บทบาทเภสัชกร การพัฒนาระบบยาและสปสช


แอบอบอุ่นใจที่มีพี่ๆมากมาย.........."Smart Dispensing"

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2554 ผู้เขียนและน้องหนึ่ง(ภญ.ฐิติมา) เข้าร่วมประชุมกับทีมพัฒนาระบบยาที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพราชบุรีที่มีน้องมด (คนชื่อเดียวกันเลย.) ภญ.ปรางวไล เป็นเลขานุการ และพี่ลุง ภก.อภิชาติ เป็นประธาน (แอบชื่นชม..พี่จะเกษียรณปีนี้แล้ว ตลอดเวลาเท่าที่สัมผัส รับรู้เรื่องราวของพี่ลุงมา พี่ลุงมีไฟตลอดเลย)

เหตุอันต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานนี้ เพราะทีมตั้งโจทย์ที่จะพัฒนาระบบยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และได้มอบหมายให้ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า เพชรบุรี โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ และโรงพยาบาลสมุทรสาคร เล่า การดูแลระบบยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ให้ที่ประชุม นี่เป็นเหตุให้ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องคะ  สมุทรสาคร เต็มใจ (หรือบ้าจี้..) นำเสนอเต็มที่ ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยกล่าวถึงงานปัจุบันที่เภสัชกรทั่วไปประเทศดำเนินการจากวรรณกรรมของ อ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์และคณะ  การทำงานเภสัชกรรมบริบาลในผู้ป่วยเบาหวาน เหตุแห่งการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สู่การจัดทีมและทำงานร่วมสหสาขาวิชาชีพ ในการจัดการโรคเรื้อรัง จัดตั้งศูนย์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเมื่อ 1 พฤษภาคม 2552 และดำเนินการในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นโรคแรกและดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีทฤษฎี วรรณกรรม และ ต้นแบบ(model) ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

ทฤษฎีการเรียนรู้

  1. กลุ่มทฤษฎี S-R (Stimulus Response Theories) หรือกลุ่มทฤษฎี เชื่อมโยง( Association Theories) โดยอ้างถึง  Pavlov และ Thorndike 

  2. กลุ่มทฤษฎีสนาม (Field Theories) หรือเรียกอีกอย่างว่ากลุ่มทฤษฎีความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Theories) โดยอ้างถึง Guthrie และ Lewin

  3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory) ของ bandura ซึ่งรู้จักกันกว้างขวางเมื่อพูดถึง ทฤษฎีความสามารถตนเอง (Self Efficacy Theory)

A practical Model of Diabetes Management and Education Good practical ของ Glasgow,Russell E.

และ Chronic Care model ของ Edward H. Wagner

และได้กล่าวถึงการทำงานแบบเชิงรุก (proactive pharmacists) ควรจะต้องสามารถวางแผนและมีการดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาได้  ซึ่งมีเครื่องมือคือ 1)  Counseling 2) Monitoring ที่ต้องนำมาใช้จริงจังนอกจากนี้ได้นำเสนอการให้การศึกษากับผู้ป่วยในประเด็น Meter Meds Meals Move More  ทั้งนี้เภสัชกรควรมีบทบาทที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอที่จะจัดการตนเองเบื้องต้นเรื่องการใช้ยาและตกลงบริการได้

การประชุมดำเนินการไปอย่างดี เนื่องจากเขต 5 เภสัชกรได้ทำงานบริบาลเภสัชกรรมมานานมาก โดยผู้เขียนเองก็ได้เคยไปดูงานและเป็นรุ่นน้องที่ได้รับความเมตตาให้คำปรึกษางานจากรุ่นพี่ที่ดำเนินการงานดังกล่าวมาก่อนจากพี่ลุง ราชบุรี พี่เล็กเพชรบุรี และพี่ปุ๋ม ประจวบ  และพี่ๆท่านอื่น อาทิ เช่น พี่จิ๋ม ศิริวรรณ พี่มยุรี เป็นต้น (แอบอบอุ่นใจที่มีพี่ๆมากมาย) พี่เล็ก ธงชัย นำเสนอ 4 ประเด็น การทำงานของเภสัชกรต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังนี้ 

1)      การสร้างความเข้าใจในเป้าหมายในการใช้ยา

2)      ให้ความรู้แนะนำการใช้ยาอย่างถูกต้อง

3)      ลดอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้

4)      ลดค่าใช้จ่ายของการใช้ยาที่ไม่จำเป็น

และพี่ปุ๋มได้นำเสนอเพิ่ม ในประเด็นของ Self Medication Management

ภายหลังการทำงานครั้งนี้จะได้ผลที่เป็นรูปธรรมในมาตรฐานการทำงานของเภสัชกรต่อผู้ป่วย โดยใช้ชื่อ Smart Dispensing ซึ่งก็ขอให้ติดตามกันต่อไปนะคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 472007เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ยินดีกับงานของ ครับ 

ลูกสาวคนโตเพิ่งจบเภสัช Pharm D กำลังจะสอบใบอนุญาตอยู่ ลูกสาวคนเล็กกำลังเรียน Pharm D ปีที่หนึ่ง ตอนนี้ปิดเทอมหนึ่งเดือน ว่างๆก็ทำงานเป็นผู้ช่วยเภสัช ได้ยินวันๆหนึ่งคุยกันแต่เรื่อง Bata Blocker ลูกสาวคนโตพอคนไข้มาปรึกษาเรื่องเบาหวาน ชอบแนะนำครับ เคยไปฝึกงานร้านขายยาของรุ่นน้องที่มาบุญครอง บอกว่าสนุกดี เสียแต่อย่างเดียว ค่าแรงถูกมากๆ ตอนนี้เวลาพ่อแม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องยาก็ต้องถามเธอครับ เมื่ออาทิตย์ยังรู้ก่อนหมออีกว่าตอนนี้ Lipitor มี Generic ออกแล้ว

คุณคนบ้านไกล คะ..ดีใจที่จะมีรุ่นน้องที่ขยันๆๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท