ธิติสรรค์
นศ.กบ. ธิติสรรค์ สันติมณีรัตน์

case study with cervical spinal cord injury


การฟื้นฟูความสามรในการใช้มือ และความสามารถในการทรงตัว เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆในผู้รับบริการที่มีความบาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลังระดับคอ

        ผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพจากการบาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลังระดับคอมักมีการสูญเสียการทำงานของ รยางค์ล่าง ลำตัว แขน และมือ ขึ้นกับตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บ แต่อย่างไรก็ตาม การสูญเสียความสามารถต่างๆดังกล่าวล้วนส่งผลให้ความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการฟื้นฟูความสามารถของผู้ที่มีพยาธิสภาพจากการบาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลังระดับคอจึงต้องอาศัยทีมสหวิชาชีพในการร่วมกันช่วยเหลือซึ่งหนึ่งในนั้นคือนักกิจกรรมบำบัด

        นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทอย่างมากในผู้รับบริการที่มีสยาธิสภาพจากการบาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลังระดับคอเช่น การปรับประยุกต์กิจกรรมและสิ่งแวดล้อมการฟื้นฟูความสามารถของส่วนต่างๆของร่างกาย ไม่เว้นแม้แต่การฟื้นฟูสภาพจิตใจ ผ่านการทำกิจกรรมที่มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นอย่างดีแล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการประกอบกิจกรรมของผู้รับบริการ

        จากการศึกษาพบว่าหนึ่งในหลายๆบทบาทที่สำคัญของนักกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการที่มีสยาธิสภาพจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทไขสันหลังคือการฟื้นฟูความสามารถในการใช้มือ (Hand function) ซึ่งช่วยในการฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยในมือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่มีความละเอียด ซับซ้อน และใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆอยู่เป็นประจำ

        นอกจากนี้การฟื้นฟูความสามารถด้านการทรงตัว (Balance) ก็เป็นอีกหนึ่งด้านที่สำคัญในผู้รับบริการกลุ่มนี้เนื่องจากการสูญเสียความสามารถในการทำงานของลำตัวจะส่งผลให้ความสามารถในการทรงตัวลดลง หากแต่ในการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ในความเป็นจริงแล้ว การฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวสามารถทำได้โดยผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ โดยผู้รับบริการสามารถเรียนรู้ ปรับเปลี่ยน และวางแผนการทรงตัวได้ด้วยตนเอง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์เพื่อฝึกหลายๆด้านพร้อมกัน อันจะส่งผลดีต่อผู้รับบริการในการบำบัด

        แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกการบริการควรทำโดยใช้ตัวผู้รับบริการเป็นหลัก (client center) นั่นคือดูความต้องการ ดูความสนใจ ดูความเป็นจริง การให้ความสำคัญ และการนำไปใช้ เพื่อให้การให้บริการเป็นไปตามความต้องการของผู้รับบริการ และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยนำกรอบอ้างอิง (Frame of Reference) หรือModel ทางกิจกรรมบำบัดมาใช้ร่วมด้วยเช่น Canadian Occupational Performance Measure หรือ KAWA Modelเพื่อดูความต้องการของผู้รับบริการ ใช้ Person-Environmental-Occupational Performance ในการช่วยปรับประยุกต์ฟื้นฟูเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ ซึ่งจะช่วยส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการที่เข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด

หมายเลขบันทึก: 472862เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2011 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณนะคะที่ได้นำเสนอความรู้ดีๆ ^^ เห็นด้วยกับธิติสรรค์นะคะ ที่ในการรักษา ไม่ว่าผู้รับบริการเเบบใดก็ตาม เราจะต้องมองที่ตัวผู้รับบริการเป็นหลัก ดูความต้องการ ดูเรื่องที่ของเขาสนใจ เป็นสำคัญ จะยิ่งทำให้สามารถฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนความสามารถของเขาให้ดียิ่งขึ้นได้

วันนี้ได้เข้ามาอ่านบทความของธิติสรรค์แล้วรู้สึกว่าเราสามารถช่วยเหลือผู้รับบริการได้มากเลยค่ะ ขอขอบคุณที่ร่วมแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ที่ดี นับว่าเป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ ชอบที่ว่าให้มองผู้รับบริการเป็นหลัก(client center)นอกจากทางด้านจิตใจที่ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการรักษาแล้ว ร่างกายก็จะดีขึ้นตามลำดับด้วยค่ะ ตามคำที่บอกว่า "เมื่อสุขภาพใจดี สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย"

ขอบคุณสรรค์ที่แบ่งปันความรู้เรื่องของบทบาทOTในผู้รับบริการSCI เพราะส่วนตัวแล้วยังไม่เคยได้เจอซักเท่าไหร่ ข้อมูลเป็นประโยชน์มากค่ะ

เป็นกำลังใจให้กับการฝึกงานครั้งต่อไปนะคะ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท