เทเลคอมยุโรปทรุด '3จี'ไปไม่ถึงเป้า เมื่อครั้งที่เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ 3


"third-genaration" หรือ 3 จี เริ่มมีบทบาทในแวดวงอุตสาหกรรมไอทีเมื่อปี 2000 บรรดาบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ ทั้งในญี่ปุ่น เกาหลีใต้
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป   ต่างทุ่มเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล  เพื่อซื้อใบอนุญาตและ                                                   สร้างเครือข่ายรองรับกันอย่างคึกคักคาดการณ์กันว่า   ตั้งแต่ปี   2000  เป็นต้นมา  บริษัทเทเลคอมสัญชาติยุโรปทุ่มเงินรวมกันราว 129,000  ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อใบอนุญาต 3 จี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเช็กอีเมล์ ดาวน์โหลดเพลงและภาพยนตร์ จองตั่วเครื่องบิน กระทั่งตรวจสุขภาพผ่านทางมือถือ ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใดก็ได้แต่ดูเหมือนว่า  พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของผู้บริโภคเกือบทั้งหมด  จะยังคงไม่แตกต่างจากเมื่อ ปีก่อนเท่าใดนัก ทำให้เสียงวิจารณ์ถึงความไม่คุ้มค่าของต้นทุนใบอนุญาติและการสร้างเครือข่าย  3  จี เริ่มดังขึ้นทุกขณะ  บริษัทโทรคมนาคมบางแห่งเริ่มมีปัญหาการเงิน  มีการฟ้องร้องค่าเสียหาย  และบางแห่งถึงกับต้องล้มละลายจากรายงานการเงินประจำปีของโวดาโฟนระบุว่า  ตั้งแต่ปี  2000 เป็นต้นมา ได้ทุ่มเงินกว่า 33,000  ล้านเหรียญฯ เพื่อซื้อใบอนุญาติ  3 จี และสร้างเครือข่ายรองรับการใช้งาน แต่ในไตรมาสแรกของปีนี้  โวดาโฟนมียอดขายข้อมูล  3 จี เพียง 277 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นกำไรสุทธิ 42 ล้านเหรียญฯ หากโวดาโฟนทำรายได้ในอัตราเท่านี้  จะต้องใช้เวลาถึง  107 ปีจึงจะถึงจุดคุ้มทุนด้านฮัทชิสัน  แวมปัว  บริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติของฮ่องกง เผยว่า ทุ่มเงินกว่า 25,200 ล้านเหรียญฯ ในการซื้อใบอนุญาต  3 จี แต่ระหว่างปี 2003 ถึง 2005 ฮัทชิสันขาดทุนไปกับการดำเนินการ 3 จี ราว 11,000 ล้านเหรียญฯ รวมถึง 3.5 ล้านเหรียญฯ เมื่อปีที่แล้วขณะที่ที-โมบายของเยอรมนี ทุ่มงบ 15,800 ล้านยูโร เพื่อ 3 จี หลังจากนั้นระหว่างปี 2000 ถึง 2004 ที-โมบายขาดทุน 5,400 ล้านยูโรพอล  สตอดเดน  ซีอีโอของเดบิเทล  บริษัทโทรคมนาคมของเยอรมนี ซึ่งแพ้การประมูลซื้อใบอนุญาตกล่าวว่า  "การที่เราไม่ได้ใบอนุญาต  นับเป็นความโชคดีที่สุด และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของเรา 3 จี ไม่ใช่เพียงจะดูดเงินจำนวนมหาศาลเท่านั้น  หากบริษัทเทเลคอมบางแห่งยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับมันด้วยซ้ำไป"นักวิเคราะห์ชี้ว่า   บริษัทเทเลคอมส่วนใหญ่ประเมินค่าของ 3 จี  สูงเกินไป  กระทั่งไปฟินแลนด์เองก็มีปัญหาคนไม่นิยมโทรศัพท์  3 จี จนรัฐบาลต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ "บริษัทโทรศัพท์ต้องให้โทรศัพท์ไปฟรี  เพราะว่าไม่มีใครต้องการจะซื้อมัน"  จอห์น สตรันด์ ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมในโคเปนเฮเกน เดนมาร์กกล่าวสำหรับนักลงทุนที่ครั้งหนึ่งเคยซื้อหุ้นของบริษัทโทรคมนาคมที่มีใบอนุญาต  3 จี  เวลานี้มองว่ากลายเป็นตัวถ่วงด้านการเงินไปเสียแล้วผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมือถือบางแห่งยอมรับว่า   มีการพูดถึงผลประโยชน์ของ  3 จี ที่เกินจริง และไม่มีใครรู้ว่าต้องใช้ระยะเวลาเท่าใดที่  3 จี จะได้รับความนิยม อย่างไรก็ดี บางคนชี้ว่าการเติบโตของยอดขายที่  3% ถึง 7% ก็นับว่ารวดเร็วมากแล้ว "มันมีการพูดเกินความจริงตั้งแต่ต้น   แต่เราก็ยังเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์" วิเว็ค บาดินรัธ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของออเรนจ์ในฝรั่งเศสกล่าว  "เราใช้เงินไปมาก  และเราหวังให้มันได้ผลเสียที"ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า  สาเหตุหลักที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไม่นิยมเทคโนโลยี  3 จี เป็นเพราะว่ามันใช้งานยากและมีราคาแพงเกินไป    ดังนั้นความท้าทายหลักใหญ่ของบริษัทผู้ให้บริการก็คือ ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคใช้งานได้ง่ายที่สุดเยนส์  เทียมันน์  วิศวกรจากสถาบันฟรอนโฮเฟอร์ในเบอร์ลินกล่าวว่า พวกโปรแกรมสตรีมมิ่งวิดีโอ  คุยโทรศัพท์พร้อมภาพ ดาวน์โหลดเพลง และโมบายอินเทอร์เน็ต ยังมีราคาแพงและไม่ได้ผลเท่าใดนัก "ผมยังไม่เห็นเหตุผลว่าผู้บริโภคจะต้องการมันแต่อย่างใด" เยนส์กล่าวปัจจุบันมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในยุโรป   ทั้งตะวันตกและตะวันออกทั้งหมด  720 ล้านคน แบ่งเป็นผู้ใช้ 3 จี 38.6 ล้านคน หรือราว 5.4% เท่านั้นอย่างไรก็ดี  ถึงแม้ว่า 3 จี จะเริ่มต้นช้าและมีต้นทุนสูงลิบ แต่บริษัทโทรคมนาคมเกือบทั้งหมดก็ระบุว่า 3 จี จะมีประโยชน์ในอนาคตอย่างแน่นอนอลัน   ฮาร์เปอร์  ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ของโวดาโพนกล่าวปกป้องการลงทุน  3 จี  "แน่นอนว่า  3 จี จะต้องคุ้มค่าอย่างแน่นอน  คุณต้องมองเหนือไปจากแค่เลขหมาย การลงทุนขยายเช่นนี้เป็นเหมือนการปฏิวัติเทคโนโลยี ซึ่ง 3 จี จะเป็นฐานในอนาคตอย่างแน่นอน"ขณะที่   เรเน โอเบอร์มันน์ ซีอีโอของที-โมบาย ซึ่งมีเครือข่าย 3 จี อยู่ใน 6 ประเทศกล่าวย้ำว่า "หากผมมีโอกาสอีกครั้ง ผมก็จะไม่ลังเลที่จะคว้าใบอนุญาต 3 จี มาอีก"ด้านทอร์สเทน   เดิร์ค   ซีอีโอของอี-พัลส ก็มองในแง่ดีเช่นกัน โดยตั้งข้อสังเกตว่า ตั้งต่ปี 1992 ถึง  1997  เครือข่ายจีเอสเอ็มมีผู้ใช้เพียง  10%  เท่านั้นในเยอรมนี  แต่หลังจากนั้นในปี 1997 ถึง 2002  ยอดผู้ใช้ก็ก้าวกระโดดไปถึง  80% ซึ่งการพัฒนาการของ 3 จี ก็จะเป็นเช่นเดียวกันนี้ "มันเป็นหนทางของการเติบโตทางธุรกิจ" เดิร์คกล่าว.
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 47401เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท