เทคนิคการปลูกกล้วย


บังคับทิศทางกล้วยตกเครือ

         ขออนุญาตนำสาระมาเล่าสู่กันฟัง เนื่องจากหยิบจดหมายข่าวของกรมส่งเสริมการเกษตร ฉบับเก่า ๆ มาอ่านพบสาระที่น่าสนใจ เป็นเรื่องของการตกเครือของกล้วย  เทคนิคนี้ได้จากประสบการณ์ของผู้มีอาชีพปลูกกล้วยได้เปิดเผยให้ได้รู้กัน ต้องขอขอบคุณ คุณเตือนใจ  วิเศษสุวรรณ ซึ่งได้เคล็ดลับมาจากคุณประโยชน์  เฉลิมกลิ่นอีกต่อหนึ่ง ซึ่งเดิมเคยมีประสบการณ์การปลูกกล้วย และปัจจุบันเป็นผู้จัดการฟาร์มอยู่ที่ ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

         "กล้วย" เรียกได้ว่าเป็นพืชประจำบ้าน หรือเป็นพืชคู่กับครอบครัวคนไทยมาทุกยุคสมัย  ไม่ว่าจะคนภาคไหนแทบทุกบ้านจะปลูกกันมากบ้างน้อยบ้าง ตามอัธยาศัย  เคยได้ยินคนพูดว่า ปลูกกล้วย 1 ต้นมีคุณมาล้น 108 ประการ คงเป็นคำเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่ามหาศาลของกล้วยนั่นเอง

           การปลูกกล้วยแบบยกร่อง ตามแบบสวนในที่ลุ่มภาคกลางทั่วไป  นิยมปลูกกล้วยไว้ 2 ชนิด คือกล้วยน้ำว้า และกล้วยหอม โดยทั่วไปจะไม่ได้สังเกตหรือใส่ใจว่ากล้วยที่ปลูกไว้จะตกเครือไปทิศทางไหน  ปลูกไปแล้วก็เพียงแต่หวังให้ได้กล้วยเครือใหญ่มีลูกหลาย ๆ หวี  บางครั้งก็เคยหงุดหงิดอยู่บ้างว่ากล้วยที่ปลูกไว้ ตกเครือสะเปะสะปะ  บางต้นตกเครืออยู่บนหลังร่อง  ส่วนที่เป็นพื้นดิน บางต้นก็ตกเครือยื่นไปบนท้องร่องส่วนที่เป็นน้ำ ยากแก่การค้ำ (โดยเฉพาะกล้วยหอม ต้องค้ำมิฉะนั้นต้นจะหักเมื่อกล้วยตกเครือ พอถึงเวลาที่กล้วยแต่ตัดได้ เครือที่มีปัญหาคือเครือที่ยื่นไปในน้ำนี่แหละ!!!

          สำหรับเทคนิคที่จะทำให้กล้วยตกเครือในทิศทางที่ต้องการไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์เสริมพิเศษแต่อย่างใด เพียงแต่ใช้ความสังเกตนิดหน่อย คือให้พิจารณาหน่อกล้วยที่จะปลูกว่าหน่อกล้วยที่มีอยู่นั้น ส่วนที่เป็นเหง้าจะมีรอยแผลที่ถูกตัดแยกมาจากเหง้าของต้นแม่ ถ้าปลูกหน่อนั้นลงไป เมื่อกล้วยโตขึ้นและตกเครือ เครือจะอยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับรอยแผลนั้นเสมอ ดังนั้นถ้าต้องการให้เครือของกล้วยหันไปในทิศทางใด ก็ต้องสังเกตและปลูกให้รอยแผลอยู่คนละด้านกับทิศที่เราต้องการให้กล้วยตกเครือ 

         สำหรับกล้วยที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คงต้องใช้วิธีปลูกแบบวัดดวงไปก่อนในรุ่นแรก เพราะยังไม่มีแผลที่เหง้าให้สังเกต

           กล้วยนิยมปลูกกันมากในทุก ๆ บ้าน ถ้าบ้านไหนปลูกเป็นการค้าก็อาจจะนำเทคนิคที่ว่านี้ไปลองปรับใช้กันดู ได้ผลประการใดก็เล่าสู่กันฟังบ้างนะค่ะ

           ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิค คุณประโยชน์  เฉลิมกลิ่น และคุณเตือนใจ  วิเศษสุวรรณที่นำมาเล่าต่อกันฟังนะค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #เกษ๖รชุมพร
หมายเลขบันทึก: 47397เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • นึกว่ากล้วยๆ ถ้าไม่ศึกษาไม่ใช่เรื่องกล้วยเลยเน้อ
  • ผลไม้สุกถ้าไม่กินมันก็เน่า ของเก่าๆถ้าไม่เล่ามันก็ลืม
  • เกษตรกรชาวสวนกล้วยของชุมพร คงรับทราบและทำให้ออกเครือไปในทิศทางเดียวกันได้แล้วนะ สะดวกในการจัดการ
  • ช่วยบอกผ่านท่านเกษตรอำเภอเข้ามา ลปรร.กันบ้างนะ

สวัสดีค่ะ  เด็กเกษตร(บางเขนหรือเปล่าคะ) ล้อเล่น

  • ครูอ้อยเขียนบันทึกเกี่ยวกับกล้วย 
  • ซึ่งตรงกับบันทึกนี้
  • เผื่อว่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจต่อไปให้ผู้อื่นได้ศึกษา 
  • เรียนเชิญอ่านที่นี่ค่ะ 
  • ขอบคุณค่ะ

 

มีความสนใจกับการทำสวนกล้วยหอมไว้เป็นรายได้เสริม ไม่มีความรู้มาก่อน มีที่เปล่าไว้แถว ๆ ด่านช้าง ทำเลเป็นดินปนหินคะ

ต้นกล้วยที่ปลูกพร้อมกันแต่มีบางต้นโตไม้ถึงไหนเลยต้องทำอย่างไรดีค่ะขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากๆเลยนะคะ

สำหรับเทคนิคดีๆ

ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงๆ

ดีครับ น้องแนน ดีแล้วครับ เป็นช่องทางการเผยแพร่ ความรู้ หลายๆช่องทาง เป็นประโยชน์กับเกษตรกร และผู้สนใจครับ (หวังว่าตอนนี้คงสบายดี ไม่ได้เจอกันหลายเดือนแล้วนะครับ มีข่าวดี อย่าลืมบอก ลุงระบ้างนะครับ) ถือโอกาส ฝากความคิดถึง น้องอรชุน,น้องวิมล,เจ้เลี้ยงและ ทุกๆคนที่สนง.เกษตรทุ่งตะโก ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท