ชี้ชวนอาจารย์มหาวิทยาลัยคิดทำงานใหญ่ให้แก่บ้านเมือง




          วันที่๑๗ธ.ค. ๕๔ผมมีความสุขมากที่ได้ไปร่วมประชุม "โครงการปฏิบัติการระดับชาติเพื่อวางแผนป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย"   ผมดีใจที่ผมตัดสินใจยอมไปร่วมประชุมทั้งๆที่เป็นวันเสาร์

          เพราะว่าเมื่อไปรับรู้โครงการก็เห็นว่าเป็นโครงการที่มีคุณค่ายิ่งต่อบ้านเมืองคือเป็นรูปแบบของการชี้ชวนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานภาพกว้างทำงานพัฒนาระบบคือระบบจัดการความพิการแต่กำเนิดของประเทศไทยไม่ใช่แค่ทำงานเชิงเทคนิคด้านการดูแลผู้ป่วยเป็นรายคน

          หัวหน้าโครงการคือศ. พญ. พรสวรรค์วสันต์แห่งภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแต่ท่านทำงานนี้ในฐานะนายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย)   โดยมีทีมงานมาจากหมอเด็กและหมอสูติ-นรีเวชจาก๘โรงเรียนแพทย์สนับสนุนโครงการโดยสสส.

          ผมมองโครงการนี้ว่ามีคุณค่าต่อบ้านเมืองในหลายมิติได้แก่

๑. ระบบสุขภาพของประเทศดีขึ้นในด้านการป้องกันและดูแลรักษาผู้พิการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของสังคมต่อผู้พิการให้ไม่รังเกียจไม่อับอายและมีระบบที่เอื้อให้ผู้พิการช่วยเหลือตัวเองและทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้


๒. มีการบูรณาการระบบจัดการความพิการเข้าไปในระบบสุขภาพอย่างเหมาะสมต่อบริบทไทยและมีวิวัฒนาการต่อเนื่อง


๓. เอื้อให้นักวิชาการเฉพาะด้านหรือผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกได้รวมตัวกันทำงานในมิติด้านกว้างหรือเชิงระบบให้แก่ประเทศ


          ผมจึงขอสดุดีสสส. ที่ให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนทัศน์ชิ้นนี้แต่การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดถ้าไม่มีอ. หมอมานิตย์ประพันธ์ศิลป์มาช่วยแนะนำช่วยเหลือด้านการจัดการเชิงระบบ

          ทั้งนี้เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งหลายมีธรรมชาติเก่งเชิงลึกเฉพาะด้านแต่ไม่เข้าใจมิติภาพกว้างเชิงระบบอ. หมอมานิตย์มาช่วยเติมวิธีคิดส่วนภาพกว้างจึงช่วยให้นักวิชาการเฉพาะด้านได้เข้ามาทำงานเชิงระบบให้แก่บ้านเมือง

          ผมมองว่าเราน่าจะมีกิจกรรมทำนองนี้อีกมากๆอีกหลายประเด็นจะมีคุณประโยชน์แก่สังคมอย่างยิ่ง

          สำหรับผมกิจกรรมวันนี้เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่เป็นวันแห่งความสุขที่ได้เห็นและเรียนรู้วิธีการเชื่อมโยงสร้างความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญเชิงกว้างและเรียนรู้วิธีให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาเชิงระบบอีกรูปแบบหนึ่ง

          หากมีกิจกรรมแบบนี้อีกหลากหลายด้านบ้านเมืองของเราจะดีขึ้นน่าอยู่ขึ้นอย่างมากมาย

          วันที่๒๐ธ.ค.๕๔ผมได้เรียนรู้จากศ. นพ. จรัสสุวรรณเวลาว่ากิจกรรมนี้ถือเป็นตัวอย่างของvertical integration ของการทำหน้าที่ของนักวิชาชีพสุขภาพคือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้าไปร่วมทำงานเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพแนวกว้างหรือในระดับปฐมภูมิด้วยท่านยกตัวอย่างเรื่องเบาหวานผมจึงเรียนท่านว่าเรื่องเด็กพิการแต่กำเนิดก็กำลังเกิด

 

วิจารณ์พานิช
๑๘ธ.ค. ๕๔ปรับปรุง๒๐ธ.ค. ๕๔

 

 

บรรยากาศในห้องประชุม คนหันหน้าขวามือสุดคือ ศ. พญ. พรสวรรค์ วสันต์

 

หมายเลขบันทึก: 472990เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2011 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท