ภาษาเมืองล้านนาตอน"ล้อง"


คำว่า"ล้อง" คือลักษณะน้ำขังเป็นร่องเลาะล้องเข้าไปตามแผ่นดิน

ช่วงนี้เรื่องน้ำกำลังเป็นเรื่องใหญ่สำหรับประเทศไทย ไม่ว่าทางเหนือ กลางหรือใต้โดนน้ำท่วมอ่วมอรทัยกันไปหมด

เมื่อหันมาผ่อหรือมองพื้นที่เมืองล้านนามีหลากหลายคำที่เกี่ยวกับน้ำแต่คำเหล่านี้ถูกแปรเปลี่ยนไปบ้างตามกาลเวลาหรือผู้คนไม่เข้าใจนำเอาคำไปเขียนจึงทำให้ความหมายเพี้ยนจากดั้งเดิมไปอย่างน่าเสียดาย

เมื่อเราไปตามท้องถิ่นล้านนาเรามักจะได้ยินและเขียนชื่อหมู่บ้าน  ชื่อวัด ชื่อตลาดตามที่ต่างๆเช่นว่า...วัดร้องวัวแดง  วัดร้องอ้อ......

หากแปลความหมายคำว่าร้องก็คงสรุปว่า   ร้องเสียงดัง   ซึ่งเป็นการเขียนผิดความหมายไปจากเดิม   

ความหมายคำว่าล้อง  มีความหมายคำนามว่า ร่องน้ำธรรมชาติที่ยาวลัดเลาะไปตามเนินดิน,  แผ่นดิน, ผืนนา , ไร่สวน ฯลฯ.....

หากเป็นคำกริยาคำว่า "ล้อง"คืิอการเลาะออก  ลอกขุดออก

เพื่อมิให้ผู้คนได้เข้าใจไขว้เขว เมื่อพบคำป้ายสถานที่เขียนคำว่า  ร้องที่มีความหมายว่าร่องน้ำขอให้เข้าใจว่าต้องเขียน "ล้อง"  ล้องอ้อ หมายถึงร่องน้ำที่ลัดเลาะไปตามพงป่าต้นอ้อ   ล้องงัวแดง หมายถึงร่องน้ำยาวที่ฝูงวัวแดงพากันมากิน เป็นต้น

สรุปว่า   "ร้อง" เป็นคำกิริยาเป็นการเอิ้น(ตะโกน) หรือฮ้อง(เรียก)ส่วนคำว่า  "ล้อง"

คือร่องน้ำขังตามธรรมชาติที่มีลักษณะเป็นร่องลัดเลาะไปตามแผ่นดิน


หมายเลขบันทึก: 469453เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต๋อนเป๋นละอ่อน ได้จ้วยแม่ล้องเหมืองเข้านา ใจ๊กำว่า " ล้อง" ความหมายอันเดียวกั๋นก่อครับ

(ผมเข้ามาอ่านจ๊าดหมั่น แต่บ่เกยเม้นท์ครับ แต่ขอชื่นชมและฮื้อกำลังใจลุงหนานตวยคนครับ)

สวัสดีครับหลานภิภพ...

แม่นแล้วครับ"ล้อง"คือลอกเอาสิ่งที่ตื้นเขินหรือสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปครับ...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท