แนวคิดทางจริยธรรม 1


แต่ถ้ามีจริยธรรมน้อยเท่าใด ก็ได้ผลตอบแทนกำไรมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

จริยธรรมของค้านท์

        ค้านท์เป็นนักเหตุผลนิยม  เขาว่า...คนเป็นชีวิตมีเหตุผล ( rational  being )   คนจึงคิด  วางจุดหมายและเลือกทำตรงเป้าหมายได้ด้วยตนเอง  เขามองหลักศาสนาคุมคนแค่ภายนอก จริยธรรมที่จริงแท้มาจากภายในใจคนที่ว่า ( good  will )  คือ ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ไร้อคติความรู้สึกอย่างนี้คือการทำดี

        แนวคิดประโยชน์นิยมก่อเกิดในอังกฤษจากมุมคิดของ David  Hume ,  Jeremy  Bentham , พัฒนาขึ้นสู่จุดยอดมุมคิดที่  John  Stuart  Mill  แนวคิดนี้มุ่งให้คนค้นหาความสุขมากที่สุดในโลกนี้  และทุกคนต่างมีสิทธิในความสุขเท่าเทียมกันหมด  ไม่มีความผิดความถูกที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในหลักศาสนา

        แนวคิดของ  Lawrence  Kohlbeeg  ทางจริยธรรม   7  ข้อ  ดังนี้

1 . การลงโทษและการเชื่อฟัง  คือ  คนยอมรับว่าการทำอะไรถูกเมื่อเขาได้รับรางวัลและไม่ถูกเมื่อโดนลงโทษ

2 . ใช้เหตุผลมาพิสูจน์การทำของตนว่ามีความถูกต้องเพียงใด

3 . แนวทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือ การทำถูกต้องที่คนอื่นพอใจยอมรับ

4 . แนวทางกฎหมาย  คือ  คนทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ของตน

5 . แนวคิดว่า  ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับความสุข

6 . แนวคิดว่า  ทุกคนเท่าเทียมกันในการหาและพบความยุติธรรม

7 . แนวคิดว่า  ทุกคนต่างยอมรับอย่างมีเหตุผลร่วมกัน

จริยธรรมทางธุรกิจ

        การใช้ชีวิตของคนเราทุกวันนี้ได้รับบทบาททางธุรกิจอย่างมาก  จนก่อเกิดเป็นปัญหา  ด้วยธุรกิจมีจุดหมายเพื่อได้กำไรสูงสุดเป็นสำคัญ  และกำไรมาเป็นสิ่งชั่วร้ายในตัวมันเอง  ปัญหาทางธุรกิจมี  การเอาเปรียบแรงงาน  โฆษณาโกหก  ปลอมปนสินค้า  การตัดราคา  ขโมยความลับฝ่ายตรงข้าม  ทำลายธรรมชาติ  ทำลายป่า  เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อชีวิต

        แนวคิดสัจนิยมทางธุรกิจ

        ด้วยธุรกิจเป็นโลกความจริง  ต้องทำธุรกิจไปตามความจริง  ไม่ใช่เรื่อศาสนาซึ่งเน้นด้านคุณค่า

1 .  ธุรกิจคือสิ่งที่มันเป็น  ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะเป็น

2 . แม้วิธีการผิดแต่มันนำไปสู่จุดหมายที่ยอมรับได้ย่อมสอดคล้องในเป้าหมายธุรกิจ

3 . แนวทางจริยธรรมต้องสอดคล้องกับกำไร

4 . ทางธุรกิจเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว

5 . ธุรกิจเปิดกว้างให้ทุกคนใครก็ได้ที่พร้อมจะลงแข่งขันเดิมพันด้วยผลประโยชน์ส่วนตัว

        แนวคิดอุดมคตินิยมทางธุรกิจ

        เป็นการมองธุรกิจแง่คุณค่าและควรจะเป็นด้วยดังนี้

1 . ทิศทางธุรกิจต้องอยู่ภายใต้คุณค่าทางจริยธรรม  เพราะคนเราเกี่ยวพันกับระบบคุณค่า

2 . คนเรามีหน้าที่ทางจริยธรรมต่อกัน

3 . การทำธุรกิจต้องคำนึงถึงผลการกระทำที่ตามมาด้วย

4 . การมีเป้าหมายที่ดีและมีวิธีการที่ถูกต้องด้วย

        เรื่องการทำธุรกิจมีแง่ให้คิดว่า...โลกธุรกิจคนทำมีจริยธรรมมากเท่าใด  ก็ได้ผลตอบแทนกำไรน้อยเท่านั้น  แต่ถ้ามีจริยธรรมน้อยเท่าใด  ก็ได้ผลตอบแทนกำไรมากขึ้นเป็นเงาตามตัว  นี่คือความจริง

หมายเลขบันทึก: 470152เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2011 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท