การจัดการระบบสุขภาพชุมชน


ชุมชนเข้มแข็ง

Topic:   1. Health development approaches

            2. National health act 2007

            3. Strategic planning

            4. Buddhist management

วันที่ 7-8 มกราคม 2555

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                   สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะในปัจจุบันพบว่ามีการใช้สารเคมีจำนวนมากในการเกษตร  และกระบวนการผลิตอาหารที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เพียงพอกับผู้บริโภค  ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดต้นทุน  เช่นการใช้สารเคมีกับผัก  ผลไม้  เพื่อให้ได้ผลผลิตเร็วและมากพอ  การเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร ก็มีการใช้สารเคมีในรูปของฮอร์โมน  และอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ก็เลือกใช้อาหารที่มีต้นทุนต่ำ  โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าทำให้ระบบนิเวศตามธรรมชาติเสียและมีผลถึงการเกิดเชื้อระบาดที่ทำให้เป็นโรคต่างๆตามมา  รวมทั้งโรคเรื้อรังที่เกิดจากสารเคมีที่ได้รับจากการรับประทานอาหารด้วย  เช่น โรค ความดัน  เบาหวาน มะเร็ง หลอดเลือดสมอง โรคจิตโรคประสาท และอื่นๆอีกหลายโรค  ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นปัญหาสาธารณสุขทั้งในประเทศไทย และในทุกๆประเทศ  ซึ่งนับวันก็มีแนวโน้มจะอัตารการเกิดโรคเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

                        ทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพที่ผ่านมา มีการกำหนดไว้ในนโยบายสาธารณะ เรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ  ปรับทิศทางการให้บริการจากการลงทุนด้านการรักษามาเน้นบริการปฐมภูมิ การส่งเสริม ป้องกันโรค  ในขณะเดียวกันก็พัฒนาทักษะของบุคคล ครอบครัว เพื่อสร้างสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง  ต่อมาก็เน้นการกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม  การเฝ้าระวังและการประเมินผลกระทบ โดยให้ประชาชนเข้ามาส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบ ตัวอย่างความสำเร็จในประเทศไทย เช่น เทศบาลนครขอนแก่น  ที่ประชาชนข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลท้องถิ่นชุมชนของตน ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และชุมชนก็สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพได้

                        ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มุ่งเน้นให้สุขภาวะของมนุษย์สมบูรณ์ทั้ง กาย จิตใจ สังคม และปัญญา เชื่อมโยงกันอย่างเป็นองค์รวม   ไม่ได้มุ่งเน้นที่การรักษาเพียงอย่างเดียวเพราะจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูง  กำหนดให้มีระบบการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดยเน้นให้ประชาชนมีความรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมในระบบสุขภาพดังกล่าว

                        การแก้ปัญหาตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา  มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4 รวมทั้งการใช้สติในการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น หมู่บ้านพลัม  เป็นสถานปฏิบัติธรรมที่อยู่รวมกันเป็นชุมชน ทำกิจกรรมร่วมกันปกติได้ เพียงแต่ฝึกสมาธิและให้มีสติทุกขณะไม่ว่าจะทำอะไร

สิ่งที่อยากจะทำ

  1. ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองโดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี   รับประทานเนื้อสัตว์และอาหารฟาสฟู้ดให้น้อยลง   เล่าให้เพื่อนบ้าน  ญาติ และบุคคลอื่นๆที่มีโอกาส ได้รับรู้ถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ    ฝึกสมาธิและมีสติในการดำเนินชีวิต  และยึดหลักอริยสัจ 4 ในการแก้ปัญหา
  2. ในการทำงานเน้นการเข้ามีส่วนร่วมของภาคประชน   ให้องค์ความรู้ด้านสุขภาพ และผลกระทบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้รู้เท่าทันและตระหนัก  ช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหาและวิธีป้องกัน โดยการเริ่มจากตัวเอง ครอบครัว และชุมชนของตนก่อน เพื่อให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง สมารถดูแลสุขภาพของตนเองได้

เรื่องราวดีๆที่ได้ไปพบเห็น

  1. โรงเรียนชาวนา ที่ใช้กระบวนการจัดการความรู้   โดยชาวนาเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้การปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี  ซึ่งเริ่มจากค่อยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลงและใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพแทน  โดยชาวนาสามารถใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทำเองได้   จนกระทั่งเลิกใช้ปุ๋ยเคมี   ให้ความรู้กับชาวนาเกี่ยวกับเรื่องแมลงในทุ่งนาว่าแมลงชนิดใดเป็นประโยชน์ แมลงชนิดใดทำลายข้าว แต่ท้ายสุดแล้วแมลงดีจะกำจัดแมลงที่ทำลายข้าวตามระบบนิเวศเอง  เมื่อชาวนาได้ลองทำดู แล้วก็เป็นการลดต้นทุนที่เคยซื้อปุ๋ย  ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง  ในขณะเดียวกันได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและปลอดสารเคมีด้วย  และเมื่อได้ผลแล้วก็จัดกระบวนการ
  2. บ้านห้วยผักเบี้ย อ.นาแห้ว จ.เลย  เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลความเจริญการเดินทางลำบากเนื่องจากเป็นเขา คดเคี้ยว  และยังติดชายแดน  มีเด็กนักเรียน 19 คน คุณครู 1 คน (ทำให้นึกถึงเพลงโรงเรียนของหนู) ชาวบ้านต้องพึ่งพาตนเอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐให้การสนับสนุนและประสานงานทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี  ไม่ว่าจะเป็นหมออนามัย  คุณครู  นักวิชาการเกษตร  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้านและ อสม. ถึงแม้จะเป็นพื้นที่ห่างไกลแต่หมออนามัยก็มี อสม.ที่เป็นผู้ช่วยในการดูแลด้านสุขภาพ อบต.อำนวยความสะดวก นักวิชาการเกษตร พาชาวบ้านเรียนรู้การปลูกสตรอเบอรี่  การเพาะเห็ด ปลูกผักปลอดสารพิษ นอกจากจะสามารถรับประทานในครัวเรือนในหมู้บ้านแล้วยังเก็บขายให้กับนักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปพักที่อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายได้ คุณครูเองก็พาเด็กปลูกผักเลี้ยงปลา เลี้ยงกบไว้ป็นอาหาร ในหมู่บ้านอยู่กันแบบเป็นครอบครัวเดียวกันต่างพึ่งพาอาศัยกัน
หมายเลขบันทึก: 476686เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท