Hand Injury


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาวะกระดูหัก

กระดูกหัก(Fracture) คือ  ภาวะที่กระดูกได้รับการบาดเจ็บจนส่งผลให้กระดูกเกิดการแยกออกจากกัน เช่น ถูกรถชน หกล้ม ตกจากที่สูง หรือกระดูกเป็นโรคไม่แข็งแรงอยู่แล้ว กระดูกเปราะเมื่อถูกแรงกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจหักได้

อาการของกระดูกหัก : จะมีอาการปวดในตำแหน่งที่มีกระดูกหัก บวม เกิดการผิดรูป บริเวณที่หักนั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ หรือหากมีการเคลื่อนไหวจะเกิดอาการเจ็บปวด(pain)มาก เป็นต้น

ข้อมูลทั่วไปของกรณีศึกษา

ชื่อ-นามสกุล นาย ก. 

เพศ   ชาย อายุ 16  ปี

การวินิจฉัยโรค  : Closed fracture 3rd MCB of Lt. hand

เหตุผลที่ส่งต่อ : Improve hand function training

อาการสำคัญ : มือซ้ายมีอาการปวด บวม และไม่สามารถกำมือได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว

ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนถึงปัจจุบัน :  24 เดือนมีนาคม 2554

 การประเมิน

ทำการประเมินโดยใช้ Hand Evaluation เพื่อประเมินเรื่อง

  • ลักษณะของผิวหนัง
  • การรับความรู้สึก
  • กำลังของกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ
  • ช่วงการเคลื่อนไหว ความคล่องแคล่วของมือ
  • การใช้มือทำกิจกรรม

ปัญหาของผู้รับบริการ

1. มีอาการบวมบริเวณมือ MP joint, DIP joint และ PIP joint ของทุกนิ้ว

2. ผู้รับบริการไม่สามารถงอนิ้วมือข้างซ้ายได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว

3. ผู้รับบริการมีกำลังกล้ามเนื้อมือข้างซ้ายอ่อนแรง

4. ความคล่องแคล่วในการใช้มือลดลง

Intervention

  1. ลดอาการบวมบริเวณมือ MP joint, DIP joint และ PIP joint ของทุกนิ้ว

FoR : Biomechanic

Therapeutic activity :

-   ให้การนวดไล่ของเหลวจากปลายนิ้วของทุกนิ้วขึ้นไปจนถึงแขน โดยให้แรงกดอย่างต่อเนื่องขณะนวด เพราะจะเป็นการทำให้อาการบวมลดลง

-  การจัดท่าของผู้รับบริการ โดยให้ยกมืออยู่เหนือหัวใจ เพราะเป็นการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจได้ดีขึ้น

 

2. เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของนิ้วมือข้างซ้ายของทุกนิ้วได้ 5-10 องศา

FoR : Biomechanic

Therapeutic activity :

- ให้ผู้รับบริการทำการเคลื่อนไหวด้วยตัวเองในท่า กำมือ แบมือ กางนิ้วมือ งอและกระดกข้อมือ เพราะเป็นการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวให้เพิ่มมากขึ้น

- ผู้ให้บริการออกทำการดัดข้อมือ ทุกข้อของนิ้วมือ ให้เคลื่อนไหวในท่างอและเหยียด โดยทำการดัดทีละข้อ 10 ครั้งๆละ 5-10 วินาที หรือเท่าที่ผู้รับบริการทนได้ ให้เลยจุดเจ็บไปอย่างน้อย 2-5องศา

- การทำ Taping คือการใช้กระดาษกาวพันนิ้วมือให้อยู่ในท่ากำมือ เพราะเป็นการช่วยเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ

 

3. เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมือข้างซ้าย จาก เกรด 4 เป็นเกรด 5

FoR : Biomechanic

Therapeutic activity :

- ให้ผู้ป่วยเล่น Putty  ในท่าต่างๆ

- ใช้มือกำ putty บีบแล้วปล่อย

- ใช้นิ้วหัวมือกับปลายนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย ทีละนิ้วดึงputty

- ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง 3 นิ้ว ในการดึง putty

- มีการปรับกิจกรร โดยการเพิ่มความหนืดของputty จากสีส้ม(Medium solf red) เป็นทีเขียว(Medium green)

เพราะการให้ผู้รับบริการได้ออกแรงบีบputtyในท่าต่างๆนั้นทำให้จะช่วยเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ และเมื่อผู้รับบริการมีกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่งแล้วจึงเพิ่มความหนืดของputty เพื่อให้กำลังกล้ามเนื้อมือของผู้รับบริการมีการเพิ่มมากขึ้น

 

4. เพิ่มความคล่องแคล่วในการทำงานของมือข้างซ้าย

FoR : Biomechanic

Therapeutic activity :

เป็นการปรับกิจกรรม โดยการให้เวลา 1 นาทีเท่าเดิม แต่ปรับหมุดให้เล็กลง เพราะจะเป็นการฝึกการหยิบจับสิ่งของที่มีขนาดเล็กลง และเพิ่มความคล่องแคล่วในการใช้มือทำกิจกรรม

 

ผลการบำบัดฟื้นฟู

1. อาการบวมของข้อมือและข้อนิ้วมือของทุกนิ้วในมือข้างขวาลดลง

  • ประเมินจากการใช้สายวัดวัดเส้นรอบวงของมือและนิ้วมือทุกนิ้ว และได้ทำการประเมินซ้ำพบว่า ข้อมือและนิ้วมือมีอาการบวมลดลง

2. ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อมือและนิ้วมือข้างขวาเพิ่มขึ้น

  • การใช้ Goniometer วัดช่วงการเคลื่อนของของข้อมือและนิ้วมือของผู้รับบริการ และได้ทำการประเมินซ้ำพบว่า ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อมือและนิ้วมือของผู้รับบริการมีองศาที่เพิ่มขึ้น

3. กำลังกล้ามเนื้อของมือขวาเพิ่มขึ้น

  • ประเมินจากการใช้ Jamar dynamometer ทดสอบกำลังกล้ามเนื้อมือ และใช้ Pinch gauge ทดสอบกำลังกล้ามเนื้อของนิ้วมือ และได้ทำการประเมินซ้ำพบว่า กำลังกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือของผู้รับบริการเพิ่มขึ้น

4. ความคล่องแคล่วของมือขวาเพิ่มขึ้น

  • ประเมินจากจำนวนหมุดของpeg board และได้ทำการประเมินซ้ำพบว่าให้เวลา 1 นาทีเท่าเดิม จำนวนหมุดมีการเพิ่มขึ้น นั่นคือ ความคล่องแคล่วของมือผู้รับบริการมีการเพิ่มขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #hand injury#occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 472859เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2011 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีมากครับ เป็นกำลังใจให้ สู้ๆต่อไปนะครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่นำมาแบ่งปันกันนะครับ

โดยจะขออนุญาตเพิ่มเติมในส่วนของกำลังที่ลดลงสักเล็กน้อยนะครับ

คือ ความยาวของกล้ามเนื้อ และข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆมีผลต่อกำลังกล้ามเนื้อด้วยครับ

นั่นคือหากความยาวของกล้ามเนื้อไม่ถึง Optimal length แล้ว กำลังของกล้ามเนื้อที่ได้อาจลดลงได้ ซึ่งในกรณีนี้อาจแก้โดยการทำ Active and Passive movement เป็นหลักก็ได้ครับ หรือในผู้รับบริการที่มีอาการบวมก็แก้ด้วยวิธีการลดบวมก่อน เป็นต้น หรืออาจนำ Splint และ Pressure Garment มาประยุกต์ใช้ร่วมด้วยครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้และประสบการณ์ที่นำมาแบ่งปันกันนะคะ

ดิฉันชอบตรงเทคนิคการเพิ่มช่วงองศาการเคลื่อนไหวโดยใช้ Taping น่ะค่ะ เนื่องจากเป็นวิธีที่ดิฉันยังไม่เคยทำ และเป็นวิธีที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง

และจะขอเสริมในเรื่องของการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ..หากผู้รับบริการกลับไปบ้านอาจไม่มี putty หรือดินน้ำมัน บางท่านไม่ชอบกลิ่นของดินน้ำมัน อาจใช้เป็นไม้หนีบผ้าในการช่วยเพิ่มกำลังและความแข็งแรงของนิ้วมือก็ได้ค่ะ^^

เป็นกำลังใจให้นะ

ตอนที่เธออธิบายเราชอบนะ มันมีทั้งบอก Progress ด้วยอะ

เพราะหลายคนไม่ได้บอก

มันทำให้เรารู้ว่า ณ ตอนนี้ ผู้รับบริการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว

สู้สู้นะ เป็นกำลังใจให้งานชิ้นต่อไปออกมาดีเลิศ

ส่วนเรื่องเทคนิคอื่นๆ เราจะจดจำและนำไปใช้นะ ของคุณจ้า

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันนะ อธิบายเข้าใจง่ายดีมากเลยอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท