นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพที่ผมใฝ่ฝัน(สายพันธุ์คิว)


มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

             ในการผลิตสินค้าเกษตรกรรม เรามักจะได้ยินเสมอว่า ต้องได้มาตรฐาน หรือได้ใบคิว คือสินค้าเกษตรหรือผลผลิตที่ได้จะต้องมีมาตรฐานหรือมีใบคิวรับรอง   แต่เมื่อมองย้อนดูการทำงานของตนเอง ผมคิดว่าหากจะเป็นนักส่งเสริมการเกษตรที่มีคุณภาพ นั้นผมควรมีขีดความสามารถในการทำงานอย่างไรบ้าง 

             ต้องบอกว่าความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ   เพราะผมคงไม่อาจแนะนำผู้รู้หรือท่านอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ในอาชีพเดียวกันได้  เอาเป็นว่าผมคิดอย่างไรเกี่ยวกับการทำงานในบทบาทและหน้าที่ของนักส่งเสริมการเกษตรในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของโลกรอบตัวอย่างรวดเร็วเช่นนี้   โดยใช้ชื่อบันทึกนี้ว่า นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพที่ผมใฝ่ฝัน(สายพันธุ์คิว) เชิญอ่านและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ครับ  ทั้ง ด้านความคิด  ด้านความรู้ และทักษะ

  •   มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง  ว่าเรามีหน้าที่และต้องการทำหน้าที่ของนักส่งเสริมการเกษตร  ให้ดีที่สุด
  •   มีความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ คือความเท่าเทียมกันของ คนยอมรับในขีดความสามารถของเกษตรกร  และเพื่อนร่วมงานทั้งเพื่อนร่วมงานในองค์กร  ต่างองค์กร  
  •  คิดเป็นระบบ และคิดเชื่อมโยงหลายสิ่งหลายอย่างเข้าด้วยกันได้ ไม่คิดแปลกแยก
  •  มีความสามารถในการประสานงานในการปฏิบัติงานกับผู้นำ  ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มอาชีพ ฯลฯ ได้ดี  อาจเรียกได้ว่าต้องมีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์
  •  มีความสามารถในการทำหน้าที่ในบทบาทผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ หรือวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) วางแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (BAR.) การปฏิบัติ(Action) ประเมินผลและเรียนรู้ระหว่างการปฏิบัติ (AAR.)
  •  ทำงานเป็นทีมได้ / เรียนรู้การที่จะทำงานเป็นทีม
  •   มีความสามารถในการวางแผนการทำงานในลักษณะของแผนกลยุทธ์ หรือกุศโลบายในการทำงานเป็น
  •  มีหัวใจของนักปราช์ญ คือ สุ จิ ปุ ลิ หรือ ฟัง-คิด-ถาม-เขียน  โดยเริ่มต้นที่การรู้จักฟังเป็น  คือฟังเป็น เพราะการฟังเป็นบันไดขั้นแรกของการเรียนรู้ หรือก้าวสู่หนทางแห่งการปฏิบัติเพื่อสร้างปัญญาในลำดับต่อๆ ไป
  • ทำงานอย่างมีส่วนร่วมเป็น (ร่วมคน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผล และร่วมประเมินผม)
  •  ทำงานโดยยึดเกษตรเป็นศูนย์กลาง
  • ทำงานโดยไม่รอการสั่งการหรือรอโครงการ  คิดงานเองได้คือสามารถกำหนดงานส่งเสริมการเกษตรร่วมกับเกษตรกรหรือชุมชนได้
  • มีความสามารถในการนำงานปฏิบัติยกระดับให้เป็นการทำวิจัยในงานอย่างง่ายๆ ได้  เพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นได้เองในพื้นที่ คือทำวิจัยเบื้องต้น คิด - ทำ เทียบ ได้
  •  มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
  •      ฯลฯ 

          ผมคิดได้ส่วนหนึ่งแค่นี้ก่อนครับ   ต้องขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ช่วยเพิ่มเติม  หรือมีความคิดเห็นอื่นใดก็ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

บันทึกเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 47089เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท