หนึ่งคำถาม หนึ่งการเปลี่ยนแปลง..เรียนไปด้วยกัน


วันครูปีนี้ นอกจากเป็นวันที่ได้รำลึกถึงคุณครูทุกท่านในชีวิต ที่ได้ช่วยขัดเกลาข้าพเจ้าแล้ว
ยังเป็นฤกษ์ดี ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยวิธีการสอนใหม่ ได้แนวคิดจากการอ่านบันทึกชุด 21st century ใน gotoknow นี้ ร่วมกับแนวคิด "Question Formulation Technique (QFT)"
 
..
หลังจากตรวจรายงาน ที่นักศึกษาส่งผ่านระบบ e-learning
ก็ตระหนักว่าตนเองยัง "ผิดทาง"
เจตนาให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการคิดแก้ปัญหาสุขภาพผู้ป่วยในชุมชน ด้วยตนเอง
นักศึกษาบางคนสามารถ แสดงความคิดต่าง เป็นตัวของตัวเองอย่างน่าชื่นชม
แต่ส่วนมาก คำตอบเหมือนลอกมาจากตำรา ..และของเพื่อน
เมื่อพิจารณาดู
นั่นเพราะ..ข้าพเจ้าเอง
การพัฒนา เกิดจากการตั้งคำถาม ตามด้วยคำตอบที่ถูกต้อง
หากข้าพเจ้า ยังเป็นคนตั้งคำถาม เพื่อรอคำตอบที่ถูกใจ
แล้วจะให้เขาพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนที่ตนเองอยู่ได้อย่างไร?
 
 
###
 
ปีการศึกษาที่จะถึงนี้ ข้าพเจ้าจึงเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนคือ
1. เลิกการ lecture ในห้องเรียน  แต่ทำเก็บไว้ใน elearning ทบทวนนอกห้องเรียน ในรูปแบบไฟล์ประกอบเสียง (ได้แรงบันดาลใจจาก บันทึกของ อาจารย์จันนี้)
2. ในห้องเรียน มี quiz (เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาแต่ละคนอ่านเตรียมตัวมา) แล้วใช้ QTF โดยเป้าหมายหลักคือ
 "ฝึกการตั้งคำถามที่ถูกต้อง" 
...อะไรคือถูกต้อง = สามารถนำไปสู่การปฎิบัติ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ละอย่าง
.. การเปลี่ยนแปลงทีละอย่าง = ใช้ focus มุ่งมั่นจนเห็นผล
3. เลิกใช้ประเมินผลจากการเขียนรายงาน แต่ประเมินผลจาก ตัวผลงาน (project)
---
แนวคิดสำคัญกว่าชื่อ..
ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจ QFT ของ Right question institute ไม่ใช่เรื่องใหม่ถอดด้าม เพียงเรียกชื่ออื่น เช่น  ที่ท่านอาจารย์วิจารณ์กล่าวถึง Deliberate practice ที่นี่.
เหตุที่ข้าพเจ้าเลือกทดลองใช้ "ยี้ห้อนี้" เนื่องจากมีอุปกรณ์ให้ดาวน์โหลดไปใช้ ซึ่งเขียนไว้ค่อนข้างเข้าใจง่าย 
และสนใจที่เคยนำไปประยุกในทางการแพทย์ คือส่งเสริมให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย สนใจซักถามข้อมูลจากบุคลากรการแพทย์ อันนำไปสู่การมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพตนเอง (self management support)
ภาพ: แผ่นพับแสดงขั้นตอน QFT -ดาวน์โหลดได้จาก http://rightquestion.org/educators/resources  
 
รายละเอียดอ่านได้ที่นี่หรือที่นี่คะ
 
1. Find a focus
เลือกบริบท ที่เป็นจริงและเห็นภาพร่วมกัน
นักศึกษาแพทย์ปี 4  "มาคุยกันเรื่อง การตรวจผู้ป่วยที่ OPD ของเรา"
แพทย์ประจำบ้าน "มาคุยกันเรื่อง การดูแลผู้ป่วย Palliative ใน รพ.เรา"
.
2. Produce
ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 3 คน ช่วยกันคิดคำถาม มีกฎในการสร้างคำถาม 4 ประการคือ
- Ask as many questions as you can :
  สร้างคำถามให้มากที่สุด ไม่ต้องกังวลว่าคำถามประหลาด 
- Do not stop to discuss, judge or answer any question:
  ไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือ ตอบ"สกัด" คำถามที่คนอื่นสร้างขึ้น 
- Write down every question EXACTLY as it is stated:
 เขียนคำถาม ใช้คำตามที่ผู้เอ่ยขึ้นมา
- Change any statement into a question:
  พยายามแปรเปลี่ยน คำเปรย บ่น ฯลฯ ให้กลายเป็นคำถาม
 .
3. Improve
- Categorize the questions as Closed or Open-Ended:จัดประเภท คำถามปลายเปิด และคำถามปลายปิด
- Name value of each type of question:ผู้สอนนำอภิปรายถึงข้อดีข้อเสีย ของคำถามปลายเปิด, ข้อดี ข้อเสียของ คำถามปลายปิด
-Change questions from one type to another: ให้นักศึกษาทดลองเปลี่ยนคำถามปลายเปิด (เช่น ทำอย่างไรให้การนัดหมายผู้ป่วย OPD กระจายในแต่ละวันอย่างเหมาะสม) ให้เป็นปลายปิด(เช่น เราควรนัดหมายผู้ป่วย OPD กระจายในแต่ละวันหรือไม่?)  และ  เปลี่ยนคำถามปลายปิดให้เป็นปลายเปิด
.
4. Prioritize
ผู้สอนแนะนำแนวทาง (guideline) ในการจัดลำดับความสำคัญของคำถาม
เช่น เลือกคำถามที่นำไปสู่โครงการที่นักศึกษาทำได้ใน 2 สัปดาห์, เลือกคำถามการวัดผลได้ชัดเจนที่สุด เป็นต้น
.
5. Next action step 
จากคำถามที่เลือกมา จะนำไปสู่การปฎิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้อย่างไร
.
6. Reflect 
นักศึกษาสะท้อนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้
 
###

สิ่งที่คาดว่าจะดีขึ้น..
1.  นักศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาและทักษะ  สำหรับศตวรรษที่ 21 "ไปพร้อมๆ กัน" ด้วยกระบวนการทำโครงงาน (project) ผลลัพท์ชิ้นงานที่ออกมาเป็นรูปธรรม น่าจะประเมินผลได้ชัดเจนกว่า
2.  ง่ายต่อการเตรียม power point: การสอน สร้างความกังวล ว่าจะครอบคลุมไหม? ทันสมัยไหม? และที่สำคัญ ถูกต้องไหม? เพราะวิทยาการเปลี่ยนแปลงไปเร็ว 
การที่ข้าพเจ้าเอาตัวเองเป็นผู้เลือกข้อมูลใดมาเสนอ ย่อมเลี่ยงการเอาอารมณ์ ความเห็นตนเองไปปะปนได้ยาก
-> การสอนลักษณะนี้ ใน power point จำนวนไม่เกิน 15-20 สไลด์  หรือใช้เวลาอ่านทบทวน ไม่เกิน 15-20 นาที (แม้งานวิจัย กล่าวว่า attention span ของการฟัง lecture ในห้องคือ 45 นาที แต่ e-learning มีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจมากมาย จึงน่าจะสั้นกว่านั้น) สิ่งที่บรรจุ จึงคัดเอาเพียง A,B,C
Authentic กรณีศึกษา ประสบการณ์ผิดพลาดของข้าพเจ้าเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ (เหตุผลกล่าวในเรื่องนี้)
Basic     ย้ำหลักการพื้นฐานให้แน่น เอาเฉพาะส่วนที่เป็น Element ก่อนนำมาประกอบซับซ้อน
Credible  แหล่งอ้างอิง แหล่งสืบค้น
---
อุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น..
คงมีไม่น้อย อาจต้องเล่นแร่แปรรูปเพื่อปรับเข้ากับบริบทบ้านเรา
เมื่อ..ผู้สอน ไม่ค่อยบอก และ ไม่ค่อยถาม  แต่ เน้นให้ผู้เรียน "ถาม แล้ว หาคำตอบจากการทำ"
อะไรจะเกิดอะไรขึ้น..ทั้งอาจารย์และนักศึกษา จะได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน
###
 
สวัสดีวันครูค่ะ :-)
                            
หมายเลขบันทึก: 474787เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2012 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

สวัสดีวันครูค่ะ

รำลึกถึงคุณของครู ในทุกๆบทเรียนค่ะ

การเรียนรู้แบบให้....ผู้เรียน...ถาม...หาคำตอบจากการทำ

ชวนให้ระลึกถึงท่านกฤษณะมูรติจับใจค่ะ

ต้องกลับมาอ่่านทวนอีกหลายรอบ

ขอบคุณมากค่ะ

พ่อก็เป็นครู พี่ก็เป็นครู

น้องก็เป็นครู เพื่อนก็เป็นครู

แต่เหมือนไม่เคยได้พบครู

ต่อเมื่อเปิดใจที่จะเรียนรู้ "ครู" จึงปรากฏ

(16 มกราคม 2555...โดม.. วุฒิชัย )

สวัสดีวันครูครับอาจารย์

ขอให้อาจารย์หมอ และครูทุกท่านในโลก

มีความสุขมาก ๆ นะครับ

------

ผมยังไม่ได้อ่านข้างบน

หาเวลาอ่านแบบลึกซึ้ง

แล้วจะสนทนากลับนะครับ

วันนี้คิวงานเพียบ

ยังไม่ได้กากบาทออกสักรายการเลยครับ

แต่คิดถึงเข้ามาก่อนนะครับ

คุณหมอบางเวลา ... วิจัยในชั้นเรียน (Action Research) เลยนะครับ ;)...

ใคร่รู้ด้วยคน ;)...

 

ครูดีมีวิชาน่านิยม

ศิษย์ชื่นชมส่งใจรักเป็นนักหนา

ทั้งสอนสั่งศีลธรรมและจรรยา

ช่วยนำพาชีวาเป็นสุขเอย

..........................,....

นงนาท สนธิสุวรรณ

๑๖ มกราคม ๒๕๕๕

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ป.

เรียนรู้จากสิ่งที่ต้องการอยากรู้ นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดในความเป็นมนุษย์ แต่ประเด็นอยู่ตรงที่ปัจจุบันตัวนักศึกษาเองมาเรียนจากความอยากรู้ของตนเอง หรือถูกค่านิยมในบริบทกำหนดให้มา? ด้วยเหตุนี้ครูจึงจำเป็นต้องเป็นตัวกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความ "คึก" อยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ด้วยเทคโนโลยี หรืออาจเป็น "นวัตกรรม" ในการเรียนการสอน (ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เราเข้าใจ และอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ในโลก) เมื่อนักศึกษาสามารถตั้งคำถามที่เหมาะสมเองและตอบคำถามของตนเองได้ นั่นคือความเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในการเรียนรู้อย่างแท้จริง

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ครับ "คนเราหากเริ่มต้นตั้งคำถามก็ไม่ถูกต้องเสียแล้ว ก็อย่าหวังว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้องเลย" มันเป็นไปไม่ได้จริงๆ ผมเคยได้ฟังในหลวงท่านทรงตรัสเรื่อง "กระดุมเม็ดแรก" เข้าใจได้ดีเลยครับ เม็ดแรกเริ่มต้นผิด ก็จะผิดไปตลอดจนเม็ดสุดท้ายหาที่ลงก็ไม่ได้ด้วย เสียเวลาต้องมาแกะอีก เป็นปรัชญาง่ายๆและเข้าใจได้ดีทีเดียวครับ

ขอน้อมเคารพคุณครูผู้มี "พระคุณที่สาม" ที่งดงามสำหรับผมเสมอมาครับ สวัสดีวันครูครับ ^_^

  • แวะมาชื่นชมคุณครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างเด็กไทยค่ะ
  • อนาคตอันยาวไกล จะสำเร็จได้ หากคุณครูไม่อยู่นิ่งค่ะ ความเป็นครูมีอยู่ในทุกระดับการศึกษาเลยนะคะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ให้แนวทางการศึกษาที่มุ่งพัฒนานักศึกษาจากภายในตนเองค่ะ

ขอบคุณบันทึกดีๆ อีกแล้วค่ะคุณหมอบางเวลา

เลยได้ลิงค์ ที่น่าสนใจ ไปค้นคว้าต่อด้วยเลย

ที่โรงเรียนก็เน้นเรื่องการฝึกตั้งคำถาม ขอบคุณค่ะ

ร่วมรำลึกพระคุณครู และชื่นชม ครูในใจอีกคน ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ.สดุดีวันครูทุกๆท่านค่ะ!

...ขอมอบคติจากใจรัก(จากหนังสือ)มอบแด่ครู(อาจารย์)ทุกๆท่านค่ะ.

...It's good to have a destination when you take a journey.but the most important thing is a journey,not a destination.(เป็นเรื่องดีที่มีจุดหมายปลายทางในการเดินตรงไปเบื้องหน้า.ทว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือการเดินทางมิใช่จุดหมาย)

...Before we make a long jump, we have to step backward.(คนเราบางครั้งต้องก้าวถอยหลังก่อน เพื่อที่จะกระโดดให้ไกลขึ้น)

...ครูผู้ที่น่าเคารพเลื่อมใส คือครูผู้เปิดใจรับและก้าวเดินไปกับโจทย์ข้อใหญ่เพื่อเรียนรู้พร้อมๆกันกับศิษย์(ไม่ว่าด้านไหนจากการลงมือปฏิบัติ ย่อมเป็นคำตอบได้เสมอ) ...ขอบคุณค่ะ!

...ช่วงนี้ชีวิตของข้าพเจ้าก็กำลังจะก้าวไปในทิศทางคล้ายๆคำในคติพจน์เช่นเดียวกันค่ะคุณหมอ.(ด้วยโจทย์ข้อใหญ่ในชีวิตคือการพัฒนาตนเอง-วิถีชีวิต กับการที่จะต้องยืนหยัดด้วยลำแข้งของตนเองให้ได้ ในแนวทางสุขสงบแบบธรรมชาติจากรากเหง้า).....

ขอบคุณคะ คุณตะวันเบิกฟ้า

ที่แนะนำให้รุ้จักท่านกฤษณะมูรติ - J. Krishnamurti (1895-1986)
ยังไม่เคยอ่านหนังสือของท่าน
ฟังอย่างนี้คงต้องหาโอกาสอ่านแนวคิดของท่านบ้างแล้วคะ 

 

มีเพื่อนหลายคน มากจา ครอบครัวคุณครู เช่นกันค่ะ

แม้คนที่ไม่ได้มีอาชีพเป็นครูอาจารย์  

ก็ทำหน้าที่ ครู ให้กับเราได้

ต่อเมื่อเปิดใจที่จะเรียนรู้ "ครู" จึงปรากฏ

ขอบคุณมากคะ

  • "P.", just to say that  you are a real 21st century instructor who investigates to build a new paradigm of teahing to help your students learn more. I do admire you.  
  • Sorry. So far so bad. I made a mistyping again; teahing-teaching.  Hope you not to imitate my carelessness.

     สวัสดีค่ะ  Ico48 ร่วมรำลึกถึงคุณครูทุกท่านในชีวิต...ขอบคุณค่ะ

เป็นคำแนะนำที่น่าสนใจมากคะ

นึกได้ว่า อ.ขจิต เคยเขียนถ่ายทอดประสบการณ์ทำ Action research ที่นี่

และท่านอื่นเขียนในคำสำคัญ "Action research" นี้ 

สวัสดีคะ และร่วมสดุดีองค์ "ครูของแผ่นดิน" ด้วยคะ

Years have gone by since I last joined a planning session using QFT. I had learned a few things.

In making/producing questions step, we may get a question like "why should I care about ... (the subject/focus/prompt)?", "Do we have an time/example/evidence/support/resources for this? ...

And in the prioritization step: out of class, in a multiple-stakeholders 'session', questions can be prioritized to fit certain/influential demands better. (In such environment, open and candid reflection is a joke ;-)

That is QFT process when applied in complex settings can be delayed and hijacked or manipulated for preferred outcomes. In class rooms, the process itself is worth learning and practicing for learners' benefit.

Good luck with your class.

By the way, do you have a 'standard' result to compare with QFT result? Use QFT to evaluate the use of QFT?

บันทึกของคุณหมอ ป. สร้างแรงบันดาลใจให้ อ.ป๊อป ได้เห็นการพัฒนากระบวนการสอนและการเรียนรู้ (Teaching & Learning Process) ของงานกิจกรรมบำบัดศึกษาต่อไปข้างหน้าครับ ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณคะอาจารย์ที่ให้ข้อคิดแหลมคมค่ะ..

..ครูจึงจำเป็นต้องเป็นตัวกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความ "คึก" อยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ด้วยเทคโนโลยี หรืออาจเป็น "นวัตกรรม" ในการเรียนการสอน (ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เราเข้าใจ และอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ในโลก)

  อาจารย์บางท่านถนัดใช้เทคโนโลยี  บางท่านถนัดการใช้กิจกรรมประจำวัน ไม่ว่าเป็นวิธีใดล้วนมีคุณค่า เพราะการไปสู่เป้าหมายมีได้หลายทาง ขอเพียง วิสัยทัศน์หรือ "เป้าหมาย" เป็นที่เดียวกัน..
  วิสัยทัศน์ คงเปรียบเหมือนกระดุมเม็ดแรก ที่อาจารย์กล่าวมาคะ  

ขอบคุณคะ เพิ่งแวบไปอ่านบทความที่ อ.ธนิต เขียนปลุกให้การศึกษาตื่นรับความเปลี่ยนแปลง

และมองอย่างมีความหวัง เช่นเดียวกับอาจารย์ว่าคะ

"..อนาคตอันยาวไกล จะสำเร็จได้ หากคุณครูไม่อยู่นิ่งค่ะ"

...

การเปลี่ยนแปลง จากภายใน ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพงเสมอไป

แต่การเปลี่ยน ต้องการพลังงาน - Change need energy

จึงหวังว่า ขณะที่คุณครูหลายท่านมีอุดมการณ์พัฒนา

รัฐ และสังคม จะให้เกียรติ และดูแลคุณภาพชีวิตครูทุกระดับด้วยคะ

ไม่เพียงนักเรียนในชั้นเรียนนะคะ...ทุกคนที่ยังเป็นนักเรียนรู้ ใฝ่รู้ ก็ต้องหัดตั้งคำถามในชีวิตตนเองเหมือนกัน

ที่โรงพยาบาลนะคะ วันปฐมนิเทศพนักงานใหม่ จะบอกให้น้อง ๆ เขียนคำถามในชีวิตของเขาเอง 1 คำถามเสมอ

วันแรก และต่อ ๆ ไป คำถามจะเปลี่ยนไหม....เขาจะรู้เอง

ยินดีที่ลิงค์ได้ใช้ประโยชน์นะคะ

หลักการดูเรียบง่ายแต่การเปลี่ยนคงไม่ง่ายนัก

เหมือน "หยุดกินหมาก" คำเดียว สมัยหนึ่งเป็นเรื่องลำบากเอาการ.

เป็นกำลังใจให้คะ

สุขสันต์วันเด็กรวบวันครูด้วยนะคะ :)

ขอบคุณข้อคิดที่นำมาฝากคะ  อ่านแล้วช่วยให้ตัดสินใจได้เรื่องหนึ่ง
ที่ลังเลมาระยะหนึ่ง เพราะไม่กล้าหวังกับ "destination"  
พอคิดได้ว่า ความเสียหายที่จะไปไม่ถึงจุดหมาย หักลบ ประสบการณ์ที่เก็บไว้ใช้ได้จาก "journey" ยังคุ้ม ก็เลยจะลุยคะ :)

 

ขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับคำชื่นชมและรูปภาพจากอาจารย์คะ
(และขอบคุณที่อาจารย์กรุณาแปลคำร้องเพลง price tag ในบันทึกนี้ด้วยคะ) 

จากภาพทักษะครูในศตวรรษที่ 21 ทำให้ฉุกคิดถึงทักษะที่ปรารถนาของนักเรียนด้วย
คือ เป็นผู้บริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอน Creative, Problem solving skill 
ดูๆ แล้วคล้าย McGyver นะคะ 

  • ต้องปรับวิธีเรื่อยๆนะครับ เพื่อให้เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอาชีพครู.. 
  • ขอบคุณแนวคิดและความรู้ ซึ่งที่นี่มีให้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมเยือนด้วยครับ

สวัสดีวันครูค่ะ อาจารย์พจนา 
เลยได้ค้นหา ประเทศไทยเป็น หนึ่งในสิบเจ็ดชาติที่มีวันครูคะ 

 

ขอบคุณมากคะ คุณ Sr ที่เล่าประสบการณ์ใช้ QFT เป็นประโยชน์

QFT process when applied in complex settings can be delayed and hijacked or manipulated for preferred outcomes

อ่านตรงนี้ ไม่แน่ใจว่าหมายถึง ในการประชุมเพื่อพัฒนางาน (นอกห้องเรียน) ไม่ควรใช้ QFT เพราะทำให้การตัดสินใจล่าช้าไม่ทันการณ์ หรือเปล่าคะ ?

ขอบคุณมากๆ สำหรับคำถามทิ้งท้ายที่สำคัญ

do you have a 'standard' result to compare with QFT result? Use QFT to evaluate the use of QFT?

คำตอบที่อยู่ในใจตอนนี้ หลังจากติดตามความเคลื่อนไหวองค์กรมาระยะหนึ่ง

คงวัดจาก "impact" ของโครงการเมื่อนักศึกษาขึ้นชั้นปีที่ 6 และ งานวิจัยสอบบอร์ดของแพทย์ประจำบ้าน

เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้ QFT และไม่ใช้ QFT (ให้ brain stroming ปกติ)

ที่ผ่านมาเรายังไม่มีข้อยุติที่ชัดเจนว่า organization goal คืออะไร -> จึง prioritize สิ่งที่จะนำมาเป็น key performance index ลำบากคะ แต่แนวโน้มปัจจุบัน ดูจากการเพิ่มทุนวิจัยภายใน เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ชัดเจนถึงการพยายามเป็น มหาวิทยาลัยวิจัย -- และแนวโน้มอนาคต นักวิชาการสายรับใช้สังคมไทย

ยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ ลปรร. เรื่องนี้ต่อไปอีกคะ

ขอบคุณคะ อ.ดร.ป๊อป
และขอชื่นชมความทุ่มเทของอาจารย์
ที่ให้นักศึกษา ฝึกการใช้วิจารณญาณ
ผ่านการนำเสนอเคส พร้อม evidence based ด้วยคะ

การเรียนรู้ไม่ได้จบในห้องเรียน

เข้าทีดีคะ วันปฐมนิเทศ หรือ ประชุมองค์กรประจำปี ให้เขียนคำถามในชีวิตดู

เป็นการ reflection และฝึกตั้งเป้าหมาย

น่าจะลองนำไปใช้บ้างคะ

อจ.นพ.สกลเคยพูดไว้ว่า Educationคือ change แวะมาแอบ KM นะคะ

ขอบคุณคะ คุณครูธนิต

เคยคุยกับ คนสิงคโปร์  เกาหลีใต้  ญี่ปุ่น
ซึ่งระบบการศึกษาเป็นอันดับต้นๆ ของโลก 
เขาบอกว่า อาชีพครู เป็นงานที่สังคมให้เกียรติมาก และมีสวัสดิการดีเยี่ยม
ขณะเดียวกัน การคัดเลือกก็เข้มข้นมากด้วยคะ 

เป็นความคิดรวบยอดที่สำคัญเลยคะ

Education is change

change need energy

อุปสรรคหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง..ที่เจอกับตัวเองวันนี้คือ

ตัวเราอยากเปลี่ยนสิ่งหนึ่ง แต่คนอื่นไม่อยาก

เปลี่ยนคนเดียวก็ไม่ได้ เพราะจะไม่ "กลมกลืน"

สรุปแล้ว จึงยังไม่เปลี่ยนดีกว่าและจะไม่พูดถึงอีก

เพราะต้องเก็บแรงไว้ทำ สิ่งที่มีในบันทึกนี้ แทนคะ

เข้ามาร่วมเรียนรู้ไปด้วยอีกคนค่ะ

ขอบคุณคะ เป็นกำลังใจในการตัดเสื้อนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท