pressure sensor


เครื่องมือวัดแรงกดแบบจุดที่ทางผมได้พัฒนาขึ้นจาก ห้องแล็ปปฏิบัติการวัดและประมวลผลทางชีวการแพทย์ ของวิศวกรรมชีวการแพทย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังซึ่งในวันนี้ได้นำเครื่องมือวัดแรงกดแบบจุด มาทดสอบการเก็บข้อมูลของผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลธนบุรี อภิสิทธิ์ นำชัยชนะกิจ


วันนี้ผมนายอภิสิทธิ์ นำชัยชนะกิจ
ได้รับเกียรติจาก คุณหมอ เชิดพงศ์ หังสสูต ให้สามารถนำเครื่องมือวัดแรงกดแบบจุด
ที่ทางผมได้พัฒนาขึ้นจาก ห้องแล็ปปฏิบัติการวัดและประมวลผลทางชีวการแพทย์ ของ
วิศวกรรมชีวการแพทย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ซึ่งในวันนี้ได้นำเครื่องมือวัดแรงกดแบบจุด มาทดสอบการเก็บข้อมูลของผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลธนบุรี

  
ท่านแรก เป็นเพศชาย อายุ 28 ปี
น้ำหนัก 97.1 กิโลกรัม ส่วนสูง 170 เซนติเมตร อาการที่ตรวจพบคือ
มีอาการเป็นบาดแผลใต้ฝ่าเท้าที่บริเวณ Meta Tarsal
Head 5 ซึ่งเมื่อทดสอบจากการเดินบน Harris Mat ปรากฏว่า มีแรงที่กดลงบริเวณแผลเป็นจำนวนมาก (สีเข้ม)
บริเวณ MTH5 ทั้งเท้าซ้ายและเท้าขวา
เมื่อสอบถามประวัติ จึงทราบจากคุณหมอว่า ชายผู้นี้เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่เด็ก


หลังจากนั้นคุณหมอจึงได้ทำแผล
และติดวัสดุที่คล้ายๆกับสติ๊กเกอร์สุญญากาศบนบริเวณบาดแผลของผู้ป่วย
หลังจากนั้นจึง Mark ตำแหน่ง
เพื่อที่จะติด Sensor วัดทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงรองเท้า
เพื่อดูว่าตัวเลขที่แน่ชัด ของการทำให้เกิด Force Peak ณ.
ตำแหน่งนั้นๆ มีค่ามากน้อยเพียงใด

ต่อจากนี้เป็นขั้นตอนการติดเครื่องวัดบริเวณขาของผู้ป่วย
และทำการวัดตลอดเวลาที่เดิน ซึ่งขีดความสามารถของเครื่องนี้คือ
สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1-6 จุดในเวลาพร้อมกัน โดยสามารถเก็บข้อมูลโดยรวมได้ 1,000 Hertz หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า ในเวลา 1 วินาที สามารถเก็บข้อมูลจาก Sensor ที่ติดอยู่บริเวณตำแหน่งที่ต้องการวัด
ได้ถึง 1,000 ข้อมูลในเวลาเดียวกัน
ซึ่งประโยชน์ของเครื่องนี้หลักๆนั้น จะเป็นตัวที่สามารถ Re-Check ระหว่างการดัดแปลงรองเท้า หรือ แผ่นรองส้นเท้า ทั้งก่อนและหลังได้
เช่นก่อน การดัดแปลงรองเท้า มี แรงกดบริเวณตำแหน่งนั้นๆ 700 kPa (กิโลปาสคาล) แต่หลังการดัดแปลงรองเท้า เช่น
เจาะให้เป็นรู หรือ การทำ แผ่นรองส้นเท้าพิเศษให้เข้ากับรูปเท้า
อาจจะลดแรงกดบริเวณตำแหน่งนั้นๆได้ อย่างน้อย 40-50% หรืออาจจะมากกว่านั้น
เช่น อาจจะลดจาก 700 kPa เหลือเพียง 300 kPa เป็นต้น เมื่อเราสามารถทราบตัวเลขระหว่างก่อนและหลังแล้ว
อาจจะวางสมมุติฐานได้ว่า เมี่อแรงกดลดลงบริเวณตำแหน่งที่สนใจ อาจจะทำให้บาดแผล
หรือ อาการเจ็บปวดบริเวณนั้น สามารถที่จะหายได้เร็วขึ้นเป็นต้น

นอกจากเราได้พัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ติดกับผู้ป่วยในขณะเดินแล้ว
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งคือ ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล หรือ อ่านข้อมูลจาก SD-Card ที่ถูกบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากเครื่องมือวัดแรงกดแบบจุด
ซึ่งข้อมูลที่ได้ออกมานี้เป็นข้อมูลที่แสดงถึงการอ่านย้อนกลับ
ตั้งแต่ต้นของการเดิน จนถึงการจบการเดิน และผลที่ได้มีลักษณะดังรูปต่อไปนี้


ดูข้อมูลโดยรวม โดยยังไม่มีการ Zoomไป ตำแหน่ง
Force Peak ที่สนใจ (ก่อนการดัดแปลงรองเท้า)


ข้อมูลหรือบริเวณ Force Peak ที่เราในใจ
ซึ่งจากรูป Peak สูงที่สุดของช่วงการเดินผู้ป่วยรายนี้คือ 512
kPa 

(ก่อนการดัดแปลงรองเท้า)

จาก 2 รูปด้านบน เป็นรูปที่แสดงถึงข้อมูล ก่อนการดัดแปลงรองเท้า ซึ่งชายผู้นี้
บริเวณ MTH5 มีการกระทำจากแรงใต้ฝ่าเท้าสูงถึง 512
kPa ซึ่งเราได้จินตนาการว่า หากทำการดัดแปลงรองเท้าของผู้ป่วยแล้ว
อาจจะทำให้แรงที่สูงขนาดนี้ ลดลง จึงได้ทำการดัดแปลงรองเท้าโดยวิธีการง่ายๆ คือ
ทำการ Mark ตำแหน่งที่มีบาดแผล และ เจาะบริเวณพื้นรองเท้า
ไม่ให้ แผลได้กระทบกับพื้นรองเท้าอีก ซึ่งวิธีการนี้ อาจจะทำให้ผู้ป่วย
หายจากบาดแผลที่เป็นอยู่ ไม่ช้าก็เร็ว


ทำการเจาะผ่านพื้นรองเท้าของผู้ป่วย

หลังจากที่ทำการดัดแปลงรองเท้าของผู้ป่วยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เราจึงให้ผู้ป่วย ติดระบบเซ็นเซอร์ที่ได้พัฒนาขึ้น อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อทำการตรวจสอบว่า น้ำหนักที่ตกลงบริเวณจุดที่เราสนใจนั้น
มีการเปลี่ยนแปลงลดลงหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้ แสดงในรูปต่อไปนี้



ดูข้อมูลโดยรวม โดยยังไม่มีการ Zoomไป ตำแหน่ง
Force Peak ที่สนใจ 
(หลังการดัดแปลงรองเท้า)


ข้อมูลหรือบริเวณ Force Peak ที่เราในใจ
ซึ่งจากรูป Peak สูงที่สุดของช่วงการเดินผู้ป่วยรายนี้คือ 273
kPa 

(หลังการดัดแปลงรองเท้า)

จะเห็นว่าแรงที่กระทำบนบริเวณแผลนั้น ถูกลดลงเหลือเพียง
273 kPa เท่ากับว่า วิธีการดัดแปลงรองเท้า
สามารถลดแรงที่กระทำกับบาดแผล ได้ถึง 46.67% นับว่าเป็นวิธีการที่ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่สูงอีกด้วย

จากนั้นเป็น ผู้ป่วยรายที่ 2 เพศหญิง อายุ 63ปี น้ำหนัก 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 160
เซนติเมตร อาการเบื้องต้นที่ตรวจพบคือ บริเวณนิ้วโป้งเท้าด้านขวามีอาการเป็นบาดแผล
จึงให้เดินบน Harris Mat จากนั้นได้ทำแผล
เหมือนกับผู้ป่วยรายแรก


สิ่งที่เกิดขึ้นกับหญิงผู้นี้นั้น
สังเกตเห็นจาก มีจุดส่วนใหญ่ที่เป็น High Pressure อยู่ที่บริเวณนิ้วทั้ง 5 ของเท้าผู้ป่วย เมื่อสอบถามบุตรชายจึงได้ความว่า
ผู้เป็นมารดาชอบยืนอยู่กับที่แล้วมีอาการเล็บจิกไปยังพื้นที่ยืนอยู่
ทำให้บางครั้งไม่สามารถทรงตัวได้ดี จากนั้น จึงได้ลองทดสอบโดย ให้ผู้ป่วย
ติดเครื่องวัดแรงกดแบบจุดและทำการทดสอบ ทั้งก่อนและหลัง จากดัดแปลงรองเท้า



ดูข้อมูลโดยรวม โดยยังไม่มีการ Zoomไป ตำแหน่ง
Force Peak ที่สนใจ (ก่อนการดัดแปลงรองเท้า)

ข้อมูลหรือบริเวณ Force Peak ที่เราในใจ
ซึ่งจากรูป Peak สูงที่สุดของช่วงการเดินผู้ป่วยรายนี้คือ 158
kPa 
(ก่อนการดัดแปลงรองเท้า)

สังเกตเห็นว่า จริงๆแล้ว
จากข้อมูลที่ถูกนำกลับมาเปิดย้อนหลังดู ปรากฏว่า ช่วง Peak สูงสุดมีเพียงครั้งเดียวเพียงช่วงแรกๆคือ ประมาณ
158 kPa แต่หลังจากนั้น ระหว่างจังหวะการเดินนั้น แรง Force
ที่เกิดขึ้น อยู่ในช่วงที่ต่ำมาก
ซึ่งจะมีช่วงการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ประมาณ 40-60 kPa เท่านั้น
จึงสรุปว่า ช่วงแรกที่แรง Force ที่เกิดขึ้น 158 kPa อาจจะอยู่ในช่วงของการลงจากเตียง ซึ่งอาจจะมีช่วงเวลาที่ทำให้เกิด Spike
Force เกิดขึ้น แต่น้ำหนักที่ลง ในเวลาเดินอยู่เพียงในช่วง 40-60 kPa
เท่านั้น

จึงได้เกิดข้อสงใสกับผู้หญิงชรารายนี้
ว่าเพียง 40-60 kPa สามารถทำให้เกิดบาดแผลได้ขนาดนี้เชียวหรือ
จึงเตรียมการเจาะรูรองเท้าเช่นเดียวกับบุคคลแรก ปรากฏว่า ในขณะที่ทำการวัด Size
รูที่จะเจาะรองเท้า ได้พบกับสิ่งผิดปกติของรองเท้า หญิงชรารายนี้
ซึ่งเป็นดังรูป

 

สิ่งที่เกิดขึ้นกับรองเท้า
ของผู้ป่วยรายนี้ แล้วทำให้เกิดแผลนั้น ไม่ใช่เกิดจากแรง Force ที่เกิดจากการเดินเล็บจิกอย่างเดียวเท่านั้น
แต่เกิดจาก ภายในรองเท้ามีเหล็ก โผล่ออกมาบริเวณนิ้วโป้ง ที่ทำให้เกิดแผล
แล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยรายนี้
เมื่อเดินกับระบบเซ็นเซอร์ที่ติดบริเวณปลายนิ้วแล้ว แรงกระทำที่เกิดขึ้นมีค่าน้อยมาก
จึงไม่ต้องทำการเจาะรูรองเท้าของผู้ป่วยรายนี้ เพียงแต่นำเหล็กที่โผล่ออกมา
ออกจากรองเท้าไปนั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #pressure sensor
หมายเลขบันทึก: 473176เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2012 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท