๑๐ ผลงานเด่น สวทช. กับการเรียนรู้วิธีสื่อสารสังคมของหน่วยวิจัย


...........ความรู้สึกเห็นคุณค่าของการลงทุนวิจัยของคนไทยจึงต่ำ ผมคิดอย่างนี้ถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ

          ในฐานะคนที่เคยเป็นทั้งกรรมการของ BIOTEC และ NECTEC ของ สวทช.   ผมติดตามผลงานของ สวทช. เสมอมา   และชื่นชม ๑๐ ผลงานเด่น สวทช.  ที่สื่อสารออกมาตอนต้นปี ๒๕๕๕
  
          ผมคอยหมั่นสังเกตว่าหน่วยงานวิจัยสำคัญของประเทศแห่งนี้สื่อสารอะไรต่อสังคมในวาระสำคัญขึ้นศกใหม่ เพื่อการเรียนรู้ของตนเอง
 
          ผมสนใจวิธีการที่หน่วยงานวิจัยและหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยสื่อสารคุณค่าของการวิจัยต่อสังคม   และสงสัยตลอดมาว่าวงการวิจัยซึ่งผมเป็นส่วนหนึ่งด้วยนั้น สื่อสารสังคมไม่เก่ง
  
          ผมพยายามทำความเข้าใจว่าอะไรคือเส้นผมที่บังภูเขาในเรื่องนี้   และคิดว่าน่าจะเกิดจากเป้าหมายในการสื่อสาร   ที่หน่วยวิจัยและนักวิจัยมักจะเน้นสื่อสารผลสำเร็จเชิงความรู้ และเชิงเทคโนโลยี ที่ตนวิจัยหรือคิดค้นพัฒนาได้สำเร็จ   ไม่ได้เน้นสื่อสารคุณค่าที่ผู้คนทั่วไปจะได้รับจากผลการวิจัยนั้น 

 
          คือนักวิจัยมักจะเน้นสื่อสารโดยเน้นที่ตัวนักวิจัย และผลงานของนักวิจัยเป็นหลัก   ไม่ได้เน้นที่ตัวประชาชนหรือชาวบ้าน หรือผู้ประกอบการ ที่จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากผลงานนั้น

 
          ผลงานวิจัยจึงวนเวียนอยู่รอบๆ ตัวนักวิจัย และหน่วยวิจัย   ไม่เข้าไปครองใจชาวบ้าน   ความรู้สึกเห็นคุณค่าของการลงทุนวิจัยของคนไทยจึงต่ำ   ผมคิดอย่างนี้ถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ

 
          สิ่งที่ผมอยากสื่อก็คือ เราต้องช่วยกันสร้าง public appreciation ต่อการลงทุนวิจัยของประเทศ  

 

 

 
วิจารณ์ พานิช
๒๒ ม.ค. ๕๕
    
หมายเลขบันทึก: 476816เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2012 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตัวผมเอง พบในสิ่งที่ตรงข้ามกับที่คุณหมอว่ามาเลยครับ คือผมทำวิจัย "เล็กๆ " นับร้อยเรื่อง ที่ใช้เงินน้อยมาก 10-5000 บาท แต่ได้ผลงานวิจัยมหาศาล ที่ผมพยามสื่อ ถึงปชช. (แม้ในบอร์ด gtk นี้) แต่ไม่มีใครสนใจครับ ผมเชื่อว่าสังคมไทยเราส่วนใหญ่จะสนใจแต่อะไรที่มันหวือหวา (เช่น นาโน)ราคาแพง ตีพิมพ์ได้ในวารสารที่มี impact factor

งานประดิษฐ์คิดค้นและวิจัยของผม เช่น เตาปิ้งไก่ไร้ควัน(สารก่อมะเร็ง) และ ประหยัดเวลา พลังงาน ผม "คุยโว" ไปหลายแห่งว่ามันเกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร ก็ไม่มีใครสน เอาไปเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต่อสุขภาพสาธารณะโดยตรงแบบฟรีๆ ไม่มีสิทธิบัตร อย่างไรก็ไม่มีใครสนใจ

ยังมีเตาถ่านปสภ.สูง (ที่ประหยัดป่าเมืองไทยได้ปีละนับล้านไร่) เตานึ่งปลาทูสะอาดและประหยัดพลังงาน (ปลาทูวันนี้สกป.มากครับ เชื้อโรคก็น่ามากดด้วย) ตู้อบแห้งพลังแดดที่สะอาด รวดเร็ว และ ฯลฯ ไม่มีใครสนเลยครับ

ส่วนโครงการหลอกเงินหลวง ที่ใช้เงินโครงการละนับร้อยล้าน เขาสนใจไปดูงานกันมาก ทั้งที่เป็นแค่ technolgy demonstration ที่ไปลอกเทคฯ เก่าๆ ของต่างชาติมาแสดงอีกต่างหาก

เห็นแล้วเศร้าใจครับ

ในอีกด้านหนึ่ง Biotec ที่คุณหมอเคยเป็น กก. ผมว่าก็น่าห่วง ที่ไปเอาชาวต่างชาติมาเป็นที่ปรึกษา คนพวกนี้เราจะเชื่อใจได้อย่างไรว่า เขาจะไม่เอาความลับของเราไปบอกให้บริษัทยาฝรั่งรู้ ทั้งที่บรรพชนไทยสะสมความรู้ด้านยาสมุนไพรแบบเอาชีวิตเข้าแลกไว้มาก บ.ยาพวกนี้ขายยากันเม็ดละ 100 บาท ในขณะที่ราคาของต้นทุนประมาณ 10 สตางค์เท่านั้น เขาอ้างว่าต้องลงทุนทำวิจัยมาก แต่เขาร่นเวลาได้มากจากการ cop ภูมิปัญญาสมุนไพรขอไทยเราไป

เรื่องวิจัยผมเขียนบทความวิจารณ์ไว้มก วันหลังจะเอามาลองลง gtk ดูครับ

ขอให้กำลังใจคุณหมอเป็นเสาหลักวิจัยไทยต่อไปอีกนานๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท