ผชช.ว.ตาก (๓๒): คณะกรรมการแพทย์แผนไทยจังหวัดตาก


แพทย์แผนไทยเป็นระบบการแพทย์ที่สำคัญของประเทศที่ถูกทอดทิ้งไปหลายปี ที่เราคนไทยจะต้องช่วยกันฟื้นฟูพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้มีบทบาทเคียงคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน

ผมได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการแพทย์แผนไทยจังหวัดตาก ซึ่งเราได้พยายามที่จะช่วยกันพัฒนาการแพทย์แผนไทย โดยได้ดำเนินการ

๑. การจัดเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้แพทย์แผนไทยขึ้น ในจังหวัดตาก โดยจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดบริการและการดูแลผู้ป่วยรายกรณีหรือCase study ขึ้นมาเป็นเวลากว่า ๓ ปี น้องๆแพทย์แผนไทยได้นำกรณีผู้ป่วยมาเรียนรู้ร่วมกันในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยแนวคิด หลักการทางการแพทย์แผนไทย

๒. การจัดทำบัญชียาไทยจังหวัดตาก ซึ่งเพิ่งได้ข้อสรุปจากการประชุมเมื่อเดือนที่ผ่านมานี้เอง

๓. มีการประชุมคณะกรรมการแพทย์แผนไทยจังหวัดตาก โดยได้ร่วมกันกำหนดแนวทาง "ทิศทาง นโยบาย ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจนถึงการใช้ยาสมุนไพร"แบ่งเป็น ๓ ด้านดังนี้

๑) ด้านการแพทย์แผนไทย

๒) ด้านการแพทย์ทางเลือก

๓) ด้านการแพทย์พื้นบ้าน

๑. ด้านการแพทย์แผนไทย ให้ใช้ service  plan  ระดับจังหวัด ด้านการแพทย์แผนไทย เป็นเป้าหมายการดำเนินงาน และแบ่งลักษณะงานด้านการแพทย์แผนไทย เป็น ๔ ด้าน คือ

๑.๑ ด้านเภสัชกรรมไทย มีทิศทางและนโยบาย ดังนี้

๑)   ให้มีการกำหนดบัญชียาแผนไทย สำหรับ รพท./รพช./รพ.สต. ของจังหวัดตาก   โดยให้กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค จัดปะชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำบัญชียาแผนไทยระดับจังหวัดต่อไป

๒)      ให้มีการสนับสนุนแหล่งผลิตยาทั้งยาตำรับ  และยาสมุนไพร  โดยอาจจัดหางบประมาณสนับสนุนแหล่งผลิต  เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งในจังหวัดตากมีแหล่งผลิตยา คือ โรงพยาบาลบ้านตาก

๓)      ส่งเสริมให้มีสัดส่วนในมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรในสถานบริการ

๑.๒ ด้านเวชกรรมไทย มีทิศทางและนโยบายโดยสนับสนุนให้ รพ.เปิด  OPD  ด้านการแพทย์แผนไทย(รพ.ที่มีเจ้าหน้าที่มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์) เช่น รพ.สามเงา อาจมีการสนับสนุนงบประมาณให้ในการจัดระบบ และ รพ.แม่ระมาดเพื่อศึกษาต้นแบบคลินิกเวชกรรมไทย ในรพ.

๑.๓ ด้านผดุงครรภ์ไทย มีทิศทางและนโยบาย โดยสนับสนุนให้รพ.และรพ.สต.มีการดูแลหญิงหลังคลอดด้วยวิถีการแพทย์แผนไทย ทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด

๑.๔ ด้านการนวดไทย มีทิศทางและนโยบาย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานนวดแผนไทยที่จบหลักสูตรนวดแผนไทย  150  ชม. ได้รับการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย  330  ชม.

๒. ด้านการแพทย์ทางเลือก มีทิศทางและนโยบาย ดังนี้

๑)      สนับสนุนการบริการการแพทย์แผนจีน  ใน รพ.

๒)      สนับสนุนการดำเนินงานสมาธิบำบัดใน รพ.

๓. ด้านการแพทย์พื้นบ้าน  มีทิศทางและนโยบาย ดังนี้

๑)      ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มหมอพื้นบ้าน

๒)      จัดทำทำเนียบหมอพื้นบ้าน  ตามความถนัด

๓)      ส่งเสริมให้หมอพื้นบ้านได้รับการประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย

๔)      ศึกษาหมอพื้นบ้าน  เกี่ยวกับการศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน   เพื่อใช้ประกอบการขอประเมินหมอพื้นบ้าน

หมายเลขบันทึก: 476682เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท