโดยไม่ต้องเสียเงินเสียทอง กติกาต้องเป็นกติกา   การให้โอนก็ไม่เคยรับเงินรับทอง

 

         จะรับสมัครสอบ ผอ.สนง.กศน.จังหวัด วันที่ 1 มี.ค.55  โดยนำเรื่องเข้าที่ประชุม อ.ก.ค.ศ.ในวันที่ 17 ก.พ.  รวมทั้งเรื่องการสอบ ผอ.กศน.อำเภอ, ศน., รอง ผอ.สถานศึกษาขึ้นตรง    ถ้าใครมีข้อมูลการทุจริตหรือนำชื่อท่านเลขาฯไปอ้าง ให้แจ้งท่าน โทร. 087-8789933  จะเอาจริงให้เห็น จะลงโทษให้ประจักษ์เป็นตัวอย่าง


         วันที่ 4 มี.ค.55 เป็นวันครบรอบวันสถาปนาสำนักงาน กศน.  ขอเชิญ ผอ.สนง.กศน.จังหวัดทั่วประเทศ, กลุ่มศูนย์ส่วนกลาง, ผู้จะรับโล่รางวัลดีเด่นต่าง ๆ, ผู้ได้รับรางวัลหนึ่งแสนครูดีทุกคน, บุคลากรสังกัด กศน.ทุกคนในเขต กทม.และจังหวัดใกล้เคียง ( จังหวัดอื่นจะเข้าไปด้วยก็ได้ )  ไปร่วมงานที่หอประชุมคุรุสภาเวลา 09:00 น. โดยท่าน รมว.จะเป็นผู้มอบโล่รางวัลต่าง ๆ  เลี้ยงพระเพลแล้วรับประทานอาหารบุฟเฟต์ร่วมกันที่สนามหญ้าข้างหอประชุมคุรุสภา

 

 

 

         ( การประกวด คลิปวิดีโอดีเด่น  ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ ETV )

คำสำคัญ (Tags): #สายใย กศน.#6-27 ก.พ.55
หมายเลขบันทึก: 477740เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

อยากเรียนถาม อ.เผ่าไห่ เรื่อง การสอบบรรจุ (บรรณารักษ์ ) เกี่ยวกับหลักสูตรการสอบ เพื่อที่จะเตรียมตัวได้ทัน รบกวนอาจารย์ส่งมาที่ อีเมล์ [email protected] ด้วยนะคะ ( ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ )

ขอบคุณสำหรับข่าวสาร ข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์มากเลยค่ะ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์  ขอเรียนถามว่า  สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  กศน.จะไปส่งเสริมอะไรบ้างคะ  เพราะดาวโหลดเอกสารจากเว็ปกรม ออกมาดูแล้วนะคะ  ถ้า กศน.ไปรับสมัคร  คนสมัครเขาต้องถามแน่นอนเลยค่ะว่า  "สมัครแล้วทำอะไรได้บ้าง"   กลุ่มสตรีที่มีอยู่ทั่วๆ ไปก็เยอะค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์เอกชัย สำหรับการสรุปรายการสายใย ชัดเจนและได้ประโยชน์มากกว่าค่ะ

  • ขอบคุณมาำกค่ะสำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติค่ะ

 

ตอบ คนทันข่าว
         หลักสูตรการสอบบรรจุบรรณารักษ์ ลองดูแนวจากหลักสูตรการสอบบรรณารักษ์ 3 ครั้งที่แล้วนะครับ



ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ Ico48 Ico48 Ico48 

ตอบ  Ico48
         เรื่องสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแล้วทำอะไรได้บ้าง นั้น ต้องดูใน "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ. ๒๕๕๕" ครับ ( ที่ผมไม่มี คงมีที่ผู้บริหารแล้ว )

กป.แจ้งว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงใบสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
จะนำใบสมัครที่ปรับปรุงแล้ว พร้อมคู่มือฉบับจริง ขึ้นเว็บไซต์สำนักงาน กศน. บ่ายวันที่ 10 ก.พ.55

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
1. เป็นคนไทย เพศหญิง อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในพื้นที่ที่จะลงทะเบียน

สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
1. ขั้นแรก สตรีที่มาลงละเบียนเป็นสมาชิกกองทุนสตรี จะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมเวทีชาวบ้านเพื่อคัดเลือกผู้แทนประจำหมู่บ้านหรือชุมชน เพื่อเข้าไปเป็นคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในระดับตำบล
2. มีสิทธิ์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน ในการเข้าไปเป็นคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบล และในระดับจังหวัดต่อไป
3. สามารถใช้สิทธิ์ในการกู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

ผลประโยชน์ที่ได้รับ
รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท เฉลี่ยให้กองทุนหมู่บ้านตามสัดส่วนขนาดของหมู่บ้าน SML

วันนี้ผมดูคำสั่งโรงเรียนเก่าๆ ผมสังเกตว่าทุกปิดเทอม โรงเรียนจะตั้งงบไปที่กรมบัญชีกลางเพื่อจัดสรรเงินเดือนให้ลูกจ้างนอกงบประมาณ ( แต่ไม่มีชื่อผม ผมเป็นจ้างเหมาบริการ T.T ) ส่วนครู sp2 กับ ธุรการโรงเรียน ไม่มีการตั้งงบไปที่กรมบัญชีกลาง (คิดว่าเป็นลูกจ้างในงบใช่ไหมครับ?)

การจ้างเหมากับลูกจ้างเงินนอกงบประมาณคล้ายๆกันหรือเปล่าครับ?( แต่เท่าที่ดู ลูกจ้างนอกงบบรรจุวุฒิ ปตรี บางคนได้ 7940 บางคนก็ 8340 ส่วนผม จ้างเหมา 8500 )เท่าที่ดู สัญญาจ้างของทุกคน หมดวันที่ 30 มีนาคน 2555 ทุกคนเลย ( ผมด้วย เพราะผมสัญญาจ้างทีละ 6 เดือน) ตอนที่ลูกจ้างนอกงบได้เงินเิพิ่มจากเดิม เดือนละ 7940+400 (เงิน 400 จ่ายแบบเซนต์ชื่อรับ) ผมก็ได้นะคับ (ทั้งๆที่สัญญาจ้างยังเป็น 7940 รับไปได้ 1-2 เดือนแล้วสัญญาหมดพอดี อจ เลยขึ้นให้เป็น 8500 สัญญาใหม่ส่วนรายละเอียดในสัญญาไม่ได้อ่าน กะว่าต่อสัญญาครั้งหน้าจะถ่ายสำเนาเก็บไว้อ่านครับ)

จากที่ อจ ให้ข้อมูลตรงนี้

ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ครู ศรช.ที่ไม่ได้เป็นพนักงานราชการ รัฐบาลบอกให้ดูเงินตัวเอง ( เงิน กศน. ) ถ้ามีพอจ่ายก็สามารถปรับให้เป็น 11,000 บาท ( ส่วนกลางกำลังดูว่าจะมีเงินจ่ายให้แค่ไหน )

คือ มีสิทธิ์ที่จะได้เงินเดือนเพิ่มในตอนสัญญาใหม่หรือเปล่าครับ ?

ขอถามอีกนิดนึงว่า เงินงบประมาณในด้านลูกจ้างเหมาหรือนอกงบ ทางรัฐบาลปรับเพิ่มให้บ้างไหมครับ ?

ตอบ คุณจ้างเหมาบริการ

1. ผมก็คิดว่า ครู sp2 กับ ธุรการโรงเรียน เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ ( งบบุคลากร )

2. การจ้างลูกจ้างชั่วคราวด้วยเงินนอกงบประมาณ ให้จ้างตามที่ได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลางครับ ต้องแจ้งปริมาณงานและวุฒิพร้อมค่าจ้างที่จะจ้างไปให้กรมบัญชีกลางพิจารณาอนุมัติแล้วจ้างตามนั้น
         ส่วนการจ้างเหมาบริการ ให้จ้างตามกระบวนการซื้อการจ้างตามระเบียบพัสดุ เช่นวงเงินไม่ถึงแสนบาทให้จ้างโดยวิธี "ตกลงราคา" ถ้าวงเงินเกินแสนบาทให้จ้างโดยวิธี "สอบราคา" ซึ่งก็ต้องพิจารณาจากปริมาณงานและความรู้ความสามารถของผู้รับจ้าง ( ไม่จำเป็นต้องจ้างตามวุฒิการศึกษา ) ถ้าจ้างโดยวิธีตกลงราคาให้ดูความพอใจของนายจ้างกับลูกจ้างด้วย  ถ้าจ้างโดยวิธีสอบราคาให้ดูค่าจ้างที่ผู้จะรับจ้างแต่ละรายเสนอราคาค่าจ้างมาด้วย
         ( จะว่าคล้ายกันก็คล้าย แต่ไม่เหมือนกัน )

3. การจ้างลูกจ้างชั่วคราวด้วยเงินนอกงบประมาณ มีสิทธิที่จะปรับค่าจ้างเพิ่มให้ได้ตามวุฒิเมื่อทำสัญญาใหม่

4. การจ้างเหมาบริการ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลหรือกรมบัญชีกลาง จะเพิ่มวงเงินหรือไม่อยู่ที่แต่ละส่วนราชการ ( สพม. สพป. ร.ร. ) ครับ

ลูกจ้างชั่วคราวจ้างเหมาบริการ (อันนี้ใบเซนต์ชื่อของโรงเรียนที่ผมทำงานอยู่เขียนตำแหน่งหลักไว้แบบนี้อ่ะคับ) จะสมุดให้เซนต์ชื่อ 2 เล่มครับ แต่ทีแปลกก็คือ

เล่มที่ 1 จะต้องมีการส่งงานทุกเดือน ( คือให้ อจ 3 ท่าน อนุมัติ ซึ่งผมทำอันนี้อยู่)

เล่มที่ 2 ไม่ต้องมีการส่งงาน สิ้นเดือนรับเงินเดือนได้ที่หัวหน้าพัสดุได้เลย

ทำไมต้องมีสองเล่มด้วยคับ ทั้งๆที่ก็เป็นจ้างเหมาเหมือนกัน งง มาก มันจะเกี่ยวไหมครับว่า ถ้า อจ หัวหน้าพัสดุ เกษียณ ผมก็ยังทำต่อตามสัญญาได้ ส่วนเล่มที่ 2 ก็ลุ้นหัวหน้าคนใหม่ใช่ไหมครับ?

แล้วการจ้างเหมาบริการ สามารถจ่ายค่าจ้าง เิกินวุฒิ ได้ใช่ไหมครับ ยกตัวอย่าง จบ ป ตรี แต่ได้ค่าจ้าง 12000 (ซึ่งมันมากกว่าขั้นต่ำ ปตรี)ผมสังเกตุจาก นิติกรจ้างเหมา เห็นหน่วยงานราชการจ่ายที่ 12000 บาท

แล้วเรื่องค่าครองชีพ ที่จะจ่ายให้ลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ ถ้าสัญญายังไม่หมด โรงเรียนสามารถจ่ายค่าครองชีพเพิ่มให้ได้เลยใช่ไหมครับ ( เหมือนกับตอนผมได้ 7940+400 บาท เหมือนกับอัตราจ้างนอกงบระยะหนึ่ง แล้วก็ทำสัญญาใหม่เป็น 8500 บาท) อันนี้อยากให้รวมในสัญญาเพราะผมก็รู้ตัวว่าผมเป็นแค่จ้างเหมา จริงๆแล้วทางโรงเรียนมีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ก็ได้

ที่มาสอบถามอีกรอบ อันเนื่องมาจาก link นี้อ่ะคับ (จริงๆถอดใจไปแล้ว หมดกำลังใจกับคำว่าจ้างเหมาเลย แต่ก็ยังดีกว่าตกงาน แหะๆ)

http://sesa6.brr.ac.th/downloads/2554/NUI7.pdf

( อาจจะรำคาญผมนิดนึงนะคับ อจ เอกชัย ก็ขอโทษด้วยนะคับแต่ผมไม่สามารถถามอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่โรงเรียนที่ผมทำงานได้เลย เพราะ อจ หัวหน้าพัสดุเป็นคนสองบุคคลิก T T )

ตอบคุณจ้างเหมาบริการ

1. การจ้างตามระเบียบพัสดุ ต้องมีการตรวจการจ้าง อาจารย์ 3 ท่านคงเป็นกรรมการตรวจการจ้าง เล่มที่ 1 คงเอาไปแนบเรื่องส่งเบิกค่าจ้าง

2. ระยะเวลาการจ้างเป็นไปตามที่กำหนดในสัญญาจ้างครับ ไม่เกี่ยวกับว่าหัวหน้าพัสดุหรือ ผอ. จะเกษียณเมื่อไร

3. ผมเคยตอบแล้วว่าการจ้างเหมาบริการ ไม่จำเป็นต้องจ้างตามวุฒิ จ้างน้อยกว่าหรือมากกว่าวุฒิก็ได้ โดยให้จ้างตาม ภาระงาน ( ปริมาณ+ความยาก ) + ขั้นตอนการจ้าง ( การ "ตกลง" ราคา หรือ "เสนอ" ราคา สอบราคา )

4. การเพิ่มค่าครองชีพ ถ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราวเงินงบประมาณ ผู้จ้างก็ออกคำสั่งเพิ่มค่าครองชีพ แล้วจ่ายเพิ่มได้เลยแม้สัญญายังไม่หมด  ถ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณก็ทำในลักษณะเดียวกัน

5. การจ้างเหมาบริการ ไม่มีค่าครองชีพ ถ้าอยากจะเพิ่มแทนค่าครองชีพ ก็ใช้วิธีเพิ่มค่าจ้าง

ปกติผมจะตอบเฉพาะผู้ที่สังกัด กศน.เท่านั้นนะครับ เพราะผมไม่มีความรู้เรื่องของหน่วยงานอื่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท