แนวทางการจัดการภายในศูนย์อพยพ (น้ำท่วม) สำหรับการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก


เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา ผมได้ไปประชุมที่กรมอนามัย เกี่ยวกับประเด็น
"แนวทางการจัดการภายในศูนย์อพยพ(น้ำท่วม) สำหรับการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก"
ในที่ประชุมก็จะมีตัวแทนจากองค์กรมากมาย ทั้งสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย สำนักโภชนาการ Save The Children
PLAN International และ Unicef
...
Large_img00184-20111117-1122

...
ปัญหา ก็คือ ในศูนย์อพยพบางแห่งไม่มีพื้นที่สำหรับแม่และทารก (ให้นมบุตร)
ไม่มีอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก ระบบการจัดการการแจกจ่ายข้าวของในศูนย์อพยพ
(มีการพบว่าหลายๆ ครั้ง อาหารสำหรับเด็ก มีการนำไปแจกให้ผู้ใหญ่) และอื่นๆ

ในที่ประชุมก็เลยคิดว่า พวกเราน่าจะสร้างแนวทางการบริหารจัดการในประเด็น
อนามัยโภชนาการแม่และเด็กขึ้นมา แม้สถานการณ์น้ำท่วมจะเริ่มลดความรุนแรง
แต่ในอนาคตก็น่าจะเกิดขึ้นอีก จะได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้

เจตนาในการสร้างแนวทางฯ ขึ้นมาก็เพราะแนวคิดที่ต้องการให้ผู้อพยพ
มีคุณภาพชีวิตที่ดีสุด เท่าที่สภาพการณ์จะสามารถจัดการได้ ดังนี้ครับ

...
Large_img00167-20111112-1725 
...
แนวทางการจัดการภายในศูนย์พักพิง สำหรับการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก

1. ลงทะเบียนเด็ก โดยระบุอายุ

2. จัดโซนที่พักของครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก 0-3 ปี
    อยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยยึดตามอายุของเด็กที่น้อยสุดเป็นหลัก

3. กรณีที่จัดโซนครอบครัวไม่ได้ ให้จัดมุมแม่และเด็ก
    เพื่อให้แม่ที่มีลูกเล็กได้มีพื้นที่อยู่รวมกัน มีความเป็นส่วนตัว
    ให้แม่ที่ยังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่สามารถให้นมลูกได้สะดวก

4. จัดมุมสำหรับเตรียมนมผงและทำความสะอาดขวดนม ใกล้โซนครอบครัว
    โดยมีอาสาสมัครที่มีความรู้เบื้องต้นประจำมุม เพื่อทำหน้าที่ดูแล
     และอธิบายวิธีการเตรียมนมและการทำความสะอาดขวดนมที่ถูกต้อง 

5. มุมนมผง ต้องมีอุปกรณ์ดังนี้ 
    • กระติกน้ำร้อน ที่สามารถต้มน้ำเดือดได้
    • คูลเลอร์หรือกระติกใส่น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 
    • ที่นึ่งหรือต้มขวดนม (หม้อนึ่งไฟฟ้า /หม้อต้มที่มีน้ำเดือด /หม้อนึ่งขวดนม /ซึ้งนึ่ง)
    • แปรงล้างขวดนม • น้ำยาล้างขวดนม / น้ำยาล้างจาน
    • ป้ายคำแนะนำวิธีการชงนม และวิธีการทำความสะอาดขวดนม

6. ควรมีอาหารสำหรับเด็กเล็ก 6 เดือน –1 ปี และ 1-3 ปี
   (ส่วนนี้ควรระบุให้ชัดเจนว่าจะแจกเป็นถุงหรือปรุงสำเร็จแจกให้
   และจะเบิกจากที่ใด ใครเป็นผู้ทำ)

7. จัดถุงยังชีพสำหรับแม่และเด็ก แจกให้หญิงตั้งครรภ์และแม่ที่มีลูกอายุ 0-3 ปี
   (จะแจกเมื่อไร แจกทั้งหมดกี่ครั้ง)

8. มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำศูนย์พักพิง
    หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารศูนย์เป็นผู้รับผิดชอบในการแจกจ่ายนมผง
    ให้แม่ โดยใช้หลักเกณฑ์การตัดสินใจเลือกชนิดของนมให้ทารกและเด็กเล็ก
    ในภาวะน้ำท่วม และจดบันทึกการแจกจ่ายนมผง 
...

Large_img00161-20111111-1451
...

หน้าที่ของอาสาสมัครประจำมุมนมผง ในศูนย์พักพิงอาสาสมัคร
ควรเป็นผู้ที่อยู่ประจำศูนย์ เช่น ผู้ประสบภัยที่เป็น อสม. ผู้ประสบภัยที่มีเวลา

อ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาและข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอาหารทารก
   และสอบถามที่หน่วยแพทย์ประจำศูนย์เพิ่มเติม

สำรวจจำนวนหญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็ก 0-3 ปี
   โดยแบ่งกลุ่มแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่และนมผง
   และแม่ที่เลี้ยงด้วยนมผงอย่างเดียว หากพบเด็กป่วย
   ต้องประสานกับหน่วยแพทย์ประจำศูนย์

สนับสนุนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง

ประจำอยู่ที่มุมนมผง ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของบริเวณและอุปกรณ์ต่างๆ
   ให้พร้อมใช้ เช่น หม้อนึ่ง แปรงล้างขวดนม น้ำยาล้างขวดนม
   จัดหาน้ำสะอาดและน้ำต้มสุกให้เพียงพอ

ให้คำแนะนำเรื่องวิธีชงนม และวิธีทำความสะอาดขวดนม

...

Large_img00168-20111112-1735

...

ถุงยังชีพสำหรับแม่และเด็กเล็ก 0-1 ปี

อ่างอาบน้ำเด็กเล็ก 1 อ่าง

สบู่เด็ก 1 ก้อน

ผ้าอ้อมสาลู 6 ผืน 

น้ำยาซักผ้า 1 ถุง

ผ้าขนหนูผืนใหญ่ 1 ผืน

ผ้าขนหนูผืนเล็ก 1 ผืน

ผ้าห่มเด็ก 1 ผืน

เสื้อผ้าเด็กอ่อน 2 ชุด

ไม้พันสำลี 1 ห่อ

ผ้าอนามัย สำหรับแม่ 1 ห่อ 

มุ้งครอบสำหรับเด็ก 1 หลัง

แก้วน้ำพลาสติก 1 ใบ

ชามพลาสติก 1 ใบ และช้อนพลาสติกเล็ก 1 คัน

อาหารเด็กเล็กแบบผสมน้ำ เช่น เกษตร อาหารเสริมจากธัญพืชและถั่วเหลือง
  สำหรับเด็ก 6 เดือนขึ้นไปขนาด 400 กรัม 1 ถุง
  หรือโจ๊กของโรงพยาบาลเด็ก (20 ซอง) สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี เพียงพอสำหรับ 7 วัน

เอกสารคำแนะนำเรื่องการดูแลเด็กในภาวะฉุกเฉินหมายเหตุ

*ขวดนม จุกนม น้ำยาล้างขวดนม และแปรงล้างขวด ไม่ควรใส่ในถุงยังชีพเด็ก
  (แยกให้ต่างหาก)

-----------------------

นะครับ รายละเอียดก็ประมาณนี้ (น่าจะได้ลงไปใช้ในภาคใต้เร็วๆ นี้)

รงค์รบ ปืน
สบายดี ตอนนี้มาประชุมที่เชียงใหม่ 

หมายเลขบันทึก: 470099เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2011 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ไปประชุมอะไรที่เชียงใหม่ต่อครับ
  • ตามมาเชียร์ครับ
  • มีเด็กทารกในศูนย์มากเลยนะครับ

IBFAN Complementary Feeding Policy Meeting ครับอาจารย์

เกี่ยวกับสถานการณ์อาหารเด็กๆ ในโลกใบนี้ ^^

""

มีเยอะเลยครับ เด็กบางคนคลอดในศูนย์อพยพ ก็มี

ขอบคุณครับอาจารย์ขจิต

ขอให้กำสังใจค่ะสำหรับแนวคิดดีๆนี้ค่ะ

ขอชื่นชมค่ะ ข้อแนะนำที่ลงรายละเอียดเพื่อการปฏิบัติที่เหมาะสม และยังทำให้ผู้ที่มีจิตอาสามองเห็นว่าจะนำตัวเองไปช่วยที่จุดใดบ้าง

สวัสดีครับ

ดีใจจังที่ได้เห็นรายละเอียดในการจัดการครับ

3-4 พย.54 ประชุมถอดบทเรียนเรื่องการคุ้มครองเด็กในภาวะฉุกเฉินทั้งในศูนย์พักพิงและชุมชนที่ประสบภัยน้ำโดย Save the Children, Unicef และ องค์กรด้านเด็กซึ่งจะมีข้อเสนอในการดูแลเด็กให้ปลอดภัยและมีสุขภาพดีเสนอต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ

3-4 พย.54 ประชุมถอดบทเรียนเรื่องการคุ้มครองเด็กในภาวะฉุกเฉินทั้งในศูนย์พักพิงและชุมชนที่ประสบภัยน้ำโดย Save the Children, Unicef และ องค์กรด้านเด็กซึ่งจะมีข้อเสนอในการดูแลเด็กให้ปลอดภัยและมีสุขภาพดีเสนอต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท