(ว่าที่)สวนป่าผืนน้อยกับภาวะน้ำท่วม


ปัจจัยที่ทำให้น้ำท่วมในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทยมาจากการตัดไม้ทำลายป่า หรือวิถีชีวิตของคนในชนบทเปลี่ยนไป หากทุกชุมชนยึดหลักทฤษฎีใหม่ของในหลวง ปัญหาต่างๆ จะคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น

      เมื่อตอนตี ๔.๐๐ น.ของวันแรกแห่งปี ๒๕๕๕ ความเคลื่อนไหวของเพื่อนบ้านทำให้รับทราบได้ว่า มีบางจุดในหมู่บ้านน้ำท่วมหลังจากที่ฝนตกเรื่อยๆ มาตลอดทั้งวัน ฉันก็คิดถึงบ้านในสวน พอตอนเช้าก็เริ่มเดินสำรวจคือจุดสะพานข้ามคลองทั้งสองจุดพบว่า ระดับน้ำขึ้นสูงกว่าปีที่ผ่านมา และสังเกตเห็นว่าหลายๆบ้านที่ไม่เคยท่วมก็ท่วม นี้คือหลักฐานของการที่คนเราไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม  

"ถนนเส้นหลักของหมู่บ้านที่ผ่านสวนของเรา"

 

      ในมุมมองส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้น่าจะมาจากการที่ยางพารามีราคาสูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาทำให้หลายๆคน เปลี่ยนระบบสวนดั้งเดิมที่มีอยู่เป็นสวนยางพารา เพราะฉันอาจกล่าวได้ว่า สวนของเราเป็นสวนเดียวที่ยังคงดั้งเดิมคือเป็นสวนผสมมีไม้ใหญ่ๆ แต่เนื่องจากเราก็มีพื้นที่จำกัด และพบว่าไม้ไผ่หรือไม้ที่แม่และพวกเราพยายามจะลงปลูกเรื่อยๆ ริมคลอง จะถูกขโมยโดยความคิดที่แตกต่างออกไป บางก็นำไปทำไม้ประดับ บางก็นำไปรับประทานเป็นอาหาร  ยังจำภาพที่แม่เอาสายสิญจน์ไปคล้องรอบๆกอไผ่หวังจะให้อยู่รอดปลอดภัย แต่ก็ไม่เลย ปีนี้ฉันจะรอให้ต้นกล้าของต้นจากแข็งแรงฉันจะลองไปเอาลงข้างคลองอีก ถ้าสวนเรามีกอจากเป็นภาพที่มีเสน่ห์ไม่เบาเลย   จากการที่ชาวบ้านเปลี่ยนแนวคิดเป็นปลูกยางพารามากขึ้นซึ่งยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวรากตื้นไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ทำให้น้ำมาเร็วและมาแรง หลายบ้านเลยประสบความเสียหาย รวมถึงบ้านในสวนของฉันเพียงแต่ฉันมองเป็นเรื่องธรรมดาเพราะประสบการณ์ในวัยเด็กโตมากับบ้านที่อยู่ริมน้ำประเภทท่วมทุกปี ปีไหนท่วมแรงบ้านเราก็จะเสียหายมากมาย พังไปครึ่งหลังแต่ในยามนั่นไม่มีระบบเงินชดเชย แต่ภาพที่ตาและพ่อทำแนวคั้นกั้นน้ำด้วยระบบเสารั้วและทางมะพร้าวเป็นภาพที่ฉันยังจำได้ติดตามและช่วยเราได้ในทุกๆปีด้วยระบบผ่อนหนักเป็นเบา ภาพเหล่านี้หายไปจากคนรุ่นฉันด้วยวิถีเปลี่ยนไป การแก้ปัญหาของคนรุ่นฉันคือ การขุดภูเขามาถมพื้นที่ต่ำ  การไม่ให้ความสำคัญกับคลอง และอีกมากมายที่หายไปกับกาลเวลา


"ฝั่งตรงกันข้ามกับสวนเรา เสียหายมากมาย"

        เมื่อวานวันที่สองของปีฉันเดินสำรวจสวนพร้อมกับถือโทรศัพท์เพื่อรายงานข่าวให้แม่ซึ่งไปช่วยน้องชาย Big Cleaning และเยียวยาบ้านน้องชายที่กรุงเทพ นักข่าวจำเป็นแบบฉันต้องรายงานข่าวเชิงบวกเพื่อให้คนไกลสบายใจบอกแม่ว่า "ไม่เท่าไรแม่  ต้นไม้ส่วนใหญ่ปลอดภัย ฝั่งดินริมคลองอยู่ในสภาวะปกติและมีดินมาถมเพิ่มขึ้น"  แม่ก็เพียรถามต้นไม้ทุกต้นว่าอยู่ดีมีสุขหรือไม่อาทิเช่น ต้นหยี  ต้นมะกอก ต้นส้มแขก  เป็นต้น  จริงๆต้นไม้สวนเราก็เสียหายน้อยมีน้องมังคัดสองต้นละ และต้นไม้เล็กๆที่เพิ่งจะปลูกเสียหาย แต่ไม่เป็นไรเสียหายแบบนี้ซ่อมได้ค่ะ เพราะครอบครัวเราก็เป็นครอบครัวนักปลูกมาตั้งแต่สมัยตายายแล้ว  พวกเราตั้งใจให้สวนนี้เป็นสวนป่าจริงๆ อยากให้มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดและมีสัตว์กลุ่มหนึ่งได้มีที่อยู่อาศัย ซึ่งงานนี้คงเหมือนงานเย็บปักถักร้อยทำกันไปได้เรื่อยๆ อีกหลายชั่วอายุคน

"ล้มได้ก็ลุกได้"

        น้ำท่วมครั้งนี้ฉันอยากให้คนในชุมชนได้ทบทวนวิถีชีวิตและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนใหม่วันนี้อาจยังไม่คิดแต่อยากให้มีสักวันที่คิดได้

        

หมายเลขบันทึก: 473304เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2012 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

แวะมาเยี่ยม ส่งกำลังใจไปช่วยค่ะ ครูนก ขอให้อย่าเสียหายมากมายเลยนะคะ ^^

สวัสดีครูนก มาส่งกำลังใจ และให้กำลังใจกัน

เราโดนน้ำเหมือนๆกัน ปีที่แล้ว สวนเสียหาย 99เปอร์เซ็นต์ ทั้งบ่อปลา ทุเรียนมังคุด เงาะ มะปราง ที่เสยดายมากที่สุด คือต้น สะหวา(ละมุด) อายุ ร้อยปี คนทั้งเทศบาลชมว่าสะหวาสวนนี้อร่อยที่สุด ก็มาเสียหาย

ปีนี้น้ำท่วมผ่านในบ้านไม่แวะนานออกไปแล้ว

ขอบคุณคุณหนูรี

เสียหายบ้างแต่เมื่อเทียบกับคนอื่นครูนกมองว่าปัญหาตนเองเล็กน้อย เพราะต้นไม้ก็ช่วยต้นไม้ซึ่งกันและกันทำให้มีที่ต้องไปเพราะน้ำ และยังใช้กั้น และดูดซับน้ำไว้ได้ด้วย

ชาวหาดใหญ่น้ำไม่ท่วมเป็นเรื่องที่น่ายินดีค่ะ ผลกระทบในเรื่องต่างๆจะน้อยหน่อย

สวัสดีค่ะ ท่านวอญ่า

ใช่เลยครูนกมองว่าน้ำผ่านเสียมากกว่า....ส่วนต้นไม้ก็ต้องซ่อมกันต่อไปถ้าเทียบกับชาวเกษตรกรแถบภาคกลางเราโชคดีกว่าเยอะเลยค่ะ ครูนกกลัวพันธุ์ส้มโอ และพันธุ์ทุเรียนเมืองนนท์ จะหายไปกับน้ำ

ตอนนี้หนังสือเก่าเก็บหลายเล่มของครูนกก็ไปกับน้ำแล้วเช่นกัน ปีแห่งการส่งเสริมการอ่านจริงๆเลย น้องน้ำก็ยังอ่านหนังสือเก่าๆ

ส่งกำลังใจค่ะครูนก

จำได้ว่า ศูนย์เตรียมความพร้อมฯ ลงหาดใหญ่ตั้งแต่ปี 43

แล้วหลังจากนั้น ฝนตกหนักคราใด หาดใหญ่ก็ท่วมเสมอ:)

สวัสดีค่ะ

ขอส่งกำลังใจให้ด้วยคนนะคะ

  • สวัสดีค่ะคุรครูนก
  • มาส่งกำลังใจให้ค่ะ
  • เรื่องการปลูกยางพาราอย่างเดียวนี่ทางบ้านก็กำลังปลูกกันอยู่เกรงเหลือเกินว่าจะเป็นอย่างที่ทางใต้เจอค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องPoo

สภาพภูมิศาสตร์หาดใหญ่เอื้อต่อการท่วมอยู่ล้วค่ะ ตอนนี้ปัญหาสำคัญอยู่ที่เมื่อไหร่คนจะเห็นความสำคัญของป่าไม้ที่เหลือและที่จะปลูกกันใหม่เพราะช่วยชะลอความแรงของน้ำได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณปริม
            ขอบคุณมากค่ะสำหรับกำลังใจ ตอนนี้ภาคใต้ต้องลุ้นกันหลายจังหวัดมากเลยค่ะภาวนาให้คลี่คลายในทิศทางที่ดี

สวัสดีค่ะ คุณสุภัทรา

ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจ น้ำที่ภาคใต้จะท่วมต่างจากภาคกลางและกรุงเทพฯ คือ น้ำบ้านเราไปแล้วมาแล้วนะค่ะ

ส่วนเรื่องพื้นที่ปลูกยางคงต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ ให้ปริมาณเหมาะสมเพราะยางเป็นพืชรากตื้นไม่สามารถดูดซับน้ำและยึดเกาะดินได้ ถ้าพื้นที่ป่าถูกลดน้อยเกินไปก็กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะน้ำท่วมได้นะค่ะ

  • พี่นกมาเอาใจช่วย
  • ขอให้ฟื้นเร็วๆๆ
  • มาอวยพรปีใหม่ด้วยขอให้มีความสุข
  • ต้นไผ่หรือไม้อื่นที่ไม่ใช่ต้นยางจะเกาะดินได้ดีครับ
  • เอามายืนยัน

เวลาเจอวิกฤตให้บอกตัวเองว่านี่คือบทพิสูจน์ธรรม"ในวิกฤตย่อมมีโอกาส (ว.วชิรเมธี)

ขอบคุณน้องอาจารย์ขจิตมากที่นำภาพสวยๆสบายตามาฝาก....กอไผ่ช่วยได้อย่างน้องแนะนำและยืนยันมานะค่ะ แต่แถวบ้านพี่นกยังมีจอมโจรขโมยหน่อไม้ค่ะ ตัดเสียไม่เหลือให้เจริญเติบโตกลายเป็นต้นเลย

ขอบคุณสำหรับข้อคิดคติธรรมที่นำมาฝากนะค่ะ น้องพิชชา

"เวลาเจอวิกฤตให้บอกตัวเองว่านี่คือบทพิสูจน์ธรรม"

ในวิกฤตย่อมมีโอกาส (ว.วชิรเมธี)

ชอบจังคำว่า..ล้มได้ก็ลุกได้.. เป็นกำลังใจให้นะค่ะ สู้สู้ เพราะเดี๋ยวมันก็ผ่านไป

ขอบคุณค่ะ คุณ Catch me7

ต้นไม้ล้ม แต่ใจไม่ล้มเดี๋ยวก็ปลูกกันใหม่ได้นะค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท