ความสุขกับงาน พยาบาลวิชาชีพตำบล


ความสุข แท้จริง ของ การเป็นพยาบาล อยู่ที่ไหน ทำอะไร ได้อะไร กับใครแล้วใครได้อะไรกับการเป็นวิชาชีพจากเรา

ความสุข แท้จริง ของ การเป็นพยาบาลวิชาชีพ

    เกือบ 11 ปี ที่ใช้ความเป็นวิชาชีพพยาบาลในด้านการสร้างสุขภาพ ทางอ้อม(อ้อม มาก มาก )

บนโต๊ะทำงาน ในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ  งานรับมากกว่ารุก ประสานงานมากกว่าปฏิบัติงาน  เป็นความสุขอีกรูปแบบหนึ่งแต่ก็ทำให้เราได้เรียนรู้การทำงานในแบบที่ไม่ได้เรียนหรือฝึก   มา ความสามารถทำให้ได้รับรางวัล ได้รับคัดเลือกนำเสนอผลงาน นวัตกรรม ที่หลากหลาย คงจะพอสำหรับประสบการณ์ตรงนี้

                               

  

อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคม 2554 หลังจากได้ขอย้ายไปปฏิบัติราชการที่ รพ.สต.บ้านท่าเลอต.แม่สาคร ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพเวชปฏิบัติ ก็ปรับตัวให้เข้ากับงาน ทุนเดิมของตนเองในการเข้ากับชาวบ้าน การเป็นนักจัดรายการวิทยุ การเป็นวิทยากร การรู้จักผู้ประกอบการค้าอาหาร แม่บ้าน อสม ผู้สูงอายุ  นายก อบต กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นพื้นฐานที่ตนเองจะก้าวเข้าไปในชุมชนได้ง่ายขึ้น

 

ตำบลแม่สาครมี 6 หมู่บ้าน 4 หมู่บ้านไกลเข้าไปไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ อาชีพหลักของชาวบ้านคือเกษตรกรรม ทำไร่ข้าวโพด(ม๊อบข้าวโพดอยู่ที่นี่หรือไม่ อิอิ...)

เมื่อได้ไปคัดกรองสุขภาพประชาชน บ้านหมู่ 5 บ้านไพรอุดม โดยการตรวจเลือดเบาหวานและสารพิษ

 การประสานที่กระชั้นทำให้การสื่อสารไม่ประสบความสำเร็จ ชาวบ้านจำนวนมาก ไม่ได้อดอาหาร ความพร้อมของ อสม ยังไม่มี อสม ที่นี่มี 5 คน ชาย 2 หญิง 3 คน จากการดูแบบฟอร์มการคัดกรองด้วยวาจา ก่อนไปตรวจเลือดทุกอย่างเขียน กรอก ถาม ณ ตอนนั้น ไม่เป็นไร ประสบการณ์ทำให้ได้รู้ว่าครั้งต่อไปควรทำอย่างไร

 ขณะที่รอความพร้อมเห็นชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไปมุงซื้ออาหารจากรถปิคอัพ ในรถมีอาหารสด คาว หวาน ขนม นม ไม่มีเนย ข้าวหลาม อาหารทอด ผัก ปลา หมู ตับ ไส้ ไม่มีพุง ข้าวมัน ขนมชั้น ขนมแป้งทั้งหลาย อาหารถุง  คำถาม.....วิถีชีวิตชนบทที่ห่างไกลเปลี่ยนไป  จากที่เคยเห็นทำอาหารพื้นบ้านกินกัน แกงผักร้อนๆ น้ำพริก ผักนึ่ง แทบไม่มี  " อุ้ย(ยาย)ซื้อกระหล่ำยะอะหยังเจ้า(ไปทำอะไร ) " เอาไปผัด "  แล้วที่บ้านอุ้ย(ยาย)ไม่ได้ปลูกผักก๊ะ" "ปลูกเหมือนกั๋นแต่บ่มีกระหล่ำดอก 

  ขยะที่มากับรถขายอาหารล้วนเป็นขยะย่อยสลายยาก ชนบทที่ไม่เคยมีสิ่งเหล่านี้ก็จะรับภาระด้วยการเผาหรือทิ้งในสวน เพราะระบบของ อบต ยังไม่มีนโยบายเรื่องการจัดการขยะอย่างชัดเจน

รอบๆบ้านแต่ละหลังเต็มไปด้วยกระสอบปุ๋ย กระสอบข้าวโพด ถังน้ำมัน พืชที่ปลูกส่วนมากเป็นพืชลำต้นใหญ่เช่น  มะขาม

              ตรวจเลือดทั้งหมดได้ 40 คน ชาวบ้านที่มาตรวจส่วนมาก สูบบุหรี่ ดื่มสุรา  สังเกตจากริมฝีปากจะดำคล้ำ เป็นบุหรี่ขี้โย สัมภาษณ์เกือบทุกคน สูบตั้งแต่วัยเด็ก มากกว่า 10 มวนต่อวันก็มี

                              

        การดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งผู้สูงวัย วัยแรงงาน วัยกลางคนแม่บ้าน  ยังไม่เห็น บางคนเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้รับยา หมอนัดไม่ไป ไม่มีใครไปส่ง ลำบาก คุณภาพชีวิตเหมือน 10 ปีที่ผ่านมา

      ความเข้าใจของตนเอง คิดว่า การเข้าถึงชุมชนที่ห่างไกล น้อยมาก ถ้าเราเข้าไปหาชาวบ้านบ่อยๆใช้เวลา สักระยะคิดว่า น่าจะดีขึ้น เราจะเตรียมข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านก่อนนะคะขอเวลาทำข้อมูล 2 วัน คิดแล้วว่าจะดึงข้อมูลใน Hos XP

    เห็นพ่อบ้าน แม่บ้านกลุ่มหนึ่ง ขณะนั่งรอ นำไม้ไผ่มาสานเป็นกระติ๊บข้าว ส่งขาย อันละ 20 บาท ขยันๆได้วันละ 2 อัน ที่นี่สานกระติ๊บข้าวส่งขายเป็นงานเสริมรองจากทำไร่ข้าวโพด มี order กระติ๊บข้าว อันละ 10-15บาท จำนวน 100-300 อันเพื่อนำไปใช้ในงานบุญ งานสีดำเพราะทางเหนือนิยมใช้กระติ๊บข้าว( เดิม) แต่ปัจจุบันบางหมู่บ้านโดยเฉพาะเขตเมือง เขตเทศบาล แม่บ้านยังใช้ถุงพลาสติก ใส่ข้าวเหนียวเลี้ยงแขก

ที่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงคือหมู่บ้านที่มีการอบรมสารวัตรอาหารเพื่อให้เกิดอาหารปลอดภัย ใช้วัตถุดิบในชุมชน ลดการใช้โฟม ถุงพลาสติก เปลี่ยนมาใช้กระติ๊บข้าวหรือ แอบข้าว

                                  

                         " คิดอะไรอยู่เหรอ สานไป คิดไป หน้าดูเศร้าหมอง "

       ขับรถกลับ ถ่ายรูป ไร่ข้าวโพด เกือบทุกบ้านที่มีแต่กระสอบข้าวโพด รถแทรกเตอร์ที่บรรทุกกระสอบข้าวโพดด้านหน้าและหลัง  ตามต้นไม้ มียี่ห้อของเมล็ดพันธ์ข้าวโพด และยี่ห้อปุ๋ยเคมี ของบริษัทใหญ่ติดเพื่อโฆษณา :การใช้สารเคมี 100 % : ใครก็ได้ช่วยที..........

                                  

คิด คิด คิด เราจะทำให้ชาวบ้านเหล่านี้หันมาสนใจสุขภาพ จะทำอย่างไร

เรากำลังรักษาที่ปลายเหตุ วิ่งตามเท่าไหร่ หมื่นปี ไม่มีทางที่จะทำได้

ตราบใด ที่ยังหวังผลประโยชน์ เป็นลูกโซ่ อย่างนี้

เงินที่ขายข้าวโพด  บางคนไม่ได้ใช้ เพราะไปเอาเงิน มาก่อนแลกกับ เมล็ดพันธ์ ปู๋ยเคมี

สิ่งยั่วยวน  สุขภาพที่เลวร้ายมีรอบข้าง  วิทยุชุมชน/เคเบิ้ลจากจานดาวเทียม  รถเร่ฉายหนัง ที่โฆษณา อาหารเสริม ยา กาแฟ สาระพัด

เอาหละ เรามาเริ่มเล็กๆก่อน ให้ชุมชน รู้จักชุมชน เราจะบอกข้อมูลผ่านจากตัวเรา เราจะไปพบกับชาวบ้านวันพระ เราจะคืนข้อมูลสุขภาพ ร่วมกับ อสม เราจะขยับไปพร้อมๆกันทีละหลังคาเรือน  นานเท่าไหร่ เราจะสละเวลาวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพราะไม่อยู่เวร เราบอกน้องๆว่าต่อไป ขอความร่วมมือน้องๆทุกคนมีกระเป๋า ปฐมพยาบาลอยู่ในรถ เฟอร์นิเจอร์สำหรับนักสุขภาพอย่างเราคือ ที่ฟังหัวใจ ที่วัดความดัน กล้อง ชุดทำแผล ยาจำเป็น เครื่องตรวจเลือดเบาหวาน ข้อมูลพื้นที่ สมุดจด ไปไหนไปด้วย

   นโยบายใหม่ คัดกรองสุขภาพ ประชากรอายุ 30 ปี ขึ้นไป ร้ให้ได้ร้อยละ  90 ตามทะเบียนราษฏร์ด้วยนั้น คนที่มีในทะเบียน แต่ทำงานอยู่ นวนคร ต้องโทรไป "......น้ำหนักเต้าใด สูง เป็นเบาหวานมั๊ย สูบบุหรี่ก่อ ดื่มเหล้า ก่อ เครียดก่อ ..."  น่าจะทำได้นะ แต่  แต่................ไม่ขอรับประกันจะทันตามกำหนด  เพราะเราต้องทำงานตามปฏิทินชาวบ้าน

...ผู้บริหาร  ผู้ดูแลตัวชี้วัด(วัดตัวหนังสือ no วัดสุขภาพที่แท้จริงของชาวบ้าน) ผู้ตรวจราชการ ผู้รับผิดชอบงานนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข.............................ขออย่าใช้เหตุผลของKPIมากดดันเพื่อรับโบนัสหรือพิจารณาเงินเดือน

                   พื้นที่ ศักยภาพ ต้นทุน แต่ละแห่ง ไม่เหมือนกัน ขอบอก เอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้หรอก  การประกวด หมู่บ้านลดเสี่ยง ลดโรค เอาหมู่บ้านแต่ละอำเภอ จังหวัดแข่งขันกัน

ทำได้อย่างไร  ...อย่าทำเลยค่ะ...เอาใหม่ หมู่บ้านไหนทำได้ตามที่คุณคิดว่า น่าจะได้เป็นหมู่บ้านลดโรคลดเสี่ยง  ให้ไปเลย..........นำไปคิดหน่อยเต๊อะ....

  ...สำหรับตัวเรา..เราจะได้เท่าไหร่ อย่างไร ณ วันนี้ เร าปลง...เราไม่ใส่ใจ.....เราขออย่างเดียวให้ชาวบ้านพอใจ รัก ในสิ่งที่เราทำให้ เขามีสุขภาพที่ดี และดีขึ้น  ดีกว่า....ไชโย.

ลงพื้นที่จริงๆ ยากมาก เมื่อพบกับฤดูเก็บเกี่บวข้าวโพด เก็บเกี่ยวข้าว อย่าหวัง ชาวบ้านไม่มีเจ็บป่วย เพราะเงินกำลังมา ไม่หนักหนาถึงกับเลือดยางออก ก็อย่าหวัง

    ไปคัดกรองต้องไปตั้งแต่เช้ามืด และเข้าไปบ่อยๆ นำรายชื่อเป้าหมายไปติดตาม ฯลฯ......ประสานงานกับชุมชนผ่าน อสม ผู้ใหญ่บ้าน ความรู้จากหอกระจายข่าว มาแล้ว พรุ่งนี้ หมอมา เตรียมอะไร อย่างไรบ้าง................

                           

                   "   อสม คนเก่ง คุณคือบุรุษไปรษณีย์สุขภาพของเรา  "

การเลี้ยงดู การเอาใจใส่จากคนที่เป็นทวด เป็นตา ยาย แก่ ยังมาเลี้ยงเหลน อีก

เอาน่า เด็กมันน่ารัก ออก

ความสุขจากการได้ตรวจ ดูแล คนไข้ เด็กๆที่น่ารักไร้เดียงสา

         

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 470848เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2011 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชวน ICN ไปร่วมชวนคิดชวนคุยเพื่อการพัฒนางาน IC

ใน  http://www.gotoknow.org/cops/communities/21

ขอบคุณเจ้า

กำลังใจ คือพลังที่จะทำงานชุมชนด้วยหัวใจ 4 ห้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท