การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม : Mind Mapping


สุขจากการได้คิด สุขจากการได้ปฏิบัติ สุขจากการได้แก้ไข สุขจากการได้ร่วมกันติดตามประเมินผล และที่สำคัญที่สุดก็คือสุขจากการที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

เกริ่นนำ 

สหกรณ์อุตรดิตถ์ KM หรือการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมนั้น เป็น "งานที่ผมไม่เคยเรียกว่างาน" ครับ เพราะทุกย่างก้าวที่ทำเต็มไปด้วย "ความสุข" ครับ

สุขจากการได้คิด สุขจากการได้ปฏิบัติ สุขจากการได้แก้ไข สุขจากการได้ร่วมกันติดตามประเมินผล และที่สำคัญที่สุดก็คือสุขจากการที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันครับ

ผมทำงานที่สุดยอดครั้งนี้ได้ ก็เพราะได้ร่วมมือกับคนสุดยอด

สุดยอดคุณเอื้อ สุดยอดคุณลิขิต ส่งผลให้เกิดสุดยอดคุณกิจ (นักปฏิบัติจัดการความรู้) เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย ซึ่งเป็นคุณกิจแบบพึ่งตนเองได้และยั่งยืนครับ

การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมที่สำนักงานสหกรณ์อุตรดิตถ์ เป็นสิ่งที่ผมขออนุญาตนำแบบละเอียดสุด ๆ ครับ

เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่ได้อ่านบันทึก ที่จะมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบแทบทุกอณูในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ครับ


ก่อนอื่นกล่าวถึงสาเหตุการออกแบบการจัดกิจกรรมของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์นั้นว่ามีวัตถุประสงค์หลัก ๆ อยู่ 3 ประการด้วยกันคือ

  1. การจัดการความรู้
  2. การทำงานแบบมีส่วนร่วม
  3. การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม 

 ซึ่งทั้งหมดรวมกันเป็นหนึ่ง โดยอยู่บนฐานเพื่อประโยชน์กับส่วนรวมครับ

 

ซึ่งกิจกรรมครั้งนั้นตัวผมเองได้ร่วมกันกับท่านสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ในขณะนั้นก็คือคุณจารุวรรณ นันทพงศ์ ซึ่งทำหน้าที่ คุณเอื้อ

ได้มอบหมายให้ผมทำงานในหน้าที่ของ "คุณอำนวย แบบ Empowerment" โดยมอบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการคิดและตัดสินใจในการจัดกระบวนการทั้งหมดตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น 

 

เมื่อได้รับมอบหมายอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมาแล้ว ผมก็ได้ดำเนินการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ โดยมุ่งเป้าหมายหลักไปที่การจัดการความรู้เพื่อการทำงานกับชุมชนแบบมีส่วนร่วม "โดยชุมชนและเพื่อชุมชน"

ซึ่งผมได้ตั้งตุ๊กตาขึ้นมาเป็นโจทย์หรือแบบฝึกหัดในการทำงานก็คือ

"การจัดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม"

ตอนนั้นไม่มีคำว่า "จัดการความรู้" ครับ เพื่อไม่ให้ทุกคนติดกับดักของกรอบแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ แต่ทุกย่างก้าวที่ทำ "เน้นกระบวนการจัดการความรู้ครับ" ทำก่อนสอนทีหลัง

ซึ่งเป็นเวทีตามประเพณีหรือเวทีแบบ "หน่วยงานนิยม" ครับ

ก็คือ เป็นเวทีที่เหมือนกับทุก ๆ ท่านเคยอบรมกันตามหน่วยงานทั่ว ๆ ไปครับ

แต่เวทีคราวนี้ใช้เป็นโจทย์ให้ทุก ๆ คนร่วมกันจัดการความรู้เพื่อให้เกิดเวทีนี้ขึ้นมาอย่างมีประโยชน์สูงสุด

นับตั้งแต่เขียนโครงการ จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ออกแบบกิจกรรม ออกแบบทุกสิ่งทุกอย่างในเวทีร่วมกันทั้งหมด จะจัดกี่ครั้ง จะทำกี่หน จะทำที่ไหนเวลาใด ใช้การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมทั้งหมดครับ

สมมติฐานของผมตอนนั้นมีอยู่ว่า

"ผมเชื่อมั่นว่าทุก ๆ คนในสำนักงานสหกรณ์นั้นมีความรู้" ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ นักวิชาการสหกรณ์ และฝ่ายบริหารต่าง ๆ ทุกคน มีความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงานกับชุมชน

ซึ่งความรู้นั้นได้มาจากทั้งการร่ำเรียนโดยตรง ก็คือ โรงเรียนการสหกรณ์ หรือการอบรมเพิ่มเติมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโดยงาน โดยเฉพาะการเข้าเรียนตามโครงการต่าง ๆ ที่มีการเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนทและทีวีวงจรปิด 

 

ดังนั้น กระบวนการครั้งนี้ก็คือ จัดการความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อการทำงานแบบมีส่วนร่วม

 

โดยเป้าหมายของงานนั้นเน้นงานทั้งสองส่วนครับ ก็คือ การทำงานแบบมีส่วนร่วมของ (ภายใน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ และการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับสมาชิกและเครือข่ายของสหกรณ์ภายในจังหวัด ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสมาชิกสหกรณ์และประชาชนทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ครับ

ถ้าจัดการความรู้และทำงานแบบมีส่วนร่วมภายในสำนักงานได้

เราก็สามารถจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนได้เช่นกันครับ

เพราะชุมชนภายในทำงานยากกว่าชุมชนภายนอกครับ

ดังนั้นการออกแบบกระบวนการครั้งนี้จึงพยายามที่จะทำให้เนียนเข้าไปเนื้องานมากที่สุด 

ซึ่งนับตั้งแต่พบปะพูดคุยกับท่านสหกรณ์จังหวัด ผมก็ได้เริ่มดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการพบปะชุมชนก็คือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์ฯ อย่างเป็นทางการ

ซึ่งพี่ ๆ ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมวางแผนซึ่งถือว่าเป็น Key Man ในการดำเนินงานครั้งนั้น ทุกคนเป็น "คุณเอื้อ" ครับ เป็นคุณเอื้อในแต่ละส่วนงานของตนเอง

จะใช้สหกรณ์จังหวัดฯ สั่งการแบบคนเดียวไม่ได้การแน่ครับ เพราะจะให้หัวหน้าหน่วยงานเปลี่ยสถานภาพจาก "คุณเอื้อกลายเป็นคุณอำนาจ" โดยบัดดลครับ ซึ่งจะเป็นการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง

แต่ครั้งนี้เน้นการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะเน้นการมอบอำนาจการตัดสินใจแบบ Empowerment ให้คุณเอื้อแต่ละท่าน สามารถบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่

ซึ่งหลักการทำงานมีส่วนร่วม จะต้องใช้เวลาที่เป็นเวลาของสหกรณ์ฯ หรือเวลาของชุมชนเป็นที่ตั้ง ใช้เวลาที่เขาประชุมกันอยู่แล้ว หรือมานั่งเรียนหนังสือกันอยู่แล้ว เขามาพบปะพูดคุย

จากนั้นก็เริ่มการเขียนโครงการแบบมีส่วนร่วม โดยการจัดการความรู้เรื่องของการเขียนโครงการต่าง ๆ ในอดีต

เทคนิควิธีการเขียนโครงการที่ถูกต้องจากการศึกษา อบรม และประสบการณ์ของแต่ละท่านจากนั้นก็จัดการความรู้อีกว่า

ใครเป็นคนเขียนโครงการมือฉมังที่สุดในสำนักงาน

"ใครเป็นคนจัดการงบประมาณได้ดีที่สุด"

"ใครเป็นคนจัดซื้อจัดหาวัสดุได้ดีที่สุด"

Knowledge Management for Put the right man in the right job on the right time

ซึ่งใช้กระบวนการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมโดยตลอด 

จะทำอย่างนี้ได้ต้องมีคุณเอื้อที่สุดยอดครับ ต้องเป็นคุณเอื้อที่เข้าใจกระบวนการอย่างถ่องแท้ มองภาพที่เป้าหมายใหญ่อย่างชัดเจน 

โดยมอบหมายงานแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (Empowerment) มาให้คุณอำนวย (ความเชื่อใจ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน) เพื่อจัดกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ 

ดังนั้นก่อนที่กิจกรรมแรกอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้น  เราก็ได้ร่วมกันเรียนรู้และทำการจัดการความรู้ภาคปฏิบัติมาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะสิ่งที่เรียกรู้นั้นเป็นเป้าหมายหลักและวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานครั้งนี้ครับ

ทั้งการเขียนโครงการ การเลือกคน หรือแม้กระทั่งการจัดโต๊ะ ว่าการประชุมของเรานั้นควรจะจัดโต๊ะแบบใด ความรู้จากการจัดเวที เทคนิคการจัดโต๊ะ (รูปแบบหนึ่ง   

ผมซึ่งรับหน้าที่เป็นคุณอำนวยแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่ในขณะนั้น ได้รับอนุญาตในการเข้านอกออกในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดและตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการ "จัดการความรู้" ได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะมีอิสระทางความคิด คิดวางแผนแบบฉับพลัน เปลี่ยนกระบวนการเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ได้โดยทันทีครับ

โดยมีผู้ช่วยที่ติดตามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด หนึ่งท่าน ซึ่งในช่วงแรกได้แก่ คุณอำพร ซึ่งเป็นคนที่อำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานทั้งส่วนบริหารและส่วนของการจัดการ  

การทำงานของผมในขณะนั้น เน้นที่การฝึกคิดซึ่งเป็นการคิดจากการปฏิบัติจริง ๆ

แล้วเราจะฝึกใคร? จะฝึกคนของเรา (คนที่เรานำไปด้วย) หรือฝึกคนของเขา (ในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ หรือเวทีต่าง ๆ )

ในการออกแบบจัดกระบวนการครั้งนั้น ผมเน้นการฝึกคนของสำนักงานของสหกรณ์เป็นหลักครับ ร่วมฝึกกันทุกคนอย่างเต็มที่ครับ เจอใครฝึกหมดครับ ฝึกมากฝึกน้อย ก็ขอให้ได้ฝึกครับ

เพราะเป็นการฝึกคิดครับ

จุดประกายให้คิด แล้วเขาก็จะคิดต่อได้เองครับ นี่แหละครับความหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "มนุษย์"

โดยคนที่เข้ามาร่วมทำงานกับผมทั้งหมด จะผ่านบททดสอบ ด้วยใจ โดยการให้การบ้านต่าง ๆ เพื่อร่วมกันคิด ร่วมกันทำ

ผมเคยถามพี่อำพรว่า วันนี้ผมเข้ามาทำไม ทำไมผมถึงต้องเข้ามาที่สหกรณ์จังหวัดฯ ด้วยเวลาผมเข้ามาผมพูดอะไรบ้าง ทำไมผมถึงพูดแบบนั้น ทำไมผมถึงทำแบบนี้ ฝากเป็นการบ้านไว้ให้คิด

ถามแบบง่าย ๆ ครับ ว่าผมมาทำไม แล้วให้พี่อำพรสังเกตดูครับ ทุกคำพูด ทุกเทคนิค ทุกอิริยาบทที่ย่างก้าวอยู่ในนั้น ผมทำไปทำไม ทุกอย่างฝากเป็นการบ้านให้คิดครับ

พี่อำพรเป็นคนแรกที่ได้รับการบ้านจากผมอย่างมากที่สุด จากนั้นก็ตามต่อติด ๆ ด้วยพี่อิ๋ว พี่สมศักดิ์ พี่สมชาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณน้อง จะได้รับการบ้านจากผมอย่างมากเลยครับ

จากที่เล่ามาทั้งหมดผมนับรวมได้คร่าว ๆ ว่า ก่อนที่กิจกรรมแรกจะเริ่มขึ้นผมได้เข้ามาจัดกระบวนการต่าง ๆ เพื่อกิจกรรมการอบรม (ตุ๊กตาหรือโจทย์ในการจัดกิจกรรม) ซึ่งเป็นโจทย์เวทีที่จัดขึ้นตามประเพณีนิยม เป็นสิ่งที่หน่วยงานต่าง ๆ นิยมทำกันครับ รวมทั้งหมด 7 ครั้งครับ ก่อนที่จะเริ่มเวทีแบบเป็นทางการครั้งแรก

ขอทบทวนอีกครั้งครับ

เป้าหมายหลักของผมก็คือ จัดการความรู้ในการปฏิบัติจริง โดยใช้การอบรมครั้งนี้เป็นโจทย์หรือแบบฝึกหัดในการปฏิบัติ

จากนั้นการจัดกิจกรรมตามประเพณีนิยมก็เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก


การอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม

สำหรับการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน

กิจกรรมแรกที่ทำก็คือ กิจกรรมแนะนำตัว

เป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่แฝงไปด้วยเทคนิคของการจัดการความรู้

โดยใช้เทคนิคของการจัดการความรู้โดยสหกรณ์และเพื่อสหกรณ์ครับ

 ซึ่งในกิจกรรมนี้ได้ประโยชน์ทางตรงและประโยชน์แฝง อยู่ 2 ประการด้วยกันครับ ก็คือ

ประการแรก สร้างความรักและสามัคคีในหมู่คณะ

โจทย์ที่ให้แต่ละท่านแนะนำตัวนั้น ก็เพื่อให้แต่ละคนที่เหมือนรู้จักกันมานานนั้น ได้รู้จักกันมากขึ้น โดยนอกจากจะแนะนำตัวแล้ว (ที่จริงก็รู้จักกันทั้งหมดครับ อยู่กันมานานหลายปี) ซึ่งสามารถมีโจทย์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภูมิลำเนาเดิม (บ้านเก่า ที่ใช้แซวพี่ ๆ เขาบ่อย ๆ ครับ) เพราะบางท่านรู้จักกันมานานก็ยังไม่รู้ว่าเป็นคนจังหวัดเดียวกัน

สิ่งที่ได้เล็ก ๆ น้อย ๆ จากการแนะนำตัวกันนั้นก็คือ ได้ทำให้มีประเด็นในการสนทนาของเขาต่อไป ซึ่งจะเป็นการสนทนาในชีวิตจริงมีเพิ่มมากขึ้น

โดยการสนทนาถึงภูมิลำเนาบ้านเกิด จะทำให้คู่สนทนาซึ่งอยู่มาจากจังหวัดเดียวกันนั้น สามารถสืบค้นลึกไปได้อีกว่า จบจากโรงเรียนอะไร เคยรู้จักคนโน้นมั๊ย คนนี้มั๊ย

เมื่อได้คุยกันมากขึ้น ความเข้าใจต่าง ๆ ต่อกันก็มีมากขึ้น บางครั้งเรื่องบาดหมางต่าง ๆ ที่ค้างคาใจก็หมดไป สิ่งต่าง ๆ ก็แปรเปลี่ยนเป็น ความสามัคคี 

ประการที่สอง จัดการความรู้เรื่อง Mind Mapping

ขออนุญาตเล่าถึงเทคนิคที่ใช้ในการทำงานของผมก็คือ

ไปไหนผมจะไปคนเดียวครับ

คุณลิขิต หรือผู้ช่วยในแผนกต่าง ๆ ไปหาเอาจากคนในสำนักงานหรือคนในชุมชนนั้นครับ

เพราะเทคนิคของผมก็คือ "ถ้าเรานำคนของเราไปเอง คนเราก็ทำเอง คนเราก็เก่งเอง"

เราไปทำเพื่อเขาครับ ดังนั้น

ถ้าใช้คนจากชุมชน คนในชุมชนก็ได้ฝึก ฝึกแล้วก็ชำนาญ ชำนาญแล้วก็จะทำได้ ได้มากขึ้น ๆ ๆ  ๆ เรื่อย ๆ ครับ 

ฝึกปฏิบัติย่อมดีกว่านั่งฟังเฉย ๆ ครับ

ลองทำสักนิดดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย

  

ดังนั้นเรื่องของการเขียน Mind Mapping ใครจะเป็นคนเขียนหรือครับ 

ใครก็ได้ครับที่นั่งอยู่ในเวทีนั้น

ใครก็ได้นั้นถ้าจะให้ดีที่สุด ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

  1. ควรจะเป็นคนที่เขียน Mind map ไม่เป็นครับ
  2. ควรจะเป็นผู้ทีมีอาวุโสน้อยหน่อยครับ

ส่วนใหญ่ผมจะเลือกน้อง ๆ หรือเด็ก ๆ ที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ ๆ ครับ (อันนี้ต้องใช้ทักษะการสังเกตจากบุคลิกลักษณะของแต่ละท่านในวันนั้นครับ ว่าควรจะเป็นใคร)

ซึ่งในวันนั้นโชคดีครับ ที่ในเวทีมีลูกศิษย์ของผมที่เคยเรียนด้วยกันตอนเป็นนักศึกษาภาคปกติคณะวิทยาการจัดการอยู่สองคน ก็เลยเชิญ (บังคับนิด ๆ เพื่อจะทำให้มีเรื่องคุยเรื่องแซวกัน ซึ่งจะทำให้เวทีมีเสียงหัวเราะและครึกครื้นเพิ่มมากขึ้นครับ) ให้ออกมาเขียน Mind Mapping เกี่ยวกับสมาชิกที่นั่งอยู่ในเวทีนั้นทั้งหมด

ซึ่งก็แล้วแต่โจทย์ครับ อาจจะเป็นชื่อ ตำแหน่ง ภูมิลำเนา อายุ วันเดือนปีเกิด แล้วแต่ความเหมาะสมและเวลาที่มีครับ 

แล้วเด็กที่ออกมาเขียน Mind Mapping บนกระดานจะเขียนได้อย่างไร?

ก็จัดการความรู้เรื่องของ Mind Mapping” ครับ

พอเด็กหยิบปากกามายืนทำท่าจะเขียนกระดาษปุ๊บ แน่นอนว่าจะต้องหันกลับมาหาผม แล้วถามว่า "เขียนอย่างไรคะ" 

ผมก็บอกว่าลองถามพวกพี่ ๆ เขาดูสิครับ "ว่าเขียนอย่างไร"

จากนั้นความรู้ก็จะพลั่งพรูออกมาจากทุก ๆ ในเวที

ในเวทีนั้นจะต้องมีคนเขียน Mind mapping เป็นครับ เพราะในปัจจุบันมีการอบรมกันบ่อยมาก ๆ ครับ (ต้องสืบมาก่อนล่วงหน้าครับ) โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการ พนักงานส่วนใหญ่เคยอบรมมาแล้ว แต่บางคนก็ไม่เคยเขียนหรือไม่ได้ฝึกเป็นประจำ

ดังนั้น ให้คนที่อยู่ในเวทีช่วยกันบอกเทคนิควิธีการเขียน Mind Mapping กับเด็กที่ออกมาเขียนนั้นครับ

เหตุผลทำไมถึงต้องเป็นเด็ก หรือผู้มีอาวุโสน้อยครับ ก็เพราะว่าจะทำให้คนที่นั่งอยู่ในเวทีบอก (สอน) ได้อย่างเต็มที่ครับ

เพราะผู้ใหญ่ชอบสอนเด็กอยู่แล้วครับ

ประโยชน์ที่ได้

คนที่พูดหรือสอน ก่อนที่จะพูดออกมาก็จะต้องย้อนกับไปคิดถึงสิ่งที่ตนเองได้เรียนมาก่อนใช่ไหมครับ (เน้นให้คิด) ไม่ได้สอนอะไรเพิ่มครับ แต่ให้ดึงศักยภาพที่เน้นเองมีนั้นออกมาครับ

เพราะศักยภาพต่าง ๆ เหล่านั้น หน่วยงานเป็นผู้ออกเงิน (เงินภาษีของพี่น้องชาวไทย) ไปให้เรียนรู้ครับ

ดังนั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการอบรมเพื่ออัดเข้าไปอีก เน้นการ "ระเบิดออก" ดึงทุนและศักยภาพที่อยู่ภายในให้ระเบิดออกมาครับ  หน้าที่นี้จึงเป็นหน้าที่ของคุณอำนวยที่จะต้องออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ความรู้นั้นระเบิดออกมาให้ได้

"เป็นทั้งศาสตร์และศิลปครับ"

เมื่อทุกคนในเวทีคิดเสร็จแล้ว คิดได้แล้วก็อยากจะพูด (เริ่มคิดและกลั่นกรองอย่างเป็นระบบ) กระบวนการคิดและพูดของแต่ละคนไม่นานหรอกครับ เกิดขึ้นเพียงแค่ภายใน 1 นาที หรือบางคนเกิดขึ้นภายในเสี้ยววินาทีครับ

คนในเวทีจะพูดยากครั้งแรกครั้งเดียว ถ้ามีโอกาสพูดแล้วจะพูดไม่หยุด

โอกาสพูดจะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร?

ทุกคนมีโอกาสพูดเท่ากันก็คือ ตอนแนะนำตัว เป็นการเปิดปากและเปิดใจของตนเอง เพราะทุกคนมีสิทธิพูดและต้องพูดด้วยครับ เพราะจะต้องแสดงความเสมอภาคและจริงใจต่อกัน คนอื่นแนะนำตัวแล้ว เราก็ต้องเปิดใจแนะนำตัวด้วยครับ

สิ่งต่าง ๆ ที่เคยผ่านหูผ่านตามาก็เริ่มที่จะฟื้นกลับมาอีกครั้ง และเป็นเทคนิคที่ไม่ได้จากคุณอำนวยครับ ซึ่งคุณอำนวยอาจจะเรียนจบหรือเรียนมาจากอาจารย์เพียงคนเดียวนะครับ

ดังนั้น การดึงความรู้ที่ให้ระเบิดออกจากทุก ๆ คน เป็นเทคนิคที่ได้จากพี่ ๆ หรือผู้ใหญ่เป็นจำนวนมากในเวที เป็นเทคนิคที่ได้จากทั้งการเรียนมาจากสถาบันต่าง ๆ มากมาย และที่สำคัญเป็นการระเบิดจากประสบการณ์ของบุคคลต่าง ๆ ครับ

ดังนั้นเด็กที่ออกมาก็ได้ความรู้แบบเต็ม ๆ ครับ (ถ้าเราเตรียมคนของเราไป คนของเราก็ได้ครับ เด็กไม่ได้ครับ)

จุดมุ่งหมายเพื่อให้กระบวนการทั้งหมดอยู่ในชุมชน "ซึ่งจะอยู่ได้คนในชุมชนต้องทำเป็นครับ"

ดังนั้นคนที่ออกมาเขียน ควรจะเขียนไม่เป็น คนอื่นจะได้สอนเยอะ ๆ สอนอย่างเต็มที่ครับ แนะนำตัวกันไปสอนกันไปจัดการความรู้กันไปครับ

Mind Mapping ที่ออกมาอันนั้นอาจจะไม่สวยงามหนัก แต่อุดมไปด้วยความรู้และภูมิปัญญาครับ

พร้อมด้วยประโยชน์แฝงอีกมากมาย ได้แก่...

เด็กคนที่ออกมาเขียน ก็ได้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก อาจจะให้เพื่อนออกมาช่วยกันเขียนอีกคนหรือสองคนก็ได้นะครับ เพราะตอนแรกคนเดียวอาจจะเขียนไม่ทัน ไม่รู้ว่าจะเขียนตัวใหญ่ตัวเล็กดี จะใช้ปากกาสีไหน จะเริ่มต้นลากเส้นอย่างไร การทำอย่างไรนั้น "คุณอำนวยจะต้องจัดกระบวนการและสภาพแวดล้อมให้คนที่อยู่ในเวทีผ่องถ่ายความรู้กันให้ได้มากที่สุดครับ"

ประโยชน์เพิ่มเติม (1)

คนที่ยังไม่เคยเรียน ไม่เคยอบรมมา ที่ไม่ได้ออกมาเขียน ก็คือคนอื่น ๆ ที่อยู่ในเวที ก็ได้รู้จักขั้นตอนการเขียน Mind Mapping ตั้งแต่เริ่มแรกเลยครับ

เพราะเด็กที่ออกมาเขียนนั้นเขียนไม่เป็น

"สอนแบบไม่ต้องสอนครับ"

ให้ทุกคนในเวทีสอนกันเอง เรียนกันเองครับ

ดังนั้นทุกคนจะเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มแรกเลยว่า จะจรดปากกาลงไปที่ตรงไหน แล้วจะเริ่มลากเส้นอย่างไร

 

 

ประโยชน์เพิ่มเติม (2)

จากการสังเกต (แอบดู) หลาย ๆ คนแอบเขียนตามครับ โดยเฉพาะท่านที่ไม่ได้ออกมาเขียน หรือไม่ได้พูด เพราะยังไม่เคยเรียนรู้มา ก็แอบนั่งลองเขียน Mind mapping ของตนเองครับ

จากการสังเกตอีกหนึ่งกลุ่ม จะมีพี่ ๆ บางท่าน อาจจะไม่เคยอบรมมา หรืออบรมมาแล้ว แล้วก็ลืมไปแล้ว แต่ด้วยความเป็น Senior หรือหัวหน้างาน ก็อาจจะนั่งกอดอกฟังอยู่ห่าง ๆ (แต่แอบไปดูมาครับว่า หลังจากจัดเวทีเสร็จ ไปซ้อมเขียน Mind map กันหลายท่านเลยครับ)

เพราะน้อง ๆ เขียนเป็นกันหมดแล้วครับ เราพี่ใหญ่เขียนไม่เป็นได้อย่างไร จะบอกว่าเขียนไม่เป็นตอนนั้นก็ไม่ได้ครับ เสียฟอร์ม จบเวทีแล้วค่อยไปลองหัดเขียนที่บ้าน

 เพราะอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วครับว่า เทคนิควิธีการเขียนตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงขั้นสุดท้าย ทุกคนร่วมจัดการความรู้อยู่ในเวทีหมดแล้วครับ 

จากนั้นยังไม่พอครับสำหรับกิจกรรมแรก

"เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ต้องหาคนออกมาสรุปครับ"

คุณอำนวยสรุปเองได้ไหม ได้ครับ แต่อย่าลืมครับ หลักการ “เพื่อชุมชนได้ประโยชน์” ชุมชนทำชุมชนได้ครับ

ให้คนในเวทีออกมาสรุปครับ

สรุปอย่างไรเหรอครับ

จัดการความรู้อีกครับ

วิธีการสรุป Mind mapping ว่าจะสรุปอย่างไร เริ่มต้นอย่างไร พอทำแล้วไม่ดีต้องแก้ไขอย่างไร

ในเวทีวันนั้น กิจกรรมแรกใช้เวลาประมาณ หนึ่งชั่วโมงครับ แต่คุ้มค่ามาก ๆ ครับ สำหรับสิ่งที่ได้รับ 


สิ่งเพิ่มเติ

หมายเลขบันทึก: 47087เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เพิ่มเติมครับ
  • ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมในตลอดนั้น ยังไม่มีการใช้ชื่อเรียกต่าง ๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็นคุณเอื้อ คุณลิขิต คุณอำนวย หรือคุณกิจใด ๆ เลยครับ
  • ทุกคนทำงานหน้าที่ของตนเองให้เนียนเข้าไปในเนื้องาน "มีกรอบ แต่ไม่ติดกรอบ"
  • "ทำก่อนบอกทีหลัง" ครับ เพื่อกันไม่ให้คิดว่า นี่งานชั้นนั่นงานของเธอ ชั้นเป็นคุณเอื้อ คุณเป็นคุณลิขิต หน้าที่ใครหน้าที่มัน แต่ทุกคนต้องร่วมกันทำงานและร่วมกันเรียนรู้ครับ "เหมือนไร้กระบวนท่า แต่มีกระบวนท่าแอบแฝง เหมือนตำรา ไอ้หนุ่มหมัดเมาครับ" อ่อนไหว ยืดหยุ่นและเต็มไปด้วยพลัง
  • ขอพลังความรู้จงสถิตกับท่านตลอดไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท