การจัดการความรู้ (KM) ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี


การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม

 การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

โดย

          1. นางสาวสุวิมล   อินทร์บริสุทธิ์        รหัสนักศึกษา 54D0103220

        2. นางสาวอังสนา  อุดแจ่ม               รหัสนักศึกษา 54D0103221

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน  รุ่นที่ 10 หมู่ที่ 2

 

ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

            การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม  เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมายคือการพัฒนางานและพัฒนาคนโดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ  การจัดการความรู้ในความหมายนี้จึงเป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่กิจกรรมของนักวิชาการหรือนักทฤษฎี แต่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ในฐานะแหล่งความรู้ (Resource Person) การจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)  หมายถึง   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด   โดยที่ความรู้มี  2 ประเภท คือ

          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ   เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย  เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง  จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

          2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

            หลักการ Knowledge Management

          1. ต้องมีการแบ่งปันความรู้กัน     Knowledge Sharing

          2. ต้องมีการสร้างที่เก็บความรู้เหล่านั้น  Knowledge Repository

          3. ต้องมีการสร้างเครือข่ายความรู้   Knowledge Network

          4. ต้องมีการสร้างเครื่องมือหาความรู้   Knowledge Search Engine

 

            KM เป็นตัวย่อมาจากคำเต็มว่า Knowledge Management แปลว่า "การจัดการความรู้" เรื่องการจัดการความรู้ในองค์กรเป็นเรื่องที่สำนักงาน ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)  กำหนดให้ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการซึ่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 11 โดยกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดในการทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีมาเป็นเวลา 3 ปี (ตั้งแต่ปี 2547 - 2549)  แม้จะดำเนินการกันมาอย่างต่อเนื่อง 3 ปี แต่ส่วนราชการทั้งหลายก็ยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการความรู้ให้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เพราะเป้าหมายหลักของการจัดการความรู้คือการทำให้คนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างทั่วถึงและมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการจัดการความรู้ในองค์กรของส่วนราชการต่างๆ

          ในปี 2549 สำนักงาน ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)  จึงได้จัดจ้างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติให้จัดวางระบบในเรื่องของการจัดการความรู้ และกำหนดเป็นตัวชี้วัดใน มิติที่ 4 ของการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 2549 ทำให้ปัจจุบันทุกส่วนราชการมีทิศทางในการจะดำเนินการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

          ความหมายของคำว่า "ความรู้" ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้นิยามว่า "ความรู้" คือ สิ่งสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือ ประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะ ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา

 

ความเป็นมาในการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.)

          สืบเนื่องจาก มาตรา 11 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน และเพื่อให้การพัฒนาความรู้ในส่วนราชการมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ตามมาตรา 11 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

           คณะทำงานจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ 2554 ในการประชุมครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ได้คัดเลือกให้ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ดำเนินการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นของ   สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี   ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินแบบมีส่วนร่วม และกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์ความรู้ด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยกำหนดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ที่ 3.1.7 ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ ที่ได้ดำเนินการจนได้ข้อยุติเสร็จภายในปีงบประมาณ  เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการความรู้ฯ  พร้อมทั้งได้มี คำสั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 52/2554 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2554 และคำสั่งที่ 62/ 2554  ลงวันที่ 11 เมษายน  2554

              โดยกำหนดให้ KM Team สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมเป็นธรรมและโปร่งใส และกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ 2554 ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตลอดจนดำเนินการอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร

คณะทำงาน ( KM Team  สขร.)

รายชื่อ KM Team (สขร.)

ลำดับที่

ชื่อ - สกุล

ตำแหน่ง

หมายเหตุ

๑.

นางวนิดา  สักการโกศล

ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

หัวหน้า  KM Team

๒.

พ.ต.ท.วรัท  วิเชียรสรรค์

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชำนาญการพิเศษ

KM Team

๓.

นายวิริยะ  รามสมภพ

นิติกรชำนาญการพิเศษ

KM Team

๔.

นางสาวลักขณา ศรีผุดผ่อง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชำนาญการพิเศษ

KM Team

๕.

นางจินตนา  บุษยะกนิษฐ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชำนาญการ

KM Team

๖.

นางศิริพร อุดมโชคชัย

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชำนาญการ

KM Team

๗.

นายเฉลิมพล  เลียบทวี

นิติกรชำนาญการ

KM Team

๘.

นายวีระเชษฐ์  จรรยากูล

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ปฏิบัติการ

KM Team

๙.

นายวรรธนพงศ์  คำดี

นิติกรชำนาญการ
กองการเจ้าหน้าที่

KM Team

๑๐.

นางวศินี ทองนวล

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชำนาญการพิเศษ

KM Team และเลขานุการ

๑๑.

นางสุวรรณี  ศิลาวิลาศภักดี

นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ

KM Team และผู้ช่วยเลขานุการ

๑๒.

นายอิศเรศ อิศโรสกุล

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

KM Team และผู้ช่วยเลขานุการ

 

 

 

 

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)

             เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้  หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1)   การบ่งชี้ความรู้  เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

2)   การสร้างและแสวงหาความรู้  เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3)   การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

4)   การประมวลและกลั่นกรองความรู้  เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5)   การเข้าถึงความรู้  เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)   Web board   บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6)   การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร  ฐานความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน  กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม  ชุมชนแห่งการเรียนรู้  ระบบพี่เลี้ยง  การสับเปลี่ยนงาน  การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7)   การเรียนรู้   ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก  สร้างองค์ความรู้  นำความรู้ไปใช้  เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)

          1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

          2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

          3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

          องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล  จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน

 

ขั้นตอนการจัดการความรู้

          ความรู้จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคนคือ ประสบการณ์ ทักษะ พรสวรรค์ เทคนิค การทำงานที่สั่งสมมาจนชำนาญไม่มีในตำรา ส่วนความรู้ที่ชัดแจ้งคือ ความรู้ที่สามารถจับต้องได้ เช่น หนังสือ เอกสาร รายงาน ซีดี เทป เป็นต้น เมื่อเทียบความรู้ 2 ประเภทแล้ว พบว่า อัตราความรู้ที่ฝังอยู่ในคนมากกว่าความรู้ที่ชัดแจ้งเป็น อัตราส่วน 80 : 20 คงพอทราบคร่าวๆแล้วว่า ความรู้คืออะไร มีกี่ประเภท ตอนนี้จะขอเล่าถึงวิธีการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ให้บุคลากรสามารถ นำความรู้นั้นมาใช้ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ในปี 2549 เมื่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาวางระบบเรื่องนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทำให้ส่วนราชการมีการจัดการความรู้ตามขั้นตอนที่เป็นระบบ โดยเริ่มจาก

            ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้

          หน่วยงานต้องสำรวจความรู้ที่บุคลากรจำเป็นต้องใช้เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย โดยสำรวจว่า เราต้องการความรู้อะไร และที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่


            ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้

          เมื่อสำรวจแล้วเห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ก็ต้องไปแสวงหามาเพิ่มเติมให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ มากที่สุด


            ขั้นตอนที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

          เมื่อได้ความรู้มาเพียงพอแล้วก็นำมาจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน และจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง เอกสาร หนังสือ เทป วีซีดี เป็นต้น


            ขั้นตอนที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้

          ต้องนำความรู้ที่จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ไว้แล้วมาทบทวน กลั่นกรอง ให้มีความทันสมัย

            ขั้นตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้

          ต้องมีการจัดช่องทางเผยแพร่ความรู้ทางช่องทางต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึง ความรู้ได้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง


            ขั้นตอนที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

          จัดกิจกรรมให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ ( Community of Practice หรือ Cop.), การสอนงาน ( Coaching ) และระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) เป็นต้น

            ขั้นตอนที่ 7 การเรียนรู้

          กำหนดให้บุคลากรในองค์กรต้องใช้ KM เข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อผลงานที่มีประสิทธิภาพ โดย อาจกำหนดเป็นนโยบาย จากผู้บริหารขององค์กรก็ได้


          ขั้นตอนต่าง ๆ ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ เมื่อลงมือปฏิบัติจริงๆ ต้องใช้เวลาพอสมควร โดยเฉพาะในขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจริงจัง นั่นก็คือ บุคลากรทุกคนต้องทำงานโดยมี KM อยู่ในสายเลือด โดยการทำงานที่ต้องใช้องค์ความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย ครบถ้วน มาประกอบการ ปฏิบัติราชการในความรับผิดชอบทุกเรื่อง แล้วงานที่ออกมาก็จะเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด หรือ ไม่เกิดความผิดพลาดเลย

 

บรรณานุกรม

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2554). การจัดการความรู้. [ออนไลน์].  แหล่งที่มา : http://www.oic.go.th/km/oickm.htm [2 มกราคม 2555].

หมายเลขบันทึก: 475611เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2012 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จากข้างต้น ดิฉันมีความคิดเห็นว่า ขั้นตอนการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นระบบและชัดเจน แต่เสนอแนะว่าควรเพิ่มเติมข้อมูลเรื่องผลที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ความสำเร็จขององค์กรหลังจากการจัดการความรู้แล้วว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเช่นใด

การที่หน่วยการของราชการให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง เช่นสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการนี้ ดิฉันเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ไม่ใช่เฉพาะในส่วนของหน่วยงาน แต่ยังส่งผลต่อประชาชนอย่างเราด้วย เนื่องจากการจัดการความรู้ในหน่วยงานนั้นๆ ย่อมทำให้เกิดการพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอ และกลายเป็น "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ในที่สุด ซึ่งองค์ความรู้ในด้านต่างๆ จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมต่อสถานการณ์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีคุณธรรม ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำมาพัฒนาการปฏิบัติราชการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

โดย พิชญกานต์ บำรุงกลาง

ทำ KM เพื่ออะไรหรอ ใครรู้่วยตอบผมด้วยยยยยยยยย

การจัดการความรู้ในองค์กรของ กพร. เป็นการนำกระบวรการของ KM เข้ามาใช้ทำให้องค์กรมีการทำงานอย่างรวดเร็วทุกคนในหน่วยงานมีความรู้เท่าเทียมกันอย่างทั่้วถึง ซึ่งกระบวนการ KM มีความเหมาะสม โดยต้องอาศัยการจัดการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการความรู้ในองค์กร สามารดำเนินการดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้

ขั้นตอนที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

ขั้นตอนที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้

ขั้นตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้

ขั้นตอนที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

ขั้นตอนที่ 7 การเรียนรู้

ขั้นตอนต่าง ๆ ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ สามารถทำได้ทั้งหน่วยงานองค์กรของรัฐ และเอกชน หรือประชาชนธรรมดาก็สามารถนำองค์ความรู้ของตนมานำเสนอ และถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้

สุวิมล อินทร์บริสุทธิ์

การจัดการความรู้ (Knowledge Management ) หรือ KM ทำขึ้นเพื่อจัดเก็บรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) คือ ประสบการณ์ ทักษะ พรสวรรค์ เทคนิค การทำงานที่สั่งสมมาจนชำนาญ และความรู้อีกอย่างหนึ่งคือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่สามารถจับต้องได้ เช่น หนังสือ ตำราหรือเอกสารต่างๆ มาพัฒนาจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ตามขั้นตอนที่นำเสนอข้างต้นทั้ง 7 ขั้นตอน เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด และที่สำคัญที่สุดคือ เพื่อไม่ให้องค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลสูญหายไปนั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท