ผชช.ว.ตาก (๓๖): การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของการบริการระดับจังหวัด ๔ ด้าน เขต ๑๗


เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดมีการประเมินประสิทธิภาพการจัดบริการสุขภาพภายในจังหวัด

ทีมนิเทศคณะ ๒ เขต ๑๗ กำหนดแนวทางนิเทศใน หัวข้อที่ ๒.๓ การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของการบริการระดับจังหวัด ด้าน (การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดมีการประเมินประสิทธิภาพการจัดบริการสุขภาพภายในจังหวัด

๐๒๐๓ จังหวัดมีระบบการประเมินผลการดำเนินงานการให้บริการสุขภาพทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ รักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟู

แนวทางการประเมิน

ไม่ผ่าน

๐ = ไม่มีระบบการประเมินผลฯระดับจังหวัด

ผ่าน = มีระบบการประเมินผลฯระดับจังหวัด

๑ = มีระบบ มีทีมรับผิดชอบชัดเจน มีแผนปฏิบัติการประเมินแต่แผนยังไม่ครอบคลุม ไม่ครบถ้วน

๒ = มี ๑ ที่ครอบคลุม ครบถ้วน แต่แผนการประเมินยังไม่ได้นำไปปฏิบัติจริง

๓ = มี ๒ และมีการปฏิบัติติดตามประเมินผลจริงตามแผน แต่ไม่มีการวิเคราะห์ผลการประเมินร่วมกันอย่างเป็นระบบ

๔ = มี ๓ และมีการปฏิบัติติดตามประเมินผลจริงตามแผน มีการวิเคราะห์ผลการประเมินร่วมกันอย่างเป็นระบบ

๕ = มี ๔ และมีการวิเคราะห์ผลการประเมินร่วมกันอย่างเป็นระบบและนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

อธิบายความหมายในเกณฑ์การประเมิน

๑.   ระบบ หมายกึง ระบบที่จังหวัดจัดขึ้นเพื่อให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานการให้บริการสุขภาพทั้ง ๔ ด้านที่ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า(Inputs) กระบวนการ (Process) ผลที่ได้ (Outputs)และกระบวนการย้อนกลับ (Feedback)

๒.      ทีมรับผิดชอบ หมายถึง มีคณะกรรมการหรือคณะทำงานในระดับจังหวัดที่ทำหน้าที่ปฏิบัติติดตามประเมินผลการดำเนินงานการให้บริการสุขภาพทั้ง ๔ ด้าน

๓.      ครอบคลุม หมายถึง มีระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานการให้บริการสุขภาพทั้งด้านรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพ

๔.      ครบถ้วน หมายถึง การกำหนดระบบติดตามประเมินผลทั้ง ๔ ด้านที่มีกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญครบถ้วนได้แก่ด้านการรักษาพยาบาล (ดัชนีCMIที่ใช่Adjusted RWเป็นฐาน ดัชนีCMIเชิงลึกโดยการจำแนกกลุ่มการวินิจฉัยหลัก (Major Diagnostic Category) ต้นทุนผลผลิต (Unit cost) และอัตราส่วนการใช้บริการผู้ป่วยนอกที่หน่วยบริการปฐมภูมิกับที่โรงพยาบาลแม่ข่าย) ด้านส่งเสริมป้องกัน (กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก ๐-๕ ปีและนักเรียน กลุ่มวัยทำงาน/ผู้สูงอายุ)

๕.      การวิเคราะห์ผล หมายถึง มีการนำข้อมูลตามกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญมาประมวลผล วิเคราะห์เพื่อติดตามสถานการณ์ค่าที่ได้เทียบกับเป้าหมายและหาสาเหตุของค่าที่ผิดไปจากเป้าหมายที่ต้องการ

๖.      การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ หมายถึง มีหลักฐานแสดงชัดเจนว่าได้นำค่าที่วิเคราะห์ได้ไปใช้ประโยชน์หรือปฏิบัติงานเพื่อให้ผลการดำเนินงานดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 476688เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท