สิ่งที่ได้เรียนรู้3


สื่อมวลชนในงานสาธารณสุข

วิชาการจัดการระบบสุขภาพ  

             สิ่งที่ได้เรียนรู้                                                                                                                                                                                             

                การใช้สื่อมวลชนในงานสาธารณสุขมีหลายรูปแบบ  ได้แก่  หนังสือพิมพ์  โปสเตอร์  ป้ายแขวน  ป้ายกลางแจ้ง  ใบปลิว  วิทยุ  โทรทัศน์  เสียงตามสาย  รถแห่และอื่นๆ  การเลือกใช้สื่อขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าจะใช้อะไร  ใช้ทำไมและใช้อย่างไร                                                                                        

                หลักการใช้สื่อมวลชนในงานสาธารณสุข  เริ่มต้นด้วย  การรู้สถานการณ์ต่างๆอาจจะดูจากผลการวิจัย  รู้ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานว่าเป็นอย่างไร  ควรวางแผนระยะยาวร่วมด้วย  รู้วัตถุประสงค์ว่าจะใช้อะไร  ใช้ทำไมและใช้อย่างไร     งบประมาณมีมากน้อยเพียงใด  ต้องใช้สื่อหลายอย่างร่วมกันและประเมินผลการใช้สื่อทุกครั้งว่าครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหรือไม่

                การให้ข้อมูลสุขภาพ  แบ่งเป็น  ๒  กลุ่ม  คือ       การให้ข้อมูลสุขภาพที่เป็นปัญหาและว่าด้วยการแก้ปัญหา  โดยพบว่าสื่อมวลชนจะมีประโยชน์มากหากเลือกสื่อที่เหมาะสม  เนื้อหาน่าสนใจ  เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสร้างสรรค์ให้คนในสังคมมีสุขภาพดี     ตัวอย่างเช่น  พยาบาลพลิกบทบาทเป็นนักจัดรายการวิทยุในการให้ข้อมูลสุขภาพ  โดยมีเนื้อหาน่าสนใจ  สร้างความเพลิดเพลินและเข้าถึงจิตใจผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

 การรับสื่อต่างๆในงานสาธารณสุขอาจเกิดผลเสียอยู่บ้าง     เพราะการหวังผลด้านการเงินของบางกลุ่มได้ ปิดกั้นความจริงและบิดเบือนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการหายของโรค  ซ่อนเร้นอยู่ในระบบสุขภาพ  ดังนั้นคนในสังคมต้องพิจารณาสื่อที่ได้รับอยู่เสมอและร่วมต่อต้านกลุ่มคนที่หวังผลประโยชน์ให้ออกไปจากสังคมของเรา

               สิ่งที่อยากทำ

                สิ่งที่อยากทำ  คือ  ปรับปรุงการใช้สื่อเพื่อการพัฒนาระบบบริการด้านวิสัญญี  ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย  เข้าถึงผู้รับบริการด้านวิสัญญี ได้มากขึ้น  โดยให้ข้อมูลสุขภาพที่เป็นจริง  สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ  เข้ากับยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีวัตถุประสงค์      เหมาะกับงบประมาณของหน่วยงาน    และประเมินผลการใช้สื่อทุกครั้งว่าครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหรือไม่  เพื่อนำไปสู่การป้องกันส่งเสริมและแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างแท้จริง

เรื่องราวดีๆ     

             หลังจากฟังบรรยายเรื่อง  คิดให้เป็นแกะดำ  โดยคุณประเสริฐ  เอี่ยมรุ่งโรจน์  รู้สึกว่าเป็นเรื่องราวดีๆอีกมุมมองหนึ่งที่อยากแบ่งปัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพของคนไทยบางส่วนคิดไม่ค่อยเป็น  ไม่ชอบตั้งคำถาม  ชอบทำตามๆกันมาจึงไม่มีความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น  สังคมไทยจึงเดินเป็นวงกลม 

              ดังนั้นหากเราต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมจึงมีแง่คิดที่น่าสนใจ  คือ  การรู้จักสงสัยและตั้งคำถาม   หาคำตอบใหม่ในคำถามเดิม  กล้าปฏิเสธสิ่งที่ทำตามกันมา  กล้าเสี่ยงเมื่อความเสี่ยงนั้นเกิดผลดีมากว่าผลเสียและการคิดอย่างสร้างสรรค์  ไม่มีอคติ  เปิดใจกว้างในการที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว โดยนำองค์ความรู้ข้ามหมวดหมู่มาแก้ไขปัญหาทีละเรื่อง      เพราะการคิดที่แตกต่างจะสร้างสรรค์ให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้

 

หมายเลขบันทึก: 476815เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2012 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท